การจัดการวัสดุเหลือใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • สรายุทธ คาน -

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: การจัดการวัสดุเหลือใช้ชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การจัดการวัสดุเหลือใช้ชุมชนในครั้งนี้ เป็นการวิจัยประยุกต์ด้วยเทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อศึกษาองค์ประกอบของมูลฝอยชุมชน พฤติกรรมการจัดการขยะ และการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ ระบบรวบรวมและจัดเก็บมูลฝอยชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และเสนอแนวทางการจัดการวัสดุเหลือใช้ให้เหมาะสมกับชุมชน กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจประกอบด้วย ชุมชนในแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 9 ชุมชน จำนวน 309 คน กลุ่มผู้ค้นหา-รับซื้อขยะ  รีไซเคิล (รถซาเล้ง) 4 ราย และตัวแทนกลุ่มพนักงานฝ่ายรักษาความสะอาด สำนักงานเขตธนบุรี จากบริเวณจุดรวบรวมขยะรวม 3 แห่ง จำนวน 3 คน กลุ่มตัวอย่างการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและกรรมการจาก 6 ชุมชน ๆ ละ 6 คน รวม 36 คน และกลุ่มตัวอย่างกิจกรรมการถ่ายทอดให้กับบุคลากรและนักเรียนโรงเรียนสหบำรุงวิทยา จำนวน 35 คน ทำการแยกองค์ประกอบขยะ 3 จุด ๆ ละ 3 ครั้ง การเปิดเวทีชาวบ้าน และสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวม 6 ครั้ง การสำรวจและออกแบบพื้นที่รวบรวม/จัดเก็บวัสดุเหลือใช้ชุมชนต้นแบบ สื่อรณรงค์ และการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือประกอบด้วย อุปกรณ์แยกองค์ประกอบขยะด้วยเทคนิค Quartering แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และเวทีชาวบ้าน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยสถิติพรรณนา ตัวทดสอบ t และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของวัสดุเหลือใช้ชุมชนโดยรอบเฉลี่ยร้อยละ 15 เป็นขยะรีไซเคิลซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลาสติก แก้ว และกระดาษ ตามลำดับ รวบรวมและจัดเก็บโดยรถบรรทุกอัดท้ายไฮโดรลิกส์ของ กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 จุด คือ 1) บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) บริเวณศาลเจ้าฯ สี่แยกบ้านแขก และ 3) บริเวณวัดใหญ่ศรีสุพรรณ บางส่วนจะมีซาเล้งรวบรวมไปอีกประมาณร้อยละ 5  ชุมชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจถึงความจำเป็นของการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทาง และยินดีเข้าร่วมหากมีหน่วยงานเข้ามาสำรวจและพัฒนากระบวนการที่สร้างมูลค่าให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยพบแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมประกอบด้วย กิจกรรมการคัดแยกขยะรีไซเคิล กิจกรรมสิ่งประดิษฐ์จากขยะทั่วไป และกิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการประชาสัมพันธ์ กระบวนการให้ความรู้ กระบวนการดำเนินงาน และกระบวนการติดตามประเมินผล โดยมีผลตอบแทนที่ประเมินจากปริมาณและองค์ประกอบของวัสดุรีไซเคิลรวมทุกชุมชนประมาณ 750 บาท/วัน ส่วนชุมชนอื่น ๆ จะใช้ระบบนัดหมายและติดต่อให้ผู้ประกอบการภายนอกมารับซื้อ ทั้งนี้สามารถเตรียมการจัดตั้งสถานที่รวบรวมได้จำนวน 2 แห่ง ผลการจัดอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อถ่ายทอดแนวทางการจัดการวัสดุรีไซเคิลชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า มีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) โดยสามารถจัดตั้งคณะกรรมการจัดการขยะรีไซเคิลชุมชนวัดประดิษฐารามและดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับตามคู่มือที่พัฒนาขึ้น จากการติดตามผลการดำเนินงานสามารถลดปริมาณขยะต้นทางที่ต้องนำไปกำจัดจากกลุ่มครัวเรือนนำร่องลงได้ประมาณร้อยละ 50

Downloads

Download data is not yet available.

References

รังษิยา อมาตยคง. (2544). องค์ประกอบขององค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานกองทุน

เงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เขตพื้นที่ภูมิภาค

ตะวันตก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โรงเรียนสุขสันต์สามัคคีวิทยา. (2547). โครงการธนาคารขยะ. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2558 จาก

http://ssrecycle.multiply.com/journal/item

สมจิตต์ สุพรรณทัสว์. (2540). ประวัติโรงเรียนสหบำรุงวิทยา (มูลนิธิ). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์เจริญผล.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2540). นโยบายสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมคิด บางโม. (2553). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2541). วิธีวิทยาการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2547). เศรษฐกิจพอเพียง.

กรุงเทพฯ: สำนักงานพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

สิทธิโชค วรานุสันกูล. (2548). จิตวิทยาสังคม: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น (มหาชน)

สุนทร กุลวัฒนวรพงศ์. (2544). ตามรอยพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง-ทฤษฎีใหม่. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

สุพจน์ ทรายแก้ว. (2545). การวัดผลการปฏิบัติงาน. เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนกลยุทธ์และการบริหารงานมุ่งผลงาน. เชียงราย: สำนักพิมพ์สถาบันราชภัฏเชียงราย.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2540). แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ.

อาณัติ ต๊ะปินตา. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ออสแคมพ์. (2540). ทฤษฎีการวัดทัศนคติ. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558 จาก https://kkwis510.wordpress.com

Cronbach,L.J. (1960). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row Publishers.

Zimbardo,P.G.andGerrig, R.J. (1996). Psychology and Life. New York: Harper Collins College.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30