ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับภาพตัวแทน “แม่จีน” ในวาทกรรมข่าวออนไลน์

ผู้แต่ง

  • เหวินตัน ฉิน Chulalongkorn University

คำสำคัญ:

แม่จีน, ภาพตัวแทน, กลวิธีทางภาษา, วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับภาพตัวแทนของ “แม่จีน” กลุ่มแฟนคลับชาวจีนที่ชื่นชอบศิลปินไทยในวาทกรรมข่าวออนไลน์จากมุมมองวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ โดยเก็บข้อมูลจาก  สื่อออนไลน์ พ.ศ 2563-2565 รวมจำนวน 40 ข่าว

          ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีทางภาษาที่ใช้นำเสนอภาพตัวแทนของ “แม่จีน” ได้แก่ การใช้คำอ้างถึงการใช้อุปลักษณ์ การใช้ส่วนขยาย การใช้คำกริยา/กริยาวลี การใช้สหบท การใช้มูลบท การใช้ประโยคแสดงความขัดแย้งและการใช้ประโยคแสดงเหตุ-ผล ภาพตัวแทนของ “แม่จีน” ที่นำเสนอผ่านกลวิธีทางภาษา ได้แก่ “แม่จีน” เป็นผู้สนับสนุนศิลปินอย่างเหนียวแน่น “แม่จีน” เป็นกลุ่มคนที่ร่ำรวยและทุ่มเท “แม่จีน” เป็นผู้ปกป้องศิลปิน “แม่จีน” เสมือนสมาชิกในครอบครัวของศิลปิน และ “แม่จีน” เป็นกลุ่มคนที่มีความเป็นปึกแผ่นโดยมีศิลปินเป็นศูนย์รวมจิตใจ ภาพตัวแทนดังกล่าวมีทั้งลักษณะที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ ซึ่งลักษณะที่พึงประสงค์มีความโดดเด่นมากกว่าลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ แสดงให้เห็นว่า สื่อออนไลน์ให้ความสำคัญกับภาพตัวแทนด้านบวกของ “แม่จีน” มากกว่าภาพตัวแทนด้านลบ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม กล่าวคือ สื่อออนไลน์เลือกนำเสนอและเน้นย้ำภาพด้านบวกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้มี “แฟนคลับที่พึงประสงค์” อย่าง “แม่จีน” เพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างโอกาสในการแสวงหารายได้เพิ่ม การนำเสนอภาพด้านลบได้รับอิทธิพลจากอคติที่เกี่ยวกับกลุ่มแฟนคลับในสังคมไทย

Downloads

Download data is not yet available.

References

กฤษณะ แสงจันทร์.(2558). การกำหนดวาระประเด็นดาราผู้มีชื่อเสียงผ่านข่าวบันเทิงทางโทรทัศน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2555). แฟนศึกษา ฉันมาแล้วจ้ะ. ใน กาญจนา แก้วเทพ, ภัทรา บุรารักษ์ และตปากร พุธเกส, สื่อที่ใช่ของใครที่ชอบ. (หน้า 293-511). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

จารุภัค อธิวัฒน์ภิญโญ, มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย และ ปีเตอร์ รุ่งเรือนกานต์ (2562). การศึกษาพฤติกรรม การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์และการธำรงรักษาของกลุ่มแฟนคลับนักร้องเกาหลีในประเทศไทย กรณีศึกษาศิลปินวง GOT7. วารสารนวัตกรรมสื่อสารสังคม.7(1), 220-229.

เจษฎา รัตนเขมา. (2541). ศิลปินเพลงไทยและเครือข่ายการสื่อสารกับแฟนคลับ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชานันต์ รัตนโชติ. (2552). ประโยชน์ในการรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณภัทร ศิริอาชาวัฒนา (2563). กระบวนการผลิตข่าวบันเทิงออนไลน์ทางเว็บไซต์อีนี่ (e-nee): กรณีศึกษาสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัชชา สิงพลอนันตชัย. (2561). “ติ่งเกาหลี”: กับการโจมตีด้วยถ้อยคำแห่งความเกียดชัง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฏฐนิตย์ ปกป้อง. (2562). กลยุทธ์การจัดการแฟนคลับที่ส่งผลต่อการรับรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมกับ บอยแบนด์ไทยของแฟนคลับ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรศักดิ์ พันธุจริยา. (2562). โลกทางสังคมและสัญญะของดาราดัง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ธีระยุทธ สุริยะ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนของชาวโรฮิงญาในสื่อออนไลน์ภาษาไทย: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัน ฉัตรไชยยันต์. (2563). วัฒนธรรมแฟน: กรณีศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณา เป๊ก ผลิตโชค แฟนคลับ. วารสารนิเทศศาสตร์. 38, 35-51.

พิชญา อัมพรจินดารัตน์. (2559). วัฒนธรรมแฟนกับความเป็นติ่ง กรณีศึกษาอาคาเซ กลุ่มแฟนคลับศิลปินวงก็อตเซเว่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พีรภา สุวรรณโชติ. (2551). การสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความเป็นจริงและการเรียนรู้คุณค่าทางบวกจากศิลปินนักร้องเกาหลีของกลุ่มแฟนคลับ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรินทร์ ตันติเมธ. (2559). ความสัมพันธ์ของความคลั่งไคล้ การเห็นคุณค่าตนเอง การเผชิญปัญหาและความสุขเชิงอัตวิสัยของแฟนคลับเยาวชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรินันท์ จงไกรจักร. (2559). กระบวนการทำงานข่าวบันเทิงบนเว็บไซต์ข่าวออนไลน์: ศึกษาเฉพาะกรณี เว็บไซต์ ทรูไลฟ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิริพงษ์ สุวรรณประภักดิ์ และ ปัทมา สุวรรณภักดี. (2562). พฤติกรรมการเปิดรับ ทัศนคติ และแรงจูงใจของประชาชนที่มีต่อการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์: กรณีศึกษาเว็บไซต์ 77 ข่าวเด็ด. วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ, 9(2), 1-10.

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนำมาศึกษาภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุปรีดา ช่อลำไย. (2549). เครือข่ายการสื่อสารและการดำรงอยู่ของกลุ่มแฟนคลับธงชัย แมคอินไตย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุเมธ ชัยไธสง และสมสุข หินวิมาน. (2563). การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นชาติของกลุ่มแฟนคลับนางงาม: ศึกษากรณีแฟนคลับชายรักชายต่อการประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์. อินทนิลทักษิณมหาวิทยาลัยทักษิณ. 15(2), 33-57.

เอกธิดา เสริมทอง. (2561). ข่าวบันเทิง…กรอบจำกัดและการพัฒนา. ศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 18(1), 126-134.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30