การบูรณาการการใช้ดนตรีสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบการดำเนินการชั้นเรียนแบบกิจวัตร

ผู้แต่ง

คำสำคัญ:

การบูรณาการเรียนรู้, ดนตรีและภาษา, เด็กก่อนวัยเรียน

บทคัดย่อ

กิจกรรมดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นกิจกรรมที่สามารถบูรณาการกับศาสตร์อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี รวมถึงการใช้ดนตรีบูรณาการกับภาษาอังกฤษ ผลวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางดนตรีและทางด้านภาษาในปัจจุบัน เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าสามารถส่งเสริมพัฒนาการซึ่งกันและกันได้ โดยรูปแบบการสอนดนตรีและภาษาอังกฤษสำหรับเด็กควรมีความสอดคล้องกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก ด้วยการสร้างรูปแบบกิจกรรมในชั้นเรียนให้เป็นกิจวัตรประจำวัน ประกอบด้วย กิจกรรมทักทายก่อนเริ่มชั้นเรียน การใช้นิทานดำเนินเนื้อหาหลักในการสอนและ กิจกรรมอำลาก่อนจบชั้นเรียน โดยใช้นิทานเป็นเนื้อหาหลักในการสอนภาษาด้วยการสอดแทรกกิจกรรมตามองค์ประกอบทางดนตรีในรูปแบบต่าง ๆ ที่เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง ผ่านทักษะการฟัง การร้อง การเล่นเครื่องประกอบจังหวะ และการเคลื่อนไหว หรือที่เรียกว่า การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ซึ่งส่งผลให้gfHDสามารถจดจำเนื้อหาได้ยาวนานกว่าการเรียนรู้แบบไม่มีส่วนร่วม (Passive Learning)

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กระทรวงศึกษาธิการ: กรุงเทพ.

กรมสุขภาพจิต. (2563). นาฬิกาชีวิต (Body Clock). สืบค้น 19 กรกฎาคม 2565, จาก https://dmh.go.th/ news/view.asp?id=2275

ณัชชา เตชะอาภรณ์ชัย. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็ก ปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจจังหวะ. (ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชชา เตชะอาภรณ์ชัย. (2561). แนวโน้มดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยของประเทศไทยในทศวรรษหน้า. วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม, 17(2), 151-166.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา. หลักการและสาระสำคัญ กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

โรงเรียนอนุบาลช้างน้อย. (2555). หลักสูตร ปรัชญา และแนวคิด. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.anubanchangnoi.com/course.html

อุดม เพชรสังหาร. พัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วยกิจกรรมดนตรี. สืบค้น 19 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.mbrt-drumcircle.com/media

Laurel, J.T., Ce ́line, M., David, G., Elaine, W., & Andrea, U. (2012). Becoming musically enculturated: effects of music classes for infants on brain and behavior. New York Academy of Sciences, Issue: The Neurosciences and Music IV: Learning and Memory, 129-138.

Malatras, W.M., Israel, C.A., Sokoloski, L.K. & Ryan, J., (2016), First things first: Family activities and routines, time management and attention. Journal of Applied Developmental Psychology, 47, 23-29. doi: 10.1016/j.appdev.2016.09.006

Mindell, A.J., Williamson, A.A., (2018) Benefits of a bedtime routine in young children: Sleep, development, and beyond. Sleep Med Reviews, 40, 93-108. doi: 10.1016/j.smrv.2017.10.007

Techaaphonchai, N. (2020). Model of music activities to enhance brain development of children from birth to three years (Dissertation). Mahidol University.

The National Association for Music Education. (2014). Core Music standards (PreK-8). Retrieved June 8, 2019, from https://nafme.org/core-music-standards/

Webb, A. R., Heller, H. T., Benson, C. B., & Lahav, A. (2015). Mother’s voice and heartbeat sounds elicit auditory plasticity in the human brain before full gestation. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America, 112,(10), 3152–3157.

Zhao C. T., & Kuhl, K. P. (2016). Musical intervention enhances infants’ neural processing of temporal structure in music and speech. PNAS, 113(19), 5212–5217.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29