ความผิดฐานฉ้อโกง : ศึกษากรณีการหลอกลวงทางโทรศัพท์ (แก๊งคอลเซ็นเตอร์)

ผู้แต่ง

  • จักรพงษ์ กังวานโสภณ -

คำสำคัญ:

แก๊งคอลเซ็นเตอร์, มิจฉาชีพ, เทคนิคหลอกลวง, ฉ้อโกง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานฉ้อโกงในกรณีการหลอกลวงทางโทรศัพท์หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Call Center Gang) ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมข้ามชาติและกำลังเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงที่ผู้กระทำความผิดมีวิธีการหรือรูปแบบในการกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายจำนวนมาก โดยบัญญัติให้มีลักษณะของเหตุเพิ่มโทษและมีการกำหนดอัตราโทษที่สูงขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะของการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับฐานความผิดดังกล่าวให้มีลักษณะเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดได้โดยไม่ต้องมีการร้องทุกข์จากผู้เสียหาย อันเป็นการป้องปรามให้ผู้กระทำความผิดเกรงกลัวต่อกฎหมายและมีผลให้กฎหมายมีสภาพบังคับใช้ได้อย่างแท้จริง

Downloads

Download data is not yet available.

References

นิรชา บุญอภัย. (2561). ความผิดฐานฉ้อโกง : ศึกษากรณีการฉ้อโกงการบริการ. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

พัลลภ หริ่งรอด. (2562). มาตรการตามกฎหมายในการปราบปรามองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ศึกษาเฉพาะกลุ่มคอลเซ็นเตอร์ วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ลาวัลย์ ถนัดศิลปกุล และ คณะ.(2561). โครงการการศึกษาวิเคราะห์และแนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในมิติกฎหมายของต่างประเทศ ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก-เหนือ-ใต้. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2561.

วิเชียร ดิเรกอุดมศักดิ์. (2563). อาญาพิสดารเล่ม 2 หลักกฎหมายและแนวคำพิพากษาศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 206-398. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30