การใช้ผงหมึกเหลือใช้ทดแทนสารตั้งต้นผง Fe2O3 เพื่อการสังเคราะห์ Ni0.5Zn0.5Fe2O4 เฟอร์ไรท์ด้วยวิธีการเผาแคลไซน์
คำสำคัญ:
ผงหมึกเหลือใช้, Fe2O3, นิคเกิลซิงค์เฟอร์ไรท์ (Ni0.5Zn0.5Fe2O4), แคลไซน์บทคัดย่อ
การสังเคราะห์ Ni0.5Zn0.5Fe2O4 เฟอร์ไรท์ จากผงหมึกเหลือใช้โดยวิธีการเผาแคลไซน์ของสารตั้งต้น NiO ZnO และผงหมึกเหลือใช้โดยสัดส่วนโดยโมล (NiO : ZnO : ผงหมึกเหลือใช้ คือ 0.5 : 0.5 : 1) ที่อุณหภูมิห้อง และ 1,100oC นาน 2 ชั่วโมง เมื่อทำการทดสอบโครงสร้างผลึกด้วยหลักการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (XRD) พบว่าที่อุณภูมิการเผาแคลไซน์ 1,100oC นาน 2 ชั่วโมง ส่งผลให้เกิดโครงสร้างผลึกของ Ni0.5Zn0.5Fe2O4 เฟอร์ไรท์ แบบคิวบิกสปิเนล โดยมีค่าคงที่แลตทิช (a) เท่ากับ 8.21 Å และมีขนาดผลึกเฉลี่ย (DXRD) เท่ากับ 11.87 nm และเมื่อทำการทดสอบสมบัติความเป็นแม่เหล็กของวัสดุด้วยเครื่องทดสอบความเป็นแม่เหล็กแบบตัวอย่างสั่น (VSM) พบว่า Ni0.5Zn0.5Fe2O4 เฟอร์ไรท์ที่เผาแคลไซน์ที่อุณหภูมิ 1,100oC นาน 2 ชั่วโมง มีสมบัติแม่เหล็กแบบชั่วคราว โดยมีค่าการอิ่มตัวทางแม่เหล็กของวัสดุ (Ms) เท่ากับ 16 emu/g ค่าคงค้างความเป็นแม่เหล็กของวัสดุ (Mr) เท่ากับ 0.03 emu/g และค่าลบล้างความเป็นแม่เหล็กของวัสดุ (HC) เท่ากับ 7 Oe จากสมบัติทางโครงสร้างผลึกและสมบัติทางแม่เหล็กของ Ni0.5Zn0.5Fe2O4 เฟอร์ไรท์ ที่สังเคราะห์ได้ พบว่าเป็นสมบัติที่ดีในกลุ่มของวัสดุแม่เหล็กแบบชั่วคราว ดังนั้นจึงสามารถนำผงผมึกเหลือใช้มาเป็นสารตั้งต้นทดแทน Fe2O3 ได้
Downloads
References
เกศริน มีมล และ อนุวัฒน์ หัสดี. (2561). สมบัติทางโครงสร้างและแม่เหล็กของ Fe3O4 เฟอร์ไรท์ด้วยวิธีเผาแคลไซน์ของผงหมึกเหลือใช้. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 26(1), 49-57. doi: 10.14456/tstj.2018.4
Chen, N., & Gu, M., (2012). Microstructure and Microwave Absorption Properties of Y-Substituted Ni-Zn Ferrites. Open Journal of Metal, 2012(2), 37-41. doi.org/10.4236/ojmetal.2012.22006
Choudhary, B.L., Kumari, N., Kumari, J., Kumar, A., & Dolia, S.N. (2021). Relaxation mechanism in Ni0.5Zn0.5Fe2O4 nanocrystalline ferrite at a lower temperature. Materials Letters, 304(2021), 130731-130734. doi.org/10.1016/j.matlet.2021.130731
Hwang, J., Choi, M., Shin, H.S., Ju, B.K., & Chun, M., (2020). Structural and Magnetic Properties of Ni-Zn Ferrite Nanoparticles Synthesized by a Thermal Decomposition Method. Appl. Sci. 2020(10), 6279. doi:10.3390/app10186279
Rao, B.P., Kumar, A.M., Rao,K. H., Murthy, Y.L.N., Caltun, O.F., Dumitru, I., & Spinu, L., (2006). Synthesis and magnetic studies of Ni-Zn ferrite nanoparticles. JOURNAL OF OPTOELECTRONICS AND ADVANCED MATERIALS, 8(5), 1703-1705.
Shahane, G.S., Kumar, A., Arora, M., Pant, P.R., & Lal, K. (2010). Synthesis and characterization of Ni–Zn ferrite nanoparticles. Journal of Magnetism and Magnetic Materials. 2010(322), 1015–1019. doi:10.1016/j.jmmm.2009.12.006
Srinivas, Ch., Tirupanyam, B.V., Satish, A., Seshubai, V., Sastry, D.L., & Caltun, O.F. (2015). Effect of Ni2+ substitution on structural and magnetic properties of Ni–Zn ferrite nanoparticles. Journal of Magnetism and Magnetic Materials, 382(2015), 15–19. doi.org/10.1016/j.jmmm.2015.01.008
Verma, S., Joy, P.A., & Kurian, S., (2011). Structural, magnetic and Mössbauer spectral studies of nanocrystalline Ni0.5Zn0.5Fe2O4 ferrite powders. Journal of Alloys and Compounds. 2011(509), 8999–9004. doi:10.1016/j.jallcom.2011.06.047
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว