การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกแผนการเรียนห้องเรียนพิเศษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
การเลือกแผนการเรียน, ความชอบความสนใจ, การเลือกอาชีพที่อยากเป็นบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกแผนการเรียนห้องเรียนพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ในจังหวัดชลบุรี และสร้างสมการจำแนกกลุ่มของนักเรียนในห้องเรียนปกติ ห้องเรียนพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม และห้องเรียนพิเศษทางภาษา ประชากร คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 9,754 คน กลุ่มตัวอย่างได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 370 คน และได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม และตอนที่ 2 ข้อคําถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกแผนการเรียนห้องเรียนพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า การเลือกตามอาชีพที่อยากเป็นและการเลือกตามความชอบความสนใจ สามารถจำแนกกลุ่มของนักเรียนในห้องเรียนปกติ ห้องเรียนพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม และห้องเรียนพิเศษทางภาษา ได้ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์ของปัจจัยและสามารถสร้างสมการมาตรฐานของการจำแนกกลุ่มและสมการของการจำแนกกลุ่ม ดังนี้
สมการจำแนกในรูปคะแนนดิบ Y = -5.66 + .90X1 + 1.39X3 สมการจำแนกในรูปคะแนนมาตรฐาน ZY = .50Zx1 + .91Zx3 โดยมีสมการพยากรณ์ห้องเรียนปกติ = -32.66 + 7.54X1 + 1.30X3 สมการพยากรณ์ห้องเรียนพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม = -36.07 + 8.07X1 + 2.09X3 และสมการพยากรณ์ห้องเรียนพิเศษทางภาษา = -33.57 + 7.69X1 + 1.11X3
Downloads
References
งานข้อมูลสารสนเทศ. (2565). สรุปข้อมูลทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ปีการศึกษา 2565. กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. สืบค้นวัน 11 มกราคม 2566 จากhttp://182.53.16.99/web/DMC65.pdf.
ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ระบบโควตา) ประจำปีการศึกษา 2560. สำนักส่งเสริม วิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
วรรณิศา ปลอดโปร่ง. (2561). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อเป้าหมายในชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน”. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 13, 1 (มกราคม – มิถุนายน): 235-248.
วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์ และ สมบัติ ทีฆทรัพย์, (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยี ภาคใต้, 9(2).
ลออ สมใจ. (2556). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตเทศบาลนครสมุทรปราการ. กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สมเกียรติ อินทสิงห์. (2559). “การศึกษาทางเลือก: หลักสูตรและการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล.” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร 9, 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม): 1188-1206.
Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L. & Black, W. C. (1998). Multivariate data analysis (4th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว