การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก กับประเด็นการระบาดโรคโควิด 19 ในประเทศไทย: มุมมองผู้รับสาร
คำสำคัญ:
การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์; การแพทย์แผนไทย; พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร; โควิด 19บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร และการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของประชากรไทยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยฯ กับประเด็นการระบาดโรคโควิด 19 ในประเทศไทย ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่เคยเปิดรับสื่อของกรมการแพทย์แผนไทยฯ จำนวน 2,400 คน จาก 6 ภาค ทั่วประเทศ
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยการเปิดรับข่าวสารด้านเนื้อหาเพื่อการดูแลสุขภาพตนเองและคนใกล้ชิดจากโควิด 19 โดยทั่วไปผ่านสื่อออนไลน์มากที่สุด (x̄ 3.95) การเปิดรับข่าวสารทางสื่อออนไลน์ของกรมการแพทย์แผนไทยฯ อยู่ในระดับมากผ่านเฟชบุ๊ก (x̄ 3.78) การเปิดรับข่าวสารการดูแลสุขภาพจากสื่อออนไลน์ทั่วไปอยู่ในระดับมากโดยผ่านกูเกิล (x̄ 3.90) การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ด้านการแพทย์แผนไทยฯ กับประเด็นการระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทยอยู่ในระดับมาก (x̄ 3.91) เป็นระดับที่ 3 ด้านการวิเคราะห์และวิพากษ์สื่อมากที่สุด (x̄ 4.00) ผลการทดสอบสมมติฐาน 1) เพศที่แตกต่างมีการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ฯ ไม่แตกต่างกัน (t-test = 1.039, Sig. = .150) 2) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ฯ กับการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ฯ มีความสัมพันธ์ทางบวก ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = .756)
Downloads
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565). เกณฑ์แบ่งประชากรไทย ของราชบัณฑิตยสถาน. สืบค้น
เมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก https://shorturl.asia/oISOV
กาญจนา แก้วเทพ ขนิษฐา นิลผึ้ง และรัตติกาล เจนจัด. (2556). สื่อสาร อาหาร สุขภาพ. กรุงเทพฯ:
ภาพพิมพ์. น.256-.257.
นันทิกา หนูสม. (2560). ลักษณะของข่าวปลอมในประเทศไทยและระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอมบน
เฟซบุ๊กของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานคร. หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
นันทิยา ดวงภุมเมศ และนิธิดา แสงสิงแก้ว (2563). การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล: “หลักการ”
และ “เครื่องมือ” เพื่อเสริม สร้างเด็กและเยาวชนพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ ปีที่ 24 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม 2563). หน้า 54-67.
นำชัย ชีววิวรรธน์. (2563). COVID-19 โรคระบาดศตวรรษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.หน้า 105-202.
พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2561). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ (สทมส.) ปีที่ 24 ฉบับพิเศษ มกราคม - เมษายน 2561. หน้า 22-30.
พีระ จิรโสภณ และคณะ. (2559). รายงานผลการวิจัยเรื่อง “ความรู้เท่าทันการสื่อสารยุคดิจิทัลกับบทบาท
ในการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการสื่อสารในสังคมไทย”. ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยธุรกิจ
เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์. (2540). การวิเคราะห์ระดับมีเดียลิตเตอเรซี ของนักศกึษาระดับอุดมศึกษาใน
ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Agresti, A. (1997). Statistical methods for the social sciences. (3rd ed.). Upper Saddle River, N.J.:
Prentice Hall.
Characteristic of generation x, Generation y, Generation z, https://www.marketing91.com,
Retrieve May 15, 2022
Coolidge, F. L. (2006). Statistics: A gentle introduction (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.
Guo, L., Gu, L., Peng, Y. et al.. Online media exposure and weight and fitness management app
use correlate with disordered eating symptoms: evidence from the mainland of China. Journal of Eating Disorders. 10, 58 (2022). https://doi.org/10.1186/s40337-022-00577-y), pp.1-
Taro Yamane. (1970). Statistic: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว