แนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาเพื่อส่งเสริมการเย็บตับจาก กรณีศึกษา บ้านควนล้อน ตำบลนาบินหลา อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • จารุณี คงกุล Phuket Rajabhat University

คำสำคัญ:

แนวทาง, ภูมิปัญญา, ตับจาก, บ้านควนล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง แนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาเพื่อส่งเสริมการเย็บตับจาก กรณีศึกษาบ้านควนล้อน ตำบล                นาบินหลา อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาเพื่อส่งเสริมการเย็บตับจาก การวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลแบบผสมผสาน คือ เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสังเกต ซึ่งได้ข้อมูลจากเจ้าของภูมิปัญญา ครอบครัวเจ้าของภูมิปัญญา ผู้นำชุมชน และประชากรในชุมชนบ้านควนล้อน จากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อมูลทั้งหมดมาจัดระบบและจัดกลุ่มข้อมูลตามประเด็นคำถาม แล้วจึงนำมาจัดความสำคัญ และคุณลักษณะของข้อมูล ก่อนทำการวิเคราะห์และประมวลผลอย่างเป็นระบบและนำไปสู่การเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน แล้วจึงเขียนรายงานข้อมูล โดยคำนึงถึงความเที่ยงตรงของข้อมูลเป็นหลัก

ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการถ่ายทอดภูมิปัญญาเพื่อส่งเสริมการเย็บตับจาก เกิดจากเจ้าของภูมิปัญญาถ่ายทอดความรู้ในวงแคบ คือ มีการถ่ายทอดแก่คนในครอบครัวและคนใกล้ชิดเท่านั้น ผู้ถ่ายทอดมีเพียงคนเดียวและเป็นผู้สูงอายุ อีกทั้งการเย็บตับจากล้าสมัยและไม่น่าสนใจ เนื่องจากต้องใช้ความอดทน ใช้ทักษะเฉพาะด้าน และประสบการณ์ตรง จึงการขาดผู้สืบทอดการเย็บตับจาก ทั้งผู้ประกอบอาชีพนี้มุ่งส่งลูกหลานเรียนหนังสือจนไม่สนใจ ภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ จึงเข้าถึงภูมิปัญญาได้น้อย การเย็บตับจากไม่สามารถตั้งเป็นกลุ่มที่ชัดเจนได้เนื่องจากผู้ประกอบอาชีพนี้ขาดความเข้าใจ ความรู้ในการจัดการ การใช้ประโยชน์จากป่าจาก และการสื่อเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการเผยแพร่ภูมิปัญญาเพื่อส่งเสริมการเย็บตับจาก

          สำหรับแนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาเพื่อส่งเสริมการเย็บตับจาก พบว่า การถ่ายทอดภูมิปัญญาการเย็บตับจากมีการบอกเล่า การบรรยาย การสาธิต และการปฏิบัติจริง โดยผู้ถ่ายทอดเป็นผู้แนะนำการเย็บตับจาก ซึ่งต้องใช้ทักษะการปฏิบัติ โดยควรถ่ายทอดให้เด็ก เยาวชน และผู้สนใจ ซึ่งควรปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยและสถานการณ์ หรืออาจรวมกลุ่มเพื่อศึกษาการเย็บตับจากและเผยแพร่ไปยังชุมชนอื่นด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

References

นพรัตน์ บำรุงรักษ์. (2536). พืชหลักปักษ์ใต้. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ แกรมมี่.

นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. (2550). ผลไม้ 111 ชนิด : คุณค่าอาหารและการกิน. กรุงเทพฯ: แสงแดด.

บางปะกง สายน้ำแห่งชีวิต (2559). อาชีพเย็บตับจาก. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564.

จาก https://web.facebook.com/bangpakongriver/?_rdc=1&_rdr.

ปรัชญาณี ธัญญาดี. (2546). ภูมิปัญญาพื้นบ้านหัตถกรรมจักสานตับจากมุงหลังคากับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

พึ่งตนเอง : ศึกษาเฉพาะกรณี หมู่ 2 บ้านวันบางโปรง ตำบลบางโปรง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ.

กรุงเทพฯ: สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏธนบุรี.

พัชรินทร์ สิริสุนทร. (2552). คุณลักษณะสื่อบุคคลที่ควรรู้ในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น.

นครราชสีมา: สาขาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

MGR Online. (2558). เกษตรกรพัทลุงเย็บตับจากใบสาคูขาย สร้างรายได้เดือนละเป็นแสน.

สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564. จาก https://mgronline.com/south/detail/9580000073280.

เผยแพร่แล้ว

2022-07-06