การขับร้องและประสาทวิทยาศาสตร์: ความสัมพันธ์ระหว่างความแม่นยำในการขับร้องกับความจำของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ณัฐธัญ อินทร์คง -

คำสำคัญ:

การขับร้อง, การขับร้องและประสาทวิทยาศาสตร์, ความจำของผู้สูงอายุ, ความแม่นยำในการขับร้อง

บทคัดย่อ

การขับร้องและประสาทวิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาระบบการทำงานของสมองส่วนควบคุมกล้ามเนื้อเพื่อการผลิตเสียงขับร้อง สมองขั้นพื้นฐานเพื่อการขับร้องที่แม่นยำประกอบด้วย (1) สมองส่วนการได้ยิน เพื่อฟังเสียงดนตรีและเสียงขับร้องของตนเอง (2) สมองส่วนรับความรู้สึก เพื่อรับรู้สัมผัสอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับร้อง และ (3) สมองส่วนสั่งการ เพื่อควบคุมการใช้อวัยวะเพื่อการเปล่งเสียงได้อย่างอัตโนมัติ เมื่อสมองเหล่านี้ทำงานร่วมกันในการฝึกปฏิบัติขับร้อง จนกระทั่งการขับร้องมีความแม่นยำในคำร้องและทำนอง และผู้ขับร้องสามารถประเมินความกลมกลืนของเสียงขับร้องกับดนตรีได้ด้วยตนเอง นั่นแสดงถึงความสามารถของการเก็บข้อมูลไว้ในสมองส่วนความจำ ซึ่งเกิดจากการสื่อสารข้อมูลระหว่างสมองส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยคลื่นไฟฟ้าสมอง ดังนั้น การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความแม่นยำในการขับร้องกับความจำของผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ต่อยอดจากงานวิจัยที่ผ่านมา 2 ด้าน ได้แก่ งานวิจัยทางด้านดนตรีและจิตวิทยา พบว่าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมการขับร้องมีสุขภาพกายและสุขภาวะทางจิตเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น และงานวิจัยทางด้านดนตรีและประสาทวิทยาศาสตร์ พบว่าการขับร้องเกิดจากการทำงานร่วมกันของสมองที่เกี่ยวข้องซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพของหน่วยความจำเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลในบทความนี้ไม่ใช่แค่องค์ความรู้ที่นำไปสู่ความเข้าใจถึงประโยชน์ของการขับร้องต่อการทำงานของระบบประสาทสมองเท่านั้น แต่ยังเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปต่อยอดหรือประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้คนในสังคมได้ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2565, จากhttps://www.dop.go.th/th/ know/side/1/1/1159.

ณัฐธัญ อินทร์คง และพัชรินทร์ ร่มโพธิ์ชื่น. (2563). ดนตรีเพื่อการพัฒนาสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุในอาเซียนกรณีศึกษา คณะนักร้องประสานเสียงผู้สูงอายุ TSC (Thai Senior Choir). ค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://drive.google.com/file/d/1m00Sx7P9QpkSIMnrd_wRyaVXPjVU27dv/view?usp=sharing.

บ้านหมอ. (2559). การทำงานของสมองและระบบประสาท. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก http://www.idoctor house.com/library/physio-neuro/.

สุทธิพงษ์ เรืองจันทร์, ณัฐธัญ อินทร์คง และณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2563). แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะทางจิตของผู้เข้าร่วมกิจกรรมขับร้องประสานเสียงสำหรับผู้สูงวัย. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2022). บทสรุปสำหรับผู้บริหารการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2565, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาประชากร/ประชากรสูงอายุ/2564/summary_excusive_64.pdf.

Alzheimer’s Disease International. (2021). World Alzheimer Report 2021: Journey throught the diagnosis of dementia. Retrieved July, 17, 2022. https://www.alzint.org/u/World-Alzheimer-Report-2021.pdf.

College of Biological Sciences, University of Minnesota. (n.d.). Neuroscience. Retrieved June, 13, 2022, From https://cbs.umn.edu/academics/majorsminors/neuroscience.

Creech, A., Hallam, S., Varvarigou, M., McQueen, H., and Gaunt, H. (2013). Active music making: a route to enhanced subjective well-being among older people. Perspectives in Public Health, 133 (1), pp.36-43, From DOI: 10.1177/1757913912466950.

Dementia in the Western Pacific. (n.d.). Retrieved June, 18, 2022, From https://www.who. int/westernpacific/health-topics/dementia.

Gridley, H., Astbury, J., Sharples, J., and Aguirre, C. (2011). Benefits of group singing for community mental health and wellbeing: Survey and literature review. Australia: Victorian Health Promotion Foundation (VicHealth).

Grujičić, R. (2022). Globus pallidus. Retrieved July 2, 2022, From https://www.kenhub.com/ en/library/anatomy/globus-pallidus.

Guardian Nurses. (2021). Music and the Brain, Listen Closely. Retrieved March, 20, 2022, From https://www.guardiannurses.com/music-and-the-brain-listen-closely/.

Kleber, Boris A. and Zarate, Jean Mary Z. (2010). The Neuroscience of Singing. The Oxford Handbook of Singing (Forthcoming) Edited by Graham Welch and John Nix. Retrieved Apirl, 11, 2022, From DOI: 10.1093/oxfordhb/9780199660773.013.015.

Knaus, H., Peschl, W., Rehorska, W. and Winter, C. “Musik Erziehung Spezial,”. (n.d.). Leitring: Druckerei Niegelhell, 66 (3), Retrieved June 16, 2020, From https://www.agmoe.at/wp-content/uploads/2014/05/AGMOE_MA_Spezial_2013_ 3.pdf?fbclid=IwAR1M5o8evNO87BIOs_Mzz01GvX8X6kTfI1XoLRRZhXDsZ8olkEryNXoHAQ (German).

Kumar, J. Satheesh and Bhuvaneswari, P. (2012). Analysis of Electroencephalography (EEG) Signals and Its Categorization – A Study. Procedia Engineering, 38, pp. 2525 – 2536, Retrieved July 15, 2022, From https://reader.elsevier.com/reader/sd/pii/S1877705812022114?token=444 2CE7409F6307EFB84C06F30F884DAF7021D266F8F36574CDF1057DC33323D9738A3984917683E25080BB92536FAFC&originRegion=eu-west-1&originCreation=20220715080329.

Petri Laukkana, P. (2007). Uses of Music and Psychological Well-being among the Elderly. Happiness Studies, 8, pp.215—241, From DOI 10.1007/s10902-006-9024-3.

Rehab, F. (2020). Anterior Cingulate Cortex Damage: Signs and Treatments. Retrieved March, 25, 2022. From https://www.flintrehab.com/anterior-cingulate-cortex-damage/.

ROCKMYRUN. (2020). Are You What You Listen To?. Retrieved March, 22, 2022, From https://www.rockmyrun.com/blog/article/are-you-what-you-listen-to/.

Ryff, Caral, D. (2003). Psychological Well-Being Revisited: Advances in the science and practice of eudaimonia. Psychotherapy and psychosomatics, 83(1), pp.10-28.

Synapse: Australia’s brain injury organisation. (2022). Understanding the Nervous System. Retrieved July 28, 2022 From https://synapse.org.au/fact-sheet/understanding-the-nervous-system/.

World Health Organization. (2006). Alzheimer's Disease: Help for Caregivers. Retrieved March 15, 2022, From https://www.who.int/publications/i/item/WHO-MNH-MND-94.8.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29