นวัตกรรมการสอนด้วยทฤษฎีการเคลื่อนไหวร่างกายแบบตะวันตกเพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ในการเรียนรำโนราบทครูสอนรายวิชาการแสดงพื้นเมือง

ผู้แต่ง

  • อานนท์ หวานเพ็ชร์ -

คำสำคัญ:

ส่งเสริมสมรรถนะ, บทครูสอน, การเคลื่อนไหวร่างกายแบบตะวันตก, นวัตกรรมการสอน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้ ผู้เขียนบทความจะนำเสนอเรื่องนวัตกรรมการสอนด้วยทฤษฎีการเคลื่อนไหวร่างกายแบบตะวันตก เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ในการเรียนรำโนราบทครูสอนรายวิชาการแสดงพื้นเมือง มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อคือ 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และองค์ประกอบของการแสดงโนราบทครูสอน 2. เพื่อพัฒนาสมถรรถนะของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขานาฏศิลป์ศึกษา 3. เพื่อสร้างนวัตกรรมการสอนโดยใช้ทฤษฎีการเคลื่อนไหวร่างกายแบบตะวันตก โดยมีระเบียบวิธีดำเนินการที่สำคัญคือการศึกษาข้อมูลทางวิชาการจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ การสังเกตการณ์จากการเรียนการสอน โดยมีการตรวจสอบข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญโดยมีการหาค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานซึ่งมีผลที่ได้ในครั้งนี้คือ เท่ากับ .000 ผลปรากฏว่าท่านผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยกับแบบเรียนที่ผู้เขียนบทความนำทฤษฎีการเคลื่อนไหวแบบตะวันตกมาใช้การเรียนการสอนรำโนรากับบทครูสอนในครั้งนี้

การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการแสดงพื้นเมืองรหัส 200511 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขานาฏศิลป์ศึกษา ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน เป็นเวลาทั้งสิ้น 3 สัปดาห์ ชั่วโมงเรียนสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง 30 นาที รวมเวลาเรียนทั้งหมด 13 ชั่วโมง 30 นาที ผลปรากฏว่านักศึกษามีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแสดงโนราบทครูสอน มีสมาธิในการฝึกปฏิบัติการต่อท่ารำมากยิ่งขึ้น สามารถจดจำท่ารำได้อย่างรวดเร็ว ประการสำคัญคือ ลักษณะของการใช้ศีรษะ แขน มือ ลำตัวทั้งบนและล่าง หรือการใช้ขา เป็นไปตามแบบแผนจารีตของการรำโนรา การใช้ลมหายใจในขณะรำและการใช้พลังสำหรับการรำและการเคลื่อนที่ของผู้รำ การใช้สายตาเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้ผู้เรียนมีการรำที่ดีขึ้น สามารถนำหลักการที่ได้จากการเรียนการสอนโนราบทครูสอนโดยใช้การเคลื่อนไหวแบบตะวันตกนำไปปฏิบัติใช้กับการแสดงอื่น ๆ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความชำนาญในสายวิชาชีพนาฏศิลป์ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

นภสมน นิจรันดร์. (2550). โนรา : สัญญาลักษณ์ พิธีกรรม ตัวตนคนใต้รอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ยุค

โลกาภิวัฒน์. คณะสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์. (2561). โนรา รำพื้นฐาน สายตระกูลขุนอุปถัมภ์นรา (พุ่ม เทวา). สงขลา : สาขา

ศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา.

ภิญโญ จิตต์ธรรม. (2508). โนรา. สงขลา : โรงเรียนฝึกหัดครูสงขลา.

สาโรช นาคะวิโรจน์. (2538). โนรา. สงขลา : ภาควิชาภาษาไทย คณะมุนษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูสงขลา. ม.ป.ป

สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์. (2542). “โนรา” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่มที่ 8. กรุงเทพฯ.

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. (2555). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการรำ พื้นฐานนาฏศิลป์ไทย. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

วิเชียร ณ นคร. (2523). ตำนานและประวัติความเป็นมาของโนห์ราหรือโนรา ในพุ่ม เทวา ที่ระลึกงานเชิดชูเกียรติศิลปินใต้ : ขุนอุปถัมภ์นรากร. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์.

อุดม หนูทอง. (2536) โนรา. สงขลา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้.

โอภาส อิสโม. (2544). ศึกษาพิธีครอบเทริดโนรา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ศิลปะการแสดง. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

รายงานการอ้างอิงออนไลน์

www.kanchanapisek.or.th >nora>music,

www.travel.kapook.com

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29