รูปแบบและแนวคิดการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ชุด BO(R)N

ผู้แต่ง

  • วิทวัส กรมณีโรจน์ -

คำสำคัญ:

ความงามที่ไม่สมบูรณ์แบบ, บอนสี, การสร้างสรรค์นาฏศิลป์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ชุด BO(R)N โดยมีรูปแบบองค์ประกอบในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์ทั้ง 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทการแสดง 2) นักแสดง 3) ลีลานาฏศิลป์ 4) เสียงและดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง 5) เครื่องแต่งกาย 6) พื้นที่การแสดง และ 7) อุปกรณ์ประกอบการแสดง อีกทั้งยังมีแนวคิดที่ใช้ในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน 5 แนวคิด ได้แก่ 1) แนวคิดความงามที่ไม่สมบูรณ์แบบ (วาบิ-ซาบิ) 2) แนวคิดศิลปะกับธรรมชาติ 3) แนวคิดศิลปะเฉพาะที่ 4) แนวคิดสัญลักษณ์ในงานนาฏศิลป์ และ 5) แนวคิดนาฏศิลป์ร่วมสมัย

          ผลการศึกษาและการสร้างสรรค์ผลงาน พบว่า รูปแบบและแนวคิดการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ชุด BO(R)N เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับคุณค่าของความงามอันไม่สมบูรณ์แบบของมนุษย์ มาสร้างสรรค์เป็นการแสดงเดี่ยว โดยผ่านการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบนาฏศิลป์ร่วมสมัยประกอบกับบอนสี ซึ่งผู้สร้างสรรค์ผลงานนำแนวคิดทั้ง 5 ประการ มาปรับใช้ให้เข้ากับรูปแบบองค์ประกอบในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์ทั้ง 7 ประการ ซึ่งผลงานการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ชุดนี้ได้จัดแสดงผลงานนาฏศิลป์สู่สาธารณชนในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งรูปแบบและแนวคิดของการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ชุดนี้ได้รับการยอมรับว่า มีความน่าสนใจ ความแปลกใหม่และมีความทันสมัยกับปัจจุบัน อีกทั้งในการสร้างสรรค์ครั้งต่อไปควรมีการนำเอกลักษณ์และความหมายของบอนสีมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับบอนสีในแต่ละชนิดมากยิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

จิรายุทธ พนมรักษ์. (2561). การถ่ายทอดแนวความคิดด้านการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย

ประเภทศิลปะการแสดงเต้นรำเฉพาะพื้นที่ของศาสตราจารย์ ดร.นราพงษ์ จรัสศรี. วารสารสถาบัน วัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 (39) กรกฎาคม- ธันวาคม

จุติกา โกศลเหมมณี.(2556) รูปแบบและแนวความคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยของ นรพงษ์ จรัสศรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

แฉล้ม สถาพร. (2555). การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ด้วยสีธรรมชาติจากพืชในจังหวัด นครศรีธรรมราช. วารสารวิจิตรศิลป์. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม–มิถุนายน

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2562). ทฤษฎีการสร้างสรรค์ศิลป์. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม

ดวงดาว โยชิดะ. (2560). วาบิ -ซาบิ กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 มิถุนายน – กันยายน

ธรากร จันทนสาโร. (สัมภาษณ์). ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชานาฏศิลป์สร้างสรรค์และการจัดการ คณะ ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2561

นราพงษ์ จรัสศรี. (2548). ประวัตินาฏยศิลป์ตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

บัญชา ธนบุสมบัติ. (2562). ถอดรหัสสัญลักษณ์ปริศนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สารคดี. 208 หน้า.

ภัคนิจ สรณารักษ์, เมตตา สุวรรณศร และสรรณรงค์ สิงหเสนี. (2562). ความงามในความเสื่อมสลาย. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 เดือนพฤษภาคม–มิถุนายน

วรวุฒิ โต๊ะอิ๊. (สัมภาษณ์). ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์บอนสี. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2546). สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สันติศิริการพิมพ์.

อภิโชติ เกตุแก้ว. (2561). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสัญลักษณ์โอม ในความเชื่อมของศาสนาพราหมณ์- ฮินดู. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29