ปัจจัยเชิงสาเหตุการจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ในอนาคต

ผู้แต่ง

  • อัครนันท์ อัศวรัชต์โภคิน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • คณกร สว่างเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • นัยนพัศ อินจวงจิรกิตต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ปัจจัยเชิงสาเหตุการจัดการ, เทคโนโลยีดิจิทัล, ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคในการจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ และ 3) เพื่อเสนอแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุการจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ในอนาคต โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mix Method) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เจ้าของบริษัทยานยนต์และผู้บริหารบริษัทยานยนต์ จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 1) เจ้าของบริษัทยานยนต์ จำนวน 5 คน 2) ผู้บริหารบริษัทยานยนต์ จำนวน 5 คน 3) เจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม ผู้บริหารสมาคม สถาบันที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 5 คน และ  4) นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน

          ผลการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคในปัจจัยเชิงสาเหตุการจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ในปัจจุบันนับจากที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายมุ่งเน้นพัฒนาให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 โดยเป็นวาระแห่งชาติที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและมีการยกระดับคุณภาพและสร้างมาตรฐานการทำงานไปสู่ระดับมาตรฐานสากลด้วยการนำเอานวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจภายใต้การประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการจัดการในอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์

          ผลการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์และ 3) เพื่อเสนอแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุการจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ในอนาคต โดยพบว่า แบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุการจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งระบบ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1)  ด้านผู้นำเชิงกลยุทธ์ 2) ด้านการปรับเปลี่ยนองค์การ 3) ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลและ 4) ปัจจัยเชิงสาเหตุการจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ในอนาคต

          สำหรับแบบจำลองของปัจจัยเชิงสาเหตุการจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ในอนาคตโดยเรียงลำดับความสำคัญขององค์ประกอบได้ ดังต่อไปนี้

  1. 1. ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลโดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.438 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบได้แก่ 1) นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านผลิตภัณฑ์และบริการ มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.687 2) นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านกระบวนการ มีค่าอิทธิพลเท่ากับ627 และ 3) นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการ มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.613
  2. ด้านผู้นำเชิงกลยุทธ์ โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.398 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แบบจำลองภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.690 2) แบบจำลองภาวะผู้นำการเปลี่ยนสภาพ มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.655 และ 3) แบบจำลองภาวะผู้นำแบบสร้างสรรค์ มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.709
  3. 3. ด้านการปรับเปลี่ยนองค์การ โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ291 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบได้แก่ 1) ด้านนโยบาย มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.702 2) ด้านโครงสร้างองค์การ มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.710 และ 3) ด้านทรัพยากรบุคคล มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.698

          ในด้านปัจจัยเชิงสาเหตุการจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ในอนาคตประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่

  1. 1. ด้านวิจัย พัฒนาและสร้างนวัตกรรมในอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ในอนาคต โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.788
  2. 2. ด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ในอนาคต โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.795
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องและสนับสนุนในอุตสาหกรรม ผลิตยานยนต์ในอนาคตโดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.741
  4. ด้านผลประกอบการ โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.737

          ปัจจัยเชิงสาเหตุการจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ในอนาคตจะคำนึงถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับเป้าหมายในด้านการผลิตและการตลาดอย่างชัดเจน และสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานที่เหมาะสม เน้นการเพิ่มมูลค่าและความต้องการของตลาดที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่กำหนดเป้าหมายในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อ ให้เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงและเกิดความยั่งยืนต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

Books:

Automotive Information Center. (2021). Automotive Industry Conditions 2022. Bangkok: Publishing House Hypernet.

Automotive Institute. (2021). Automotive Industry Development Plan 2016-2022. Bangkok: Publishing House , R.S center co. ltd

Association of Automotive Engineering. (2019). The real potential of the automotive industry. Bangkok: Association of Automotive Engineering.

Atkinson R. D. (2018). Which Nations really lead in industrial robot adoption Information Technology & Innovation Foundation. London: Rowman &

Littlefield.

Articles from Conference Proceedings (published):

Acemoglu D. and Restrepo P. (2017). Robots and process: the case of computer integrated manufacturing. Paper Series 23285, Cambridge, MA., NBER.

Butollo F., Jürgens U. and Krzywdzinski M. (2019). From lean production to industrie 4.0: more autonomy for employees, Digitalization in Industry:

between domination and emancipation. Springer, 61-80.

Collins, Graham (2018). Founder of Information Theory. Computer Architecture. The University of Chicago.

Chiacchio F., Petropoulos G. and Pichler D. (2018). The impact of industrial robots on EU and capital in the digital age, Work in the digital age: challenges of

the fourth industrial revolution. London: Rowman & Littlefield.

Drahokoupil, J. (2020). The challenge of digital transformation in the automotive industry. Brussels: Publisher: ETUI aisbl, Brussels.

Kagermann H. (2015). Change through digitization: value creation in the age of the industry 4.0, Management of permanent change. Wiesbaden, Springer Fachmedien, 23-45.

Powell, M. (2014). Information management for development organizations. 2 nd

edition, Oxfam Development Guidelines Series. Oxford: Oxfam.Electronic Sources:

Reilly, E.D. (2014). Milestones in Computer Science and Information Technology. Greenwood Publishing Group.

Tedre, M. (2011). Computing as a Science: A Survey of Competing Viewpoints. Minds

and Machines. 21 (3): 361–387.

Winkelhake, U. (2018). The Digital Transformation of the Automotive Industry:

Catalysts, Roadmap, Practice Softcover reprint of the original 1sted. Edition.Germany: Springer Publishe

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29