ผลของอัตราส่วนวัตถุดิบและสภาวะการอบด้วยไมโครเวฟต่อคุณภาพของข้าวเกรียบมันเทศ

ผู้แต่ง

  • อนุธิดา ศรีทา สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ศศิธร เคนอรุณ สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • นวพร หงส์พันธุ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • พรชัย พรหฤทัย สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตและออกแบบแม่พิมพ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • หนึ่งฤทัย เอกธรรมทัศน์ สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

มันเทศสีม่วง, การอบด้วยไมโครเวฟ, มันเทศสีเหลือง, ข้าวเกรียบ

บทคัดย่อ

มันเทศเป็นพืชพื้นเมืองที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายเนื่องจากมันเทศอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลายอย่าง เช่น คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวที่มีปริมาณมันเทศมากจะทำให้ราคาของมันเทศลดลง ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การแปรรูปมันเทศเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่และมูลค่าเพิ่ม วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนวัตถุดิบและสภาวะการอบด้วยไมโครเวฟต่อคุณภาพของข้าวเกรียบมันเทศ โดยใช้มันเทศสีม่วงและมันเทศสีเหลืองเป็นส่วนผสมในข้าวเกรียบ ภายใต้รูปแบบข้าวเกรียบกึ่งสำเร็จรูปที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ยุคปัจจุบัน จากการวิจัยพบว่าข้าวเกรียบมันเทศสีม่วง ข้าวเกรียบมันเทศสีเหลือง และข้าวเกรียบมันเทศสูตรผสม ที่ผ่านการอบด้วยไมโครเวฟ 240 วัตต์ เป็นเวลา 2 นาที มีลักษณะทางกายภาพของสี กลิ่น รส ความกรอบ อยู่ในระดับดี การทดสอบความชื้นก่อนอบเท่ากับ 6.29%, 7.31% และ 9.92% ตามลำดับ ซึ่งเป็นค่าที่ไม่เกินค่าความชื้นมาตรฐาน 12% พลังงาน 3.7 kcal ต่อตัวอย่าง 100 กรัม แสดงให้เห็นว่า ข้าวเกรียบมันเทศเป็นอาหารพลังงานต่ำ นอกจากนี้ยังพบว่าข้าวเกรียบมันเทศสูตรผสมมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด IC50 เท่ากับ 1.511 ppm และปริมาณสารเบต้าแคโรทีนในข้าวเกรียบมันเทศสีเหลือง มีค่า LOQ = 40.00

Downloads

Download data is not yet available.

References

อรสา สุริยาพันธ์ และคณะ. (2014). การวิเคราะห์ความชื้น และเนื้อสัมผัสระหว่างการเก็บของกล้วยตากที่บรรจุในซองเมทัลไลซ์.

อดิษรา ตันตสุทธิกุล และคณะ. (2014). ข้าวเกรียบปลาปรุงรสผลิตจากปลาสองชนิด คือ ปลานิลและปลาดุก.

สกุลตรา คํ้าชู. (2015). ผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากแป้งผสมชะครามแห้ง.

กรองจันทร์ รัตนประดิษฐ์. (2557). การตรวจสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาใบขลู่และผลของระยะเวลาการเก็บรักษาต่อความสามารถในการออกฤทธิ์.

Norhameemee Kheeree, M.Sc. (2015). ศึกษาการพัฒนารสชาติข้าวเกรียบโดยใช้สมุนไพรผสม 4 ชนิด คือ ข่า : ตะไคร้ : ใบมะกรูด : พริกขี้หนู.

รอมลี เจะดอเลาะ และคณะ .(2018). ได้ศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคข้าวเกรียบปลาทอดมีปัญหาปริมาณไขมันสูง การอมน้ำมัน และการเหม็นหืนระหว่างการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์.

วิภาวรรณ วงศ์สุดาลักษณ์. (2558). การประยุกต์ใช้ฟลาวร์เมล็ดจำปาดะในผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบ

ปริยานุช อินทร์รอด. (2551). ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมของส่วนสกัดจากต้นเร่งหอมและว่านสาวหลง.

ปิยภรณ์ สุริยะ และคณะ. (2554). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบถั่วแปจ่อ.

จริยา สุข จันทรา และคณะ. (2558). การเพิ่มมูลค่าอาหารท้องถิ่นจากแป้งสาคู: หัวข้าวเกรียบแช่แข็ง.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29