การพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้ประโยชน์ จากพืชสมุนไพรพื้นบ้านในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา ทองเอม
  • ธนัชพร หาได้
  • ธีรศิลป์ กันธา
  • อังคณา ตาเสนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

พืชสมุนไพรพื้นบ้าน, สวนสมุนไพร, แหล่งเรียนรู้, สื่อการเรียนรู้, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความหลากหลายและลักษณะของการใช้ประโยชน์จากของพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก  2) เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรพื้นบ้าน และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้พืชสมุนไพรพื้นบ้าน การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ

          ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุ ปราชญ์ชาวบ้าน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้ใช้ประโยชน์จากสมุนไพรและเป็นสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน จำนวน 12 ชนิด ได้แก่ 1) เจตมูลเพลิงแดง  2) เจตมูลเพลิงขาว  3) ม่านพระอินทร์  4) ช้างย่ำเปอะ  5) ขลู่  6) คนทีสอ  7) ไพล  8) ใบสาบเสือ  9) หญ้าตดหมา  10) พลู  11) เถาเอ็นอ่อน  และ12) หญ้าเอ็นยืด พืชสมุนไพรที่นำมาใช้ประโยชน์เป็นใบ ราก ต้น และผล ส่วนใหญ่จะนำไปต้มดื่มน้ำและคั้นเอาน้ำดื่ม ลักษณะการขยายพันธุ์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่  สมุนไพรที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ สมุนไพรที่ขยายพันธุ์โดยการปักชำ และสมุนไพรที่ขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้าหรือหัว

          การพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรพื้นบ้าน พบว่า ควรดำเนินการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบของสวนสมุนไพร โดยใช้พื้นที่ของศูนย์การเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด

          ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้พืชสมุนไพรพื้นบ้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบสวนสมุนไพร และสื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.55 )

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรภาครัฐ-เอกชน. (2559). แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2560-2664. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

กัญญารัตน์ เป็งงำเมือง, ธีรนาฎ จันสุตะ, โสมรัศมี แสงเดช และพรกรัณย์ สมชาว. (2562, กรกฎาคม – ธันวาคม). การสำรวจการใช้สมุนไพรในชุมชน ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(2), 150-165.

ชูศักดิ์ โพกะชา และนิรุทธ์ วัฒโนภาส. (2563, กรกฎาคม - ธันวาคม). แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาสมุนไพรตามศาสตร์พระราชาของวัดกลางคูเวียงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 21(2), 269-282.

ธนัชพร หาได้ และมัลลิกา ทองเอม. (2564). รูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืนสำหรับผู้สูงอายุ ในตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. (รายงานผลการวิจัย). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ธนิษฐา กาใจ. 14 มิถุนายน 2565 : สัมภาษณ์.

ประกาย ชาญณรงค์. 21 กุมภาพันธ์ 2565 : สัมภาษณ์.

ผมหอม เชิดโกทา. (2563, กันยายน – ธันวาคม). สภาพปัญหาการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านของชุมชนตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(3) 106-114.

รอฮานี เจะแม, วิไลวัลย์ แก้วตาทิพย์ และวิชิต เรืองแป้น. (2558, ตุลาคม - ธันวาคม). การใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรของประชาชนที่อาศัยรอบพื้นที่เขาปกโย๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 21(4). 714-728.

วิญญู ไทยอู่. 3 กุมภาพันธ์2565 : สัมภาษณ์.

ส่วน ศฤงฆ์อนันต์. 4 กุมภาพันธ์ 2565 : สัมภาษณ์.

สังข์ ปันเขียว. 21 กุมภาพันธ์ 2565 : สัมภาษณ์.

สามารถ ใจเตี้ย และพัชรี วงศ์ฝั้น. (2560, มกราคม – มิถุนายน). ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรพื้นบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(1), 13-22.

สุนทรี ต๊ะสุ. 21 กุมภาพันธ์ 2565 : สัมภาษณ์.

อินสรณ์ วุฒิธรรมากรณ์. 8 กุมภาพันธ์ 2565 : สัมภาษณ์.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30