วิถีพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
ระบอบประชาธิปไตย, การพัฒนาการเมือง, วิถีพลเมืองบทคัดย่อ
บทความการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวมรวมข้อมูล โดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีจัดชั้นภูมิ และการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 ตัวอย่าง
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.08 รองลงมาเป็นเพศชาย ร้อยละ 32.92 ในด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง/ชุมชนของผู้ปกครอง พบว่า มีจำนวน 110 คน รองลงมา ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรม มีจำนวน 61 คน และเข้าร่วมกิจกรรมสม่ำเสมอ มีจำนวน 29 คน ส่วนวิถีพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในภาพรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเคารพความเสมอภาค มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 รองลงมาคือด้านเคารพสิทธิของผู้อื่น มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 ด้านเคารพกติกา มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 ด้านเคารพความแตกต่างมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 ด้านการรับผิดชอบต่อตนเองและพึ่งตนเองได้ มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 และด้านรับผิดชอบต่อสังคมมีความเห็นด้วยที่สุด มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไปนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลเพียงอย่างเดียว หากแต่ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของกลุ่มคนที่อยู่รวมกัน จำเป็นต้องพัฒนาประชาชนให้มีคุณสมบัติของวิถี “พลเมือง” ที่จะสามารถการพัฒนาประชาธิปไตยก็เพื่อที่จะทำให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้
Downloads
References
Dewanarumitkul, P. (2012). Education to Build Citizens (Civic Education). Bangkok: Nanmeebook.Publication.
Nilsri, S. (2022). Perspectives on Human Rights in Daily Life: In Life Diary “From Womb to Tomb”, by Puey Ungphakorn. Journal of Information, 11(1), 123 -144. [In Thai]
Phowit, S. (2019).Citizenship of Students of Bansomdejchaopraya. Journal of Information, 18(1), 83-91. [In Thai]
Samkoset, W. (2011, March 2) Education to Build Citizenship. Matichon. Retrieved from http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=22720&Key=hotnews
Tantisunthorn, T. (2014). Citizens, Human Rights and Democracy. Bangkok: Educational
Policy Institute under the Education Policy Promotion Foundation.
Theeravekin, L. (2016). Thai Democracy in the 21st Century : Dead Ends, Solutions and Solutions. KingPrajadhipok's Institute. online article https://www.kpi.ac.th/knowledge/book/data.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory Analysis (3rd ed). New York : Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว