การรับรู้การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ พฤติกรรมการบริโภค และการรับรู้คุณค่าสินค้าอาหารประเภทหมูปิ้งของผู้บริโภคคนไทย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : สินค้าหมูปิ้ง / กลยุทธ์ทางการตลาด / กลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาดบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ต้องการศึกษาประเด็น การรับรู้การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ พฤติกรรมการบริโภค และการรับรู้คุณค่าสินค้าอาหารประเภทหมูปิ้งของผู้บริโภคคนไทย โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มผู้บริโภคอาหารประเภทหมูปิ้ง จำนวน 40 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ในช่องทางออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง มีการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารประเภทหมูปิ้ง ผ่านสื่อ Facebook Page มากที่สุด มีความถี่ในการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับอาหารประเภทหมูปิ้ง ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มากที่สุด เดือนละ 1-2 ครั้ง มีงบประมาณสำหรับซื้ออาหารประเภทหมูปิ้ง มากที่สุด คือ 50 – 150 บาท และนิยมบริโภคหมูปิ้งสูตรหมักนมสด มากที่สุด แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้เลือกซื้ออาหารประเภทหมูปิ้ง คือ ทำเล /ช่องทางการจัดจำหน่ายเข้าถึงได้ง่าย มากที่สุด
นอกจากนี้ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้คุณค่าสินค้าอาหารประเภทหมูปิ้ง ด้านภาพลักษณ์สินค้า มากที่สุด คือ รับรู้ว่า อาหารประเภท หมูปิ้ง เป็นอาหารที่ได้รับการยอมรับ มีการนำมาจัดเลี้ยงในโรงแรมและงานพิธีการต่างๆ และ ด้านสินค้า พบว่า มากที่สุดคือ กลุ่มตัวอย่าง รับรู้ว่า อาหารประเภทหมูปิ้งเป็นอาหารสตรีทฟู๊ด (Street Food) ที่เป็นที่นิยมของคนไทย
Downloads
References
เอกสารอ้างอิง
บุญอนันต์ พินัยทรัพย์ และพลาพรรณ คําพรรณ์. (2549). โครงการศึกษาชุมชนเข้มแข็งกระบวนการสร้างสรรค์ คืนพลังสู่ชุมชน: หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพิพัฒน์บริหารศาสตร์.
วันทนีย์ นําชัยศรีค้ า. (2550). ศึกษาและวิจัยเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารจัดการของสินค้า OTOP กลุ่มชุมชน พื้นที่อำเภอธัญบุรีจังหวัดปทุมธานี.กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
วิทยา เมฆขํา. (2553). ศักยภาพในการนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ใน จังหวัดนนทบุรี.Journal of Community Development Research, 3(2), หน้ า 96-104.
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2553). การประชาสัมพันธ์ ฉบับสมบูรณ์ . กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2539). การบริหารการโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา .
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว