อำนาจศาลในการออกหมายจับและเพิกถอนหมายจับในคดีอาญา

ผู้แต่ง

  • นิษฐนาถ บุลสถาพร Nitthanart
  • ขนิษฐา สุขสวัสดิ์ Rattanabundit University
  • สุรพล สินธุนาวา Rattanabundit University
  • วาชิต รัตนเพียร Rattanabundit University

คำสำคัญ:

การเพิกถอนการออกหมายจับในคดีอาญา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐ การออกหมายจับและการเพิกถอนการออกหมายจับตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (2) วิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาการออกหมายจับและการเพิกถอนการออกหมายจับที่ปรากฏในกระบวนการยุติธรรมไทยในปัจจุบันวิเคราะห์เปรียบเทียบกับการออกหมายจับและการเพิกถอนการออกหมายจับตามกฎหมายต่างประเทศ และ (3) ศึกษาบทบาทและอำนาจศาลในการการออกหมายจับและการเพิกถอนหมายจับในคดีอาญา โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและแปลความหมายจากการเปรียบเทียบ

ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการออกหมายจับของไทยไม่มีกระบวนการที่ผ่านการกลั่นกรองและตรวจสอบการออกหมายจับอย่างละเอียดรอบคอบโดยผ่านพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และผู้พิพากษา เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการออกหมายจับเหมือนเช่นประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส หรือสหรัฐอเมริกา แต่เป็นการขอออกหมายจับโดยเจ้าพนักงานตำรวจต่อศาลโดยตรง จึงทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการเพิกถอนการออกหมายจับอยู่เสมอ อีกทั้งหลักเกณฑ์เรื่องการคัดค้านการออกหมายจับ กฎหมายกำหนดแต่เพียงว่าให้คัดค้านต่อศาลซึ่งออกหมายจับเท่านั้น จึงไม่อาจอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้ตามหลักทั่วไปของการอุทธรณ์ในคดีอาญา ดังนั้น เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และป้องกันความผิดพลาดในการออกหมายจับที่เกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขกฎหมายในเรื่องดังกล่าวต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณิต ณ นคร. (2564). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

. (2552). ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา: สะท้อนทิศทางพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (2564). คำอธิบายพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

กรกฎ ทองขะโชค. (2551, พฤศจิกายน). “การอุทธรณ์ ฎีกา คำสั่งการออกหมายจับ.” วารสารข่าวกฎหมายใหม่, 6, 101. หน้า 64-65.

คณิต ณ นคร. (2549, มิถุนายน). “รัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมทางอาญา.”

รัฐธรรมนูญกับกระบวนการยุติธรรม. หน้า 24-30.

. (2552, 10-16 กรกฎาคม). “หมายจับและการอุทธรณ์คำสั่งออกหมายจับ.” มติชนสุดสัปดาห์. หน้า 15-19.

. (2554). “การเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐกับการปล่อยชั่วคราว.” การก่อการร้ายกับการมอบอำนาจให้ดำเนินคดี. หน้า 79-94.

. (2554). “ดุลพินิจในการออกหมายจับ.” การก่อการ ร้ายกับการมอบอำนาจให้ดำเนินคดี. หน้า 111-124.

ธีรนิติ์ เทพสุเมธานนท์. (2551). “อุทธรณ์คำสั่งไม่เพิกถอนหมายจับ.” รวมบทความพิเศษและคำพิพากษาฎีกา. หน้า 70.

สุชาย จอกแก้ว. (2550, ธันวาคม). “ปัญหาการออกหมายจับ ออกหมายจับอย่างไร จึงจะชอบด้วยกฎหมาย.” บทบัณฑิตย์, 63, 4. หน้า 163-176.

. (2552, กันยายน-ธันวาคม). “ศาลอุทธรณ์เพิกถอนหมายจับได้หรือไม่.” ดุลพาห, 56, 3. หน้า 164-173.

คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์. (2552). อำนาจรัฐในการควบคุมตัวบุคคลตามกฎหมายลักษณะพิเศษ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศัพท์นิติศาสตร์ อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (แก้ไขเพิ่มเติม) (พิมพ์ครั้งที่ 7).

สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์. (2550). การออกหมายค้น หมายจับ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลยุติธรรม.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลของประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ในประชาคมอาเซียน . วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (2547). กฎหมายด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในกระบวนการยุติธรรมที่ไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิขึ้นพื้นฐานและพันธกรณีระหว่างประเทศรวมทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม.

เอกสารประกอบโครงการสัมมนา. (2553). การออกหมายจับและหมายค้น: ประสบการณ์ของต่างประเทศและประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม.

เอกสารประกอบโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ. (2553). การใช้ดุลพินิจในการออกหมายต้น หมายจับ และหลักการรับฟังพยานทางวิทยาศาสตร์ในคดีอาญา: ประสบการณ์ประเทศสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพมหานคร: สำนักประธานศาลฎีกาและสำนักอธิบดีผู้พิพากษา ภาค 3 สำนักงานศาลยุติธรรม.

เอกสารแปลคำบรรยายในการจัดนิติศาสตร์เสวนาครั้งที่ 5/2553 โครงการสัมมนาเรื่อง “การออกหมายจับและหมายค้น: ประสบการณ์ของต่างประเทศและประเทศไทย” เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2553. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30