การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลในยุคการหลอมรวมสื่อเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • วิโรจน์ ศรีหิรัญ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

Digital Public Relations Media, Media Convergence, Tourism, Samut Songkhram Province

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลในยุคการหลอมรวมสื่อและการยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสงครามให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับชาติ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างประชาชนสมุทรสงคราม แกนนำหรือตัวแทนชุมชน นักท่องเที่ยว นักวิชาการด้านการสื่อสารและการท่องเที่ยว รวมจำนวน 37 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การตีความเพื่อนำเสนอในลักษณะของการบรรยายเชิงพรรณนาหรือพรรณนาวิเคราะห์

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่าการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลฯ ในด้านลักษณะทั่วไปพบว่ามีการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์ เพจเฟซบุ๊ก ยูทูป ซึ่งอาจยังไม่เป็นที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวเท่าที่ควร โดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวคนรุ่นใหม่ที่ชอบการสื่อสารที่ทันสมัยและมีความหลากหลาย ส่วนลักษณะเฉพาะในการใช้สื่อฯ ควรมีลักษณะ “PR 5+1” กล่าวคือ เน้นการใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ 5 ประเภท ได้แก่  1. แอปพลิเคชันบนมือถือ 2. แผ่นพับแนะนำเส้นทางการท่องเที่ยวพร้อม QR Code 3. สื่อวีดีโอแนะนำแหล่งท่องเที่ยว 4. สื่อดิจิทัลประเภทวีล็อก (Vlog) และ 5.สื่ออินโฟกราฟิก โดยอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่เป็นนามธรรม 1 สิ่งคือ “การใช้ความคิดสร้างสรรค์เชิงประชาสัมพันธ์”  รองลงมามองว่า ควรนำเสนอเนื้อหาชุดเดียวกันผ่านสื่อทุกแพลตฟอร์ม เนื่องจากเป็นการสื่อสารที่หลอมรวมสื่อทุกสื่อที่สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวสมุทรสงครามได้ ทั้งนี้ ด้านแนวทางการพัฒนาสื่อฯ ส่วนใหญ่มองว่าควรใช้แนวทางการปรับตัวตามสถานการณ์ของเทคโนโลยีสื่อสารและความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความสามารถในการยกระดับการท่องเที่ยวสมุทรสงครามให้เป็นระดับชาตินั้น ส่วนใหญ่มองว่าทำได้ โดยทุกภาคส่วนต้องร่วมกันบูรณาการการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลภายใต้แนวคิด“เปลี่ยนเมืองรองเป็นเมืองหลัก” ซึ่งภาครัฐควรจัดสรรงบประมาณอย่างเต็มที่ ภาคเอกชนควรทำธุรกิจการค้าควบคู่ไปกับการใช้สื่อเพื่อพัฒนาแหล่งการค้าไปในตัว และภาคประชาชนก็ควรปรับตัวที่จะเรียนรู้สื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างแทบไม่หยุดนิ่ง ทั้งนี้ส่วนใหญ่ยังมองด้วยว่าควรใช้รูปแบบการสร้างสรรค์เนื้อหาแบบ “วีล็อกเพื่อการสื่อสารการท่องเที่ยว” (Vlog for Tourism Communication) โดยใช้วิธีการ “เล่าเรื่องผ่านคนในชุมชนสมุทรสงคราม” เพื่อสร้างความใกล้ชิดกับผู้ชมที่เป็นนักท่องเที่ยวเป้าหมาย

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช.(2560).สื่อดิจิทัลใหม่ สื่อแห่งอนาคต. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ฐานุพงศ์ สีกาฬสินธุ์ และคณะ.(2564). การพัฒนาสื่อในการประชาสัมพันธ์การตลาดของธุรกิจชุมชน: กรณีชุมชน

หินตั้ง-บ้านโด่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. ใน วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม.

มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2564.

นิตินันท์ ศรีสุวรรณ.(2564).วช. เปิดตัว แอปฯ“Go Samut Songkhram”เทคโนโลยีท่องเที่ยวเมืองรอง เชิง

สร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565. จาก

https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_6544206

พจน์ใจ ชาญสุขกิจ.(2553). นวัตกรรมการประชาสัมพันธ์ กับประเด็นการสื่อสารขององค์กรระดับ

โลก ท่ามกลาง Social Network. วันที่สืบค้น 1 ธันวาคม 2560, เข้าถึงได้จาก

http://www.drphot.com/images/ journal/2553/corporate_communication/ external/Article%20PRbook4.pdf

พรทิพย์ พิมลสินธุ์.(2539). ภาพพจน์นั้นสำคัญยิ่ง: การประชาสัมพันธ์กับภาพพจน์. กรุงเทพฯ: เจริญผล.

สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์.(2558). การพัฒนาการสื่อสารภาพลักษณ์และตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยวอำเภอบางคนที

จังหวัดสมุทรสงคราม บนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2556). ทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ระเบียงทอง.

อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2559).การพัฒนานวัตกรรมการประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ผ่านการสื่อสารเครือข่ายสังคม

ออนไลน์ขององค์กรธุรกิจเอกชนในประเทศไทย. ใน วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา. คณะ

นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม-ธันวาคม 2559.

อภิสรา กฤตาวาณิชย์.(2564). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตามศาสตร์พระราชา

ของศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. ในวารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม–สิงหาคม 2564.

Gale,R.(2005).Sustainable Tourism: The Environmental Dimensions of Trade Liberalization in China. D. Shrubsole and N. Watson (Eds.), Sustaining Our Futures : Perspectives on Environment, Economy and SocietyUniversity of Waterloo , Waterloo, Ontario.

McCool S. and Moisey N. (2002). Tourism, Recreation and Sustainability: Linking culture and

the environment. Oxon, U.K.: CABI Publishing.

Miller, Michael. (2011). Youtube for Business Online Video Marketing for Any Business. USA:

Que Publishing.

Seba, J. A. (2012). Eco tourism and Sustainable Tourism: New Perspectives and Studies.

Canada: Apple Academic Press.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29