การแสดง ณ ศาลาเฉลิมกรุง

ผู้แต่ง

  • จิรพัทธ์ พานพุด -

คำสำคัญ:

การแสดง, ศาลาเฉลิมกรุง

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องการแสดง ณ ศาลาเฉลิมกรุง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการแสดง ณ ศาลาเฉลิมกรุง มีการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ รวมไปถึงการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญวงการนาฏยศิลป์ไทย ผลการวิจัยพบว่า ศาลาเฉลิมกรุงเป็นถาวรวัตถุที่มีอายุ 89 ปี เดิมเคยเป็นโรงภาพยนตร์ที่มีความทันสมัยมาก เมื่อเข้ายุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องหยุดฉายหนัง และมีการนำละครเวทีขึ้นมาแสดงแทนชั่วคราว เมื่อสงครามจบลงหนังจึงกลับมาฉายดังเดิม ต่อมาในปี 2535 มีการปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ เป็นการบูรณะส่วนโครงสร้างสถาปัตยกรรม เวที ที่นั่งของผู้ชม และเทคนิคต่าง ๆ พร้อมการเปิดตัวอีกครั้งในฐานะเฉลิมกรุงรอยัลเธียเตอร์ในปี 2536 มีการแสดงคอนเสิร์ต เป็นเวทีประกาศรางวัล จัดการประกวดต่าง ๆ รวมไปถึงการจัดการแสดง โขนจินตนฤมิตร ต่อมาได้จัดการแสดงโขนศาลาเฉลิมกรุงขึ้น โดยในแต่ละปีจะจัดเนื่องในวโรกาสที่สำคัญ อาทิ เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เป็นต้น และในปัจจุบันได้จัดเป็นการแสดงโขนรอบนักท่องเที่ยว

ผลการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า การแสดง ณ ศาลาเฉลิมกรุง แบ่งออกเป็น 5 ยุค ดังนี้ 1) ภาพยนตร์ก่อนสงคราม 2) ละครเวทีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  3) ภาพยนตร์หลังสงคราม  4) โรงมหรสพระดับสากล 5) โขนศาลาเฉลิมกรุง จากการศึกษาของผู้วิจัยเห็นได้ชัดว่า แต่ละยุคมีทั้งการแสดงที่เหมือน และแตกต่างกัน อย่างเช่นยุคที่ 1 และ 3 จะมีการฉายภาพยนตร์เหมือนกัน และต่างกันอย่างยุคที่ 2 แสดงละครเวที ส่วนยุคที่ 5 แสดงโขน ปัจจัยแห่งการเปลี่ยนอันมีนัยสำคัญ กล่าวคือ  การเกิดสงคราม และความนิยมสิ่งบันเทิงใหม่ ที่ส่งผลกระทบต่อการแสดงโดยตรง แม้ว่าศาลาเฉลิมกรุงจะมีการปรับเปลี่ยนการแสดงอยู่ตลอดนั้นเพราะว่าต้องการที่จะให้การแสดงที่จัดอยู่ในการดูแลของศาลาเฉลิมกรุงมีความเท่าทันต่อความนิยมในแต่ละยุคสมัย และอีกประเด็นหนึ่งนั้นก็คือ เพื่อเป็นการแก้ไขสถานการณ์ และสภาวะการเปลี่ยนแปลงความนิยมสิ่งบันเทิงที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพื่อดำรงไว้ซึ่งโรงมหรสพหลวงอันรวมประวัติศาสตร์การแสดง ณ ศาลาเฉลิมกรุงสืบไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมศิลปากร. (2538). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโขน. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา

กฤษรา (ซูไรมาน) วริศราภูริชา. (2551). งานฉากละคร 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ใจรัก จันทร์สิน. (2562). สถาปัตยกรรมสมัยใหม่กลุ่มสถาปนิกไทยรุ่นบุกเบิก พ.ศ.2459 – 2508. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ทวีศักดิ์ ตั้งปฐมวงศ์. การปฏิวัติที่ถูกนิยามใหม่. ฉบับที่ 3. (1932)

ธนาทิพ ฉัตรภูติ. (2547). ตำนานโรงหนัง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เวลาดี.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2492). โขน. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2546). โรงละคร แนวคิดการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). วิวัฒนาการนาฏยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล ล้อมทอง. กรรมการผู้จัดการศาลาเฉลิมกรุง. สัมภาษณ์. 9 มกราคม 2563.

ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์. ศิลปินแห่งชาติ. สัมภาษณ์. 6 มกราคม 2565.

ไพโรจน์ ทองคำสุก. ราชบัณฑิต. สัมภาษณ์. 27 ธันวาคม 2564.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30