ประสิทธิผล ประสิทธิผลการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศที่มีต่อองศาการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • อาวุธ หงษ์ศิริ -

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การเต้นลีลาศ, องศาการเคลื่อนไหว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการเต้นลีลาศต่อองศาการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเลือก จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย เครื่องวัดองศาการเคลื่อนไหว เครื่องทดสอบความแข็งแรงดิจิตอล แบบประเมินอาการผู้ร่วมวิจัยแบบประเมินวัดระดับความเจ็บปวด ใช้รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยกึ่งทดลองวัดผลก่อนและหลังทดลอง ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และ t-test             

ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวนทั้งหมด 30 คน เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิง 28 คนคิดเป็นร้อยละ 93.33 เพศชาย 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.67 อายุกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เฉลี่ย 50-59 ปี คิดเป็นร้อยละ43.30 กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ของผู้เข้าร่วมวิจัยท่างอข้อไหล่ก่อนการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ เท่ากับ 174.03 ท่างอข้อไหล่ค่าเฉลี่ยหลังการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ เท่ากับ 174.80 ค่า t-test เท่ากับ 5.43 ซึ่งการเคลื่อนไหวของข้อต่อส่วนไหล่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ท่าเหยียดข้อไหล่ก่อนการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ เท่ากับ 42.23ท่าเหยียดข้อไหล่ค่าเฉลี่ยหลังการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ เท่ากับ 46.07 ค่า t-test เท่ากับ 1.63 ซึ่งการเคลื่อนไหวของข้อไหล่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การเคลื่อนไหวของข้อเข่าของผู้เข้าร่วมวิจัย ท่างอเข่าก่อนการเคลื่อนไหวของข้อเข่า เท่ากับ 82.97 ค่าเฉลี่ยหลังการเคลื่อนไหวของข้อเข่า เท่ากับ 83.80 ค่า t-test เท่ากับ 3.34 ซึ่งการเคลื่อนไหวของข้อต่อส่วนเข่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การเคลื่อนไหวของข้อเข่าของผู้เข้าร่วมวิจัย ท่าเหยียดเข่าก่อนการเคลื่อนไหวของข้อเข่า เท่ากับ 41.53 ค่าเฉลี่ยหลังการเคลื่อนไหวของข้อเข่า เท่ากับ 42.17 ค่า t-test เท่ากับ 5.64 ซึ่งการเคลื่อนไหวของข้อต่อส่วนเข่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) มีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนออกแรงบีบมือด้านที่ถนัด เท่ากับ 16.77 ค่าเฉลี่ยหลังออกแรงบีบมือด้านที่ถนัด เท่ากับ 16.87 ค่า t-test เท่ากับ 5.57 ซึ่งค่าเฉลี่ยระดับออกแรงบีบมือเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

Downloads

Download data is not yet available.

References

ไกรวัชร ธีรเนตร. (2531). สมรรถภาพทางกาย (ตอนที่ 2). เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 8(1). 137-150.

จันทร์ชัย เจรียงประเสริฐ. (2559). ปัญหาการทรงตัวในผู้สูงวัย (Balance disorders in elderly). ภาควิชา โสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี. 803 – 822.

จิรายุ ลือเวศย์วนิช ปวร สุภชัยพานิชพงศ์ พงศกรณ์ ทวีศุกลรัตน์ และอำนิษฐ์ โอภาพันธ์. (2555). ความเป็นมาของจังหวะ Cuban Rumba. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564, จาก http://mwit20-room-9-group-2.blogspot.com/.

ฉัตรฤดี สุบรรณ ณ อยุธยา และพรพิไล เติมสินสวัสดิ์. (2562). ผลของการฝึกลีลาศที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ชิระวุฒิ อัจฉริยชีวิน. (2563). ผลการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศที่มีต่อความสมดุลและความเครียดในผู้สูงอายุ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา; มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (ครั้งที่ 18). นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ณัฐชัย พรมโม้ และอาภรณ์ โพธิ์ภา. (2563). ผลของโปรแกรมการฝึกเต้นลีลาศด้วยหลักการฝึกหนักสลับเบาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุเพศหญิง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน; 6(4):

-94.

นพพล ประโมทยกุล อรณิชา ยางงาม ณัฐธยาน์ สัจจาภิบาลธรรม ปุณฑริก แก้วเทพ. (2560). ผลของการฝึกการทรงตัวด้วยการป้อนข้อมูลกลับผ่านทางสายตาโดยใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนที่มีีผลต่อความสามารถในการยืนทรงตวัของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง:การศึกษานำร่อง. วารสารกายภาพบำบัด; 39(1): 20-31.

ปภาวดี สุนทรธัย ฐิติพร ภักดีพิบูลย์ นพวรรณ แสนเจริญสุทธิกุล และรุ่งทิพย์ สินิทธานนท. (2559).

ผลการฝึกออกกำลังกายด้วยเพลงลีลาศจังหวะบีกินต่อสมรรถภาพ การทรงตัวและการเดินในผู้สูงอายุไทยที่มีประวัติหกล้ม. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2559 ; 26(2): 61-66.

พรศิริ พฤกษะศรี วิภาวี คงอินทร์ และปิยะนุช จิตตนูนท์. (2551). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยลีลาศต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหก. สงขลานครนทร์เวชสาร; 26(4):

-337.

ผกาวลี พุ่มสุทัศน ภัทราภรณ์ สมิทธิ์ธีรกุล ศิริพร ฤทธิยา และมยุรี บริบูรณ์. (2559). ความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ บ้านบางแค. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ; 3(3): 37 – 44.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29