การศึกษาความเป็นไปได้การสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ณ ตำบลสระยายโสม
คำสำคัญ:
Biomass, Biomass Power Plantบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ในตำบลสระยายโสม โดยศึกษาปัจจัยด้านชนิด ปริมาณ และคุณสมบัติของชีวมวล เริ่มจากลงพื้นที่สำรวจข้อมูลต่างๆ ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานของตำบล ข้อมูลการเพาะปลูกพืชและจำนวนพื้นที่เพาะปลูก ปริมาณผลผลิตต่อไร และข้อมูลชีวมวล ในตำบลสระยายโสม เพื่อเลือกชนิดและคำนวนปริมาณของชีวมวล จากนั้นนำชีวมวลมาวิเคราะห์คุณสมบัติด้านพลังงานด้วยการวิเคราะห์แบบประมาณ การวิเคราะห์แบบแยกธาตุ และการวิเคราะห์ค่าความร้อน สุดท้ายนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการประเมินขนาดโรงไฟฟ้าชีวมวลที่เหมาะสม ผลจากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลพบว่า ชีวมวลที่เหมาะเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตโรงไฟฟ้าได้แก่ แกลบ ฟางข้าว ใบอ้อย และชานอ้อย เนื่องจากมีต้นทุนต่ำและง่ายต่อการเก็บรวบรวมเมื่อเทียบกับชีวมวลชนิดอื่น จากการวิเคราะห์คุณสมบัติด้านพลังงานพบว่า ชีวมวลทั้งสี่ชนิดมีความเหมาะสมในการนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า โดยชานอ้อยมีคุณสมบัติโดยรวมดีที่สุดเนื่องจาก มีปริมาณสารระเหย คาร์บอนคงที่ และค่าความร้อนสูงที่สุด (ร้อยละ 83.83, ร้อยละ 11.00 และ 18.61 เมกะจูล/กิโลกรัม ตามลำดับ) และมีปริมาณเถ้าต่ำที่สุด (ร้อยละ 5.17) ในขณะที่แกลบมีคุณสมบัติโดยรวมต่ำที่สุดและมีปริมาณเถ้ามากที่สุด (ร้อยละ 31.18) เมื่อนำมาคำนวณขนาดหาโรงไฟฟ้าที่เหมาะสม พบว่าโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very small power plant, VSPP) ที่มีกำลังการผลิตไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ เป็นขนาดที่เหมาะสม เนื่องจากโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กมาก ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ ในด้านการรับซื้อไฟฟ้า แนวทางการวิจัยและพัฒนา และการออกกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างโรงไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น มูลค่าทางเศรษฐกิจ การยอมรับในท้องถิ่น และความสามารถในการรวบรวม จัดเก็บ และขนส่งชีวมวล
Downloads
References
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2556). ศักยภาพชีวมวลในประเทศไทย. สืบค้น 15/8/2564. http://biomass.dede.go.th/biomass_web/index.html
กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2563). โรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานราก ร่วมใจสร้างชาติ พลังงานยั่งยืน. สืบค้น 15/8/2564. https://online.fliphtml5.com/vsrsk/pcfu/#p=1
กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2559). คู่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัทเอเบิล คอนซัลแตนท์จำกัด.
เทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง. (2564). ข้อมูลเทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง อำเภออู่ทอง สุพรรณบุรี. สืบค้น 13/7/64. http://www.khunpadpeng.go.th/main.php?page=pageinfo&pagename=general
เทศบาลตำบลสระยายโสม. (2564). ข้อมูลเทศบาลตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง สุพรรณบุรี. สืบค้น 13/7/64. http://srayaisom.go.th/data_161
ธัญญพัทธ์ ทิพย์ศุภวงศ์ และคนอื่นๆ. (2563). การศึกษาศักยภาพชีวมวลสําหรับผลิตกระแสไฟฟ้า อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง. สักทอง : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 7(2)
นคร วรสุวรรณรักษ์. (2558, 25 สิงหาคม). ประเภทและคุณสมบัติของชีวมวล. ใน เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ“เทคโนโลยีการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงจากชีวมวลสาหรับภาคอุตสาหกรรม”. บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
แมกซ์สตีล. (2565). คุณสมบัติธาตุในเหล็ก. สืบค้น 13/7/64. https://www.maxsteelthai.com/คุณสมบัติธาตุในเหล็ก-elements-composit/
เยาวธีร อัชวังกูล. (2553, 17 มิถุนายน). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยี การผลิตแก๊สเชื้อเพลิงชีวมวล. ในเอกสารประกอบการอบรมความรู้เรื่องการผลิตแก๊สชีวภาพและเทคโนโลยี Gasifier. สำนักวิจัยค้นคว้าพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน.
ศูนย์บริการข้อมูลโครงการศึกษา วิจัย ต้นแบบวิสาหกิจชุมชนพลังงานสีเขียวจากพืชพลังงาน. (2556). คู่มือการลงทุนโรงไฟฟ้าแก๊สชีวภาพจากพืชพลังงาน. (พิมพ์ครั้งที่1). หจก.มิตรภาพการพิมพ์
สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี. (2564). โรงไฟฟ้าชุมชนนำร่อง 43 แห่ง โอกาสสร้างรายได้ ของชุมชน. สืบค้น 15/8/2564. https://www.pmdu.go.th/โรงไฟฟ้าชุมชนนำร่อง-43-แห/
สำนักงานสติถิแห่งชาติ. (2563). การใช้/กำลังติดตั้งของระบบ และการผลิตของระบบ พ.ศ. 2554 – 2563. สืบค้น 15/7/64. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/13.aspx
สำนักนโยบายและแผนพลังงาน. (2559). สถานะ VSPP. สืบค้น 13/7/59. http://www.eppo.go.th/index.php/th/electricity/private/vspp
อริศรา เหล็กคํา. (2561, 8 มิถุนายน). พลังงานชีวมวลในประเทศไทย นโยบาย กฎหมาย และการเปลี่ยนผ่าน. ใน การประชุมวิชาการสาขานิติศาสตร์ระดับชาติ หัวข้อ “ระบบกฎหมายไทย : ปฏิรูป / เปลี่ยนผ่าน/ ปฏิสังขรณ์”, ครั้งที่1. คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว