การผลิตและพัฒนาครูที่เน้นสมรรถนะวิชาชีพด้วยแนวคิดระบบการวัดผลแบบเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (OKRs)
คำสำคัญ:
การผลิตและพัฒนาครู,สมรรถนะวิชาชีพ,เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ, OKRsบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ เขียนขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์วรรณกรรมเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาครูที่เน้นสมรรถนะวิชาชีพด้วยแนวคิดระบบการวัดผลแบบเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (OKRs) ผู้เขียนได้ทบทวนและวิเคราะห์วรรณกรรมเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาครู สมรรถนะวิชาชีพ และการวัดผลแบบเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (OKRs : Objectives and Key Results) ซึ่งประกอบด้วย 1) มุ่งเป้าหมายและลําดับความสําคัญ (Focus and commit to priorities) 2) ถ่ายทอดและเชื่อมโยงสู่ทีมงาน (Align and connect for teamwork) 3) ติดตามเพื่อการตรวจสอบได้ (Track for accountability) และ 4) กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว (Stretch for amazing) สาระสำคัญการผลิตและพัฒนาที่เน้นสมรรถนะวิชาชีพ 17สมรรถนะ ซึ่งเป็นจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์เสริมสร้างสมรรถนะและทักษะเพื่อการพัฒนากระบวนการผลิตครู ให้มีความสมดุลทั้งคุณภาพและคุณธรรมเพื่อเป็นต้นแบบ ตลอดจนสามารถเป็นนวัตกรเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาตอบโจทย์ การศึกษาของโลกแห่งอนาคตร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง พัฒนาตนเองให้สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนได้ทันที และเปลี่ยนการเรียนการสอนฐานความรู้ (Knowledge-based Learning) เป็นไปเป็นการเรียนการสอน ฐานสมรรถนะ (Competency-based Learning) สอดคล้องกับความต้องการบุคลากรครูของท้องถิ่นและประเทศ และมีมาตรฐานระดับสากล พร้อมยกระดับความก้าวหน้าทางวิชาชีพครูของบัณฑิตครู ให้แก่คณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Downloads
References
จินตวีร์ คล้ายสังข์ และคณะ. (2564). การผลิตและใช้สื่ออย่างเป็นระบบ เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษา ขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
ชลธิชา แสงใสแก้ว. (2558). 6 เคล็ดวิธีใช้ KPI ให้ได้ผล. ซีเคร็ต ปีที่ 7, ฉบับที่ 167 (มิ.ย. 2558), หน้า 46-47.
พรชัย อรุณอาศิรกุล. (2564): Engineering Today ปีที่ 18, ฉบับที่ 180 (พ.ย.-ธ.ค. 2563), หน้า 41-45.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์, และพเยาว์ ยินดีสุข (2560) สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2560). ทักษะ 7 C ของครู 4.0. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. ศูนย์ตำราและเอกสารวิชาการ วิทยาลัยครุศาสตร์ มธบ.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2558). นวัตกรรมการเรียนการสอนกับการศึกษาระบบ 4.0. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี , 9(2), 133-156.
ศักดิ์ชาย เพชรช่วย. (2558). อนาคตภาพการผลิตครูของสถาบันอุดมศึกษาไทย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2559). รายงานชุดการปฏิรูประบบบุคลากรครู: ข้อเสนอการสร้างและคัดเลือกครูสอนดีรุ่นใหม่สู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานผลการศึกษาแนวทางการจัดทําระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษาที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยใช้แนวคิดระบบการวัดผลแบบ OKRs : Objective and Keys Results. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
ศิวาพัชญ์ บํารุงเศรษฐพงษ์ และคณะ. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาตามแนว Objectives & Key Results (OKRs). [ม.ป.ท.]: วิทยาลัยสงฆ์นครลําปาง.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2562). ตัวอย่าง OKRs OBJECTIVES AND KEY RESULTS. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์
David Kergel. (2020). Digital Learning in Motion: From Book Culture to the Digital Age (Perspectives on Education in the Digital Age). 1st Edition, Kindle Edition
Doerr, J. (2562). ตั้งเป้าชัด วัดผลได้ด้วย OKRs. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.
Ingersoll, R.M., (Eds.). (2007). A comparative study of teacher preparation and qualifications in six nations. PA, Philadelphia: Consortium for Policy Research in Education.
Mohr, S. (2020). A New Decade for Faculty Professional Development. [Online]. Retrieved August 2, 2021, from https://onlinelearningconsortium.org/2020-a-new-decade-for-faculty-professional-development.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว