การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้แท่งรสหม้อแกงโดยใช้แป้งข้าวสินเหล็กทดแทนแป้งสาลีบางส่วน
คำสำคัญ:
คุกกี้, แป้งข้าวสินเหล็ก, ทดแทนแป้งสาลี, หม้อแกงบทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุกกี้แท่งเสริมรสด้วยหม้อแกงโดยทดแทนแป้งสาลีบางส่วนด้วยแป้งข้าวสินเหล็กที่ปลูกในจังหวัดอุตรดิตถ์ คัดเลือกสูตรที่เหมาะสมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร และตรวจสอบคุณภาพทางกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ และการทดสอบทางประสาทสัมผัส ผลการวิจัยพบว่าคุกกี้แท่งปรุงรสด้วยส่วนผสมหม้อแกงร้อยละ 60 (ปริมาณ 120 กรัม) ได้รับคะแนนความชอบมากกว่าการเสริมที่ร้อยละ 30, 40, 50, 70, 80 และ 100 ของส่วนผสมสูตรต้นแบบ และเมื่อนำไปพัฒนาด้วยแป้งสินเหล็กทดแทนแป้งสาลีบางส่วน พบว่า การทดแทนที่ร้อยละ 20 (ปริมาณ 60 กรัม) มีคะแนนความชอบโดยรวม 7.62±1.31 สูงกว่าการทดแทนที่ร้อยละ 35 และ 50 แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ผลิตภัณฑ์คุกกี้แท่งรสหม้อแกงโดยทดแทนแป้งสาลีร้อยละ 20 ด้วยแป้งสินเหล็กพบว่ามีค่า L* เท่ากับ 30.02 ค่า a* เท่ากับ 32.71 ค่า b* เท่ากับ 31.61 เนื้อสัมผัสมีค่าเท่ากับ 90 (g force) มีคุณค่าทางโภชนาการปริมาณความชื้น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เถ้าเท่ากับ 4.26, 15.89, 28.11, 56.97, 1.77 กรัมตามลำดับมีพลังงาน 516.43 กิโลแคลอรี่ต่อปริมาณ 100 กรัม สามารถเก็บรักษาในบรรจุภัณฑ์แบบกระปุกฝาปิดสนิทชนิด Polyethylene Terephthalate (PET) ได้เป็นอย่างน้อย 15 วัน และผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นตรวจไม่พบเชื้อจุลินทรีย์เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทคุกกี้ (มผช.118/2546)
Downloads
References
กรมการข้าว. (2565). ข้าวสินเหล็ก. https://www.thairicedb.com/rice-detail.php?id=19
จิรายุทธ จูมพลหล้า. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์หม้อแกงจากแก่นตะวันผงเพื่อสุขภาพ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร]. https://repository.rmutp.ac.th/handle/123456789/2411?show=full
ณปภา พันธ์แก้ว. (2562). โปรตีนจากข้าวสาลี นวัตกรรมทดแทนเนื้อสัตว์จากวัตถุดิบที่คุ้นเคย. Food Focus
Thailand, 16(182), 38-39.
แดงต้อย มาลี. (2535). หม้อแกง. ต้นอ้อ.
ทัศนีย์ โรจนไพบูลย์ และอโณทัย โรจนไพบูลย์. (2546). เทคโนโลยีอาหารและเครื่องดื่ม. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธีรนุช ฉายศิริโชติ. (2547). คุกกี้. นาคา อินเตอร์มีเดีย.
ธีรนุช ฉายศิริโชติ และณัจยา เมฆราวี. (2561). การใช้แป้งข้าวสีนิลทดแทนแป้งสาลีในส่วนเปลือกของขนมเปี๊ยะกุหลาบ. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 12(1), 27-39.
ปรียนุช โตเจริญ. (2552). Easy cookies. (พิมพ์ครั้งที่ 2). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
รวิพร พลพืช. (2565). แนวทางการคัดสรรวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์เบเกอรี่เพื่อสุขภาพ. Food Focus Thailand, 17(191), 24-25.
รุจิรา ปรีชา, สุนันทา วงศ์ปิยชน และ งามชื่น คงเสรี. (2543). รายงานการวิจัยชุดโครงการวิจัยข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว. การใช้แป้งข้าวทดแทนแป้งสาลีในผลิตภัณฑ์เค้กและคุกกี้. (น. หน้า 553-607). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิรัชยา อินทะกันฑ์ จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง กีรติญา สอนเนย และ กีรติ ต้นเรือน. (2564). การใช้แป้งข้าวหอมมะลิท่อนทดแทนแป้งสาลีในผลิตภัณฑ์บราวนี่กรอบ คุณภาพ เนื้อสัมผัสและองค์ประกอบทางเคมี. วารสารวิชาการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 13(17), 12-25.
ศศิมน ปรีดา. (2562). การจัดการการผลิตภัณฑ์อาหารจากธัญพืชถั่วเมล็ดแห้ง พืชน้ำมันและพืชน้ำตาล. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุทธิพันธุ์ แดงใจ. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมหม้อแกงถั่วเสริมทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองอุตรดิตถ์และอายุการเก็บรักษา. [เล่มรายงานการวิจัย] คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
แสงแดด. (2550). เบเกอรีเป็นอาชีพ Bakery. พรรณีการพิมพ์.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2546). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนคุกกี้ (มผช.118/2546). https://fic.nfi.or.th/law/upload/file1/TH_1097.pdf
อริสรา รอดมุ้ย และอรอุมา จิตรวโรภาส. (2550). การผลิตคุกกี้โดยใช้แป้งข้าวหอมนิลทดแทนแป้งสาลีบางส่วน. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, 3(1), 37-43.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว