การศึกษาสันติภาพ: กรณีศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข (สสสส .)

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ดิสสะมาน -

คำสำคัญ:

หลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข (4ส ), การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง, การศึกษาสันติภาพ

บทคัดย่อ

ความท้าทายใหญ่ของสันติภาพคือ การธำรงความขัดแย้งในประเทศไทยโดยเฉพาะความขัดแย้งที่ยืดเยื้อยาวนานยังไม่ได้รับการแก้ไขให้เกิดสันติภาพเชิงบวก (Positive Peace) ได้อย่างถาวร บทความนี้เป็นการนำเสนอเรื่องการศึกษาสันติภาพ (Peace Education) โดยเฉพาะการศึกษากรณีศึกษาของหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข หรือ หลักสูตร4 ส ซึ่งเป็นหลักสูตรที่นำแนวคิดการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง  (Conflict Transformation) ขับเคลื่อนและผลิตนักสันติภาพในระดับนักบริหาร คณาจารย์และนักขับเคลื่อนสังคมโดยในหลักสูตรฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าศึกษาอบรม ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสันติภาพเชิงบวกและมีทักษะเบื้องต้นในการสร้างสันติสุขในสังคม (Peacebuilding)

          แนวความคิดการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง (Conflict Transformation) ที่เป็นหัวใจของหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขสำคัญมากเพราะเป็นการแก้ไขปัญหาที่รากเหง้า โดยเน้นวิธีการแก้ไขความขัดแย้งแบบยั่งยืน และมีเจตคติที่ยอมรับและเห็นคุณค่าของความแตกต่างหลากหลายในสังคม รวมทั้งยึดมั่น  สันติวิธีทั้งในสำนึกและพฤติกรรม โดยเน้นการสร้างสันติวัฒนธรรมให้ลึกถึงคุณค่า ดังนั้น สันติวัฒนธรรมจึงสำคัญ เพื่อทำให้สังคมไทยพัฒนาเปลี่ยนแปลงได้ก้าวหน้าสู่สันติวิธี (มิติเชิงคุณค่า) ได้ดียิ่งขึ้นและสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนกับบุคคลจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในชั้นเรียนและในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไขความขัดแย้งและสร้างสันติสุขในสังคมอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้และปัญหาความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองไทย โดยในบทความชิ้นนี้ประกอบไปด้วยการศึกษาแนวคิดกระบวนการศึกษาสันติภาพศึกษาในประเทศไทย และการศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขหรือ หลักสูตร 4 ส มีคุณูปการแก่ประเทศไทยในมิติความมั่นคงและความปรองดองของประเทศ และที่สำคัญคือหลักสูตรฯ ผลิตนักสันติภาพมาเป็นระยะเวลา 12 รุ่น ( รุ่นปัจจุบัน พ.ศ.2565 ) เน้นกระบวนการวิธีที่จะสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เข้าศึกษาอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะสันติภาพให้เกิดการรู้จักการเป็นผู้นำแบบเข้าอกเข้าใจ (Empathetic Leadership)  และเข้าใจในความแตกต่างระหว่างกันของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม (Tolerance) รวมไปถึงรู้จักทักษะต่าง ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยการเคารพความแตกต่างในสังคมพหุวัฒนธรรม (Multiculturalism)  อีกทั้งการผลิตนักสันติภาพของหลักสูตร 4 ส เป็นการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพในพื้นที่ความขัดแย้งรุนแรงของประเทศไทยในหลายกรณี

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาอังกฤษ

Abu-Nimer, Mohammed (eds.). (2001). Reconciliation, Justice, and Coexistence: Theory and Practice. Lanham, MD: Lexington Books.

Bajaj, Monisha (edit.), (2008). Encyclopedia of Peace Education, Information Age

publishing, Inc., Charlotte, North Carolina, USA.

Baijai, & Brantmeier, (2011). The Politics, Praxis, and Possibilities of Critical Peace

Education.Journal of Peace Education.8:3, 221-224.

Burns, R. J., & Aspeslagh, R. (1996). Three decades of peace education around the world: An anthology. New York: Garland Pub.

Diaz-Soto, L. (2005). How can we teach peace when we are so outraged? A call for critical peace education. Taboo: The Journal of Culture and Education, Fall-Winter, 91-96.

Galtung, J.(1969). Peace by Peaceful Means: Peace and Conflict Development and Civilsation.Oslo: PRIO.

Harris, I and Morrison, M. (2003). Peace education. Jefferson, North Carolina: Mcfarland

and company, inc.

Reardon, B. A. (1988). Comprehensive Peace Education: Educating for Global

Responsibility. New York:Teachers College Press.

Salomon, G., & Nevo, B. (Eds.). (2002). Peace education: The concept, principles, and

practices around the world. Lawrence Erlbaum Associates Publishers.

ภาษาไทย

กษมา จิตร์ภิรมย์ศรี. (2558) . "สันติภาพศึกษา: บทบาท และกระบวนการมีส่วนร่วม ในการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง." วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 53-76.

ไชยันต์ รัชชกูล. ( 2537 ). “ความขัดแย้งในบริบทของสันติศึกษา.” ในเอกสารการสอนชุดวิชาสันติศึกษา หน่วยที่1 -7 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธงชัย สมบูรณ์, 2563: สันติศึกษาอริยทรัพย์ของมวลหมู่มนุษยชาติ Peace Education: The Great Property of Humanity.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29