การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำเสนอข่าวผ่านสื่อออนไลน์
คำสำคัญ:
สื่อออนไลน์, การนำเสนอข่าว, รูปแบบการมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและประเมินการมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำเสนอข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ และ 2) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำเสนอข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานภาพทั่วไปของการนำเสนอข่าวของประชาชนผ่านสื่อออนไลน์ ระยะที่ 2 ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำเสนอข่าวผ่านสื่อออนไลน์ ระยะที่ 3 การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำเสนอข่าวผ่านสื่อออนไลน์ และระยะที่ 4 การสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำเสนอข่าวผ่านสื่อออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย จำนวน 9 คน คือ 1) นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ที่มีประสบการณ์ด้านการสอน ไม่น้อยกว่า 10 ปี จำนวน 3 คน 2) นักวิชาชีพที่มีประสบการณ์ด้านข่าว ไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือ ผู้ได้รับรางวัลในระดับชาติด้านข่าว จำนวน 3 คน และ 3) นักข่าวพลเมือง หรือประชาชนทั่วไป ที่ได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านข่าวจากองค์กรสื่อ หรือผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องผ่านสื่อออนไลน์ ไม่น้อยกว่า 10 ปี จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความสอดคล้องของแบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินความสอดคล้องของข้อคำถามในการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำเสนอข่าวผ่านสื่อออนไลน์ และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำเสนอข่าวผ่านสื่อออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เพื่อวิเคราะห์และประเมินผลในการสร้างเครื่องมือวิจัย
ผลการวิจัย มีดังนี้ 1.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำเสนอข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ พบว่า ประชาชนมีกระบวนการในการนำเสนอข่าวผ่านสื่อออนไลน์ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการคัดเลือกหัวข้อข่าว 2) ขั้นการรวบรวมข้อมูลและกำหนดเนื้อหาข่าวสาร และ 3) ขั้นการเผยแพร่ข่าวสาร โดยมีประเภทของการมีส่วนร่วมของประชาชน 4 ประเภท ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในระดับชุมชน 2) การมีส่วนร่วมในฐานะผู้นำชุมชน 3) การมีส่วนร่วมในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ 4) การมีส่วนร่วมในฐานะต่างพื้นที่ 2. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำเสนอข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ (5C Model of People’s Participation) ได้แก่ 1) C - Communication Skills ทักษะด้านการสื่อสาร 2) C - Co-operation ความร่วมมือ 3) C - Connection การเชื่อมโยงเครือข่าย 4) C - Check การตรวจสอบ และ 5) C - Change การเปลี่ยนแปลง
Downloads
References
นิลมณี พิทักษ์. (2551). รูปแบบการส่งเสริมศักยภาพผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา. งานวิจัยสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช. (2549). การรายงานข่าวชั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์
เมธาวี แก้วสนิท. (2552). สื่ออินเตอร์เน็ต ภัยเงียบต่อการศึกษาไทย. มติชนรายวัน 15 พฤศจิกายน หน้า 7.
ศลิษา คล้ายทอง. (2557). ความตระหนักเชิงจริยธรรมของผู้สื่อข่าวในการนำเสนอข่าวผ่านเครือข่าย
สังคมออนไลน์ : ทวิตเตอร์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การใช้ ICT ของประชาชนในประเทศไทย ปี 2565. สืบค้นเมื่อ 13
สิงหาคม 2565 จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2545). การสื่อข่าว : วิทยุ–โทรทัศน์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือสถาบัน
ราชภัฏสวนสุนันทา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว