พฤติกรรมการบริโภคของผู้ที่สนใจซื้อลูกชิ้นเห็ดอกไก่ (ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ) ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วัศยา หวังพลายเจริญสุข
  • อาภา วรรณฉวี
  • ธัชพงศ์ เศรษฐบุตร
  • เดชา พนาวรกุล
  • เกษรา โพธิ์เย็น
  • ณัฐมน ตั้งพานทอง
  • กมลวรรณ ทองฤทธิ์ -

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภค, ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ, การตัดสินใจซื้อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการบริโภคของผู้ที่สนใจซื้อลูกชิ้นเห็ดอกไก่ และ (2) เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อลูกชิ้นเห็ดอกไก่ (ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ) จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่สนใจซื้อลูกชิ้นเห็ดอกไก่ จำนวน 282 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีวัตถุประสงค์ในการซื้อลูกชิ้นเพื่อบริโภคเอง ร้อยละ 69.4 ส่วนมากซื้อไปรับประทานที่บ้าน ร้อยละ 76.2 โดยนิยมรับประทานคนเดียว ร้อยละ 41.8 มักรับประทานเป็นมื้อเย็น ร้อยละ 52.5 ในวันหยุด ร้อยละ 34.0 ซึ่งมีความถี่โดยเฉลี่ยในการซื้อลูกชิ้นอยู่ที่ สัปดาห์ละครั้ง ร้อยละ 42.2  สำหรับจำนวนเงินที่นิยมซื้อลูกชิ้นต่อครั้ง คือ 31 - 50 บาท ร้อยละ 37.9 โดยตนเองเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด ร้อยละ 83.7 นอกจากนี้ยังพบว่า สถานที่ที่นิยมซื้อ ได้แก่ ตลาดสด/ ตลาดนัด/ แผงลอย/ Street food ร้อยละ 31.9 ซึ่งนิยมซื้อเป็นไม้ ร้อยละ 51.3 และหากมีช่องทางการสั่งซื้อลูกชิ้นทางออนไลน์จะเลือกใช้ช่องทาง Food Delivery เช่น Grab food, Lineman มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.3 (2) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ด้านอายุ และอาชีพ/ตำแหน่ง ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจซื้อไม่แตกต่างกัน ส่วนรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจซื้อลูกชิ้นเห็ดอกไก่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลที่ได้จากการวิจัยนี้ ผู้ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอาหารหรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอื่น ๆ สามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยไปต่อยอด และวางแผนในการดำเนินธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและพัฒนาการตลาดต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กันต์วิรุฬห์ พลูปราชญ์. (2563). พฤติกรรมและความต้องการทางด้านผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(2), 307 - 322.

ชุตินันท์โรจน์ เพ็ญเพียร และวรัญญา ติโลกะวิชัย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ (น.1530 – 1539). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฐนรี ชูถม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ (คลีนฟู้ดส์) ของผู้บริโภคในเขตนิคมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดลนัสม์ โพธิ์ฉาย. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลไม้พรีเมียมกรณีศึกษาผู้บริโภคในอําเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิพวรรณ อารียวงศ์สถิต และกฤษฎา มูฮัมหมัด. (2563). พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านขายยาของผู้บริโภคในจังหวัดนครนายก. ใน การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 (น. 928 – 942). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

เทพนารี กตัญญู. (2551). กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจลูกชิ้นในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. (ปัญหาพิเศษปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

นาเดียร์ อัสมะแอ และนรารัก บุญญานาม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนผ่านสื่อออนไลน์ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 4 (น.2395 – 2414). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ปณิตา บัณฑิต. (2562). การตัดสินใจเลือกซื้ออาหารคลีนของพนักงานที่ทำงานที่อาคารสินสาทรทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร. (การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปภาดา สุกาญจนาภรณ์กุล. (2559). แผนธุรกิจ เห็ดอบกรอบพรีเมี่ยม. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิชมณี ยืนยงพุทธกาล และกุลยา ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์. (2559). การศึกษาปริมาณสารพฤกษาเคมีที่สำคัญต่อสุขภาพจากเส้นใยของเห็ดที่เพาะเชิงการค้าและการนำเส้นใยเห็ดผงไปใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริลดา ไกรลมสม. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เจอร์กี้ไก่รสกะเพรา. วารสารเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 33(2), 267 – 275.

สถาบันอาหารกระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). “อาหารเพื่อสุขภาพ” โอกาสและการเติบโตที่น่าจับตามอง. ค้นเมื่อ 7 กันยายน 2565, จาก http://fic.nfi.or.th/foodsectordatabankNewsdetail.php?smid=1559.

สถิตย์พงษ์ มั่นหลาและคณะ. (2559). การผลิตไส้อั่วเห็ดนางฟ้าภูฏานเสริมใยเปลือกส้มโอ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(2), 103 - 114.

สวนดุสิตโพล. (2563). สวนดุสิตโพล: อาหารการกินของคนไทย ปี 2020. ค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.ryt9.com/s/sdp/3181964.

สวนนท์ ศุภมานพ. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสนใจในเรื่องสุขภาพกับพฤติกรรมการบริโภคสินค้าออร์แกนิคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. (สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรป. (2564). COVID-19 ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภค และแนวโน้มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในยุโรปเปลี่ยนไป. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก https://www.fisheries.go.th/quality/EU/9-2564%20COVID-19%20และแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารและเกษตร.pdf.

อรรถสิทธิ์ สกลคณาพงษ์ และณกมล จันทร์สม. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2559 (RSU National Research Conference 2016) (น. 1169 – 1176). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

Assael, H. (1998). Consumer behavior and marketing action. Ohio: South Western.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Schiffman, Leon G; & Kanuk, Leslie Lazar. (1994). Consumer Behavior. 5th ed. New Jersey: Prentice-Hall.

Scott, M.L. (1956). Composition of turkey meat. Journal of the American Dietetic Assocication, 32(10), 941 - 944.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30