แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
คำสำคัญ:
การจัดการ, ประสิทธิผล, โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 2) เปรียบเทียบประสิทธิผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการโดยจำแนกตามข้อมูลพื้นฐานรายชุมชน 3) ศึกษาปัจจัยการจัดการโครงการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ และ 4) นำเสนอแนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณโดยการวิจัยเชิงปริมาณจากการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จำนวน 357 ชุด ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำชุมชน และประชาชนในชุมชน รวมทั้งสิ้นจำนวน 37 คน
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ พบว่า (1) ระยะเวลาดำเนินโครงการที่จำกัด (2) มหาวิทยาลัยและชุมชนไม่พร้อมเข้าร่วมโครงการ (3) ปัญหาและความต้องการของชุมชนมีความหลากหลาย (4) งบประมาณสนับสนุนที่จำกัด (5) การติดตามและประเมินผลโครงการที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และ (6) ปัญหาข้อมูลพื้นฐานรายชุมชนในปัจจุบันที่ไม่แน่นอน 2) ประสิทธิผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการแตกต่างตามปัจจัยข้อมูลพื้นฐานรายชุมชนได้แก่ งบประมาณที่ชุมชนได้รับ จำนวนผลิตภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศักยภาพการบริหารจัดการที่ดี และศักยภาพของการพัฒนาตำบล ต่างกันให้ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยการจัดการโครงการ ด้านการประสานงาน ด้านการสื่อสาร ด้านการให้คำปรึกษา ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการวางแผน ด้านการจัดการองค์กร และด้านรายงานผล ส่งผลต่อประสิทธิผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ได้แก่ แนวทางสังคมร่วมมือเพื่อความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน และแนวทางการสื่อสารที่สร้างสรรค์สำหรับความร่วมมือในชุมชน
Downloads
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/flagship-project/2690-u2tambon.html
กาญจนา ดำจุติ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของนโยบายและการดำเนินงานข้อมูลข่าวสารเพื่อสร้างการรับรู้สู่ชุมชนของจังหวัดตรัง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(7), 118-131.
ณัฐพัชร์ อภิวัฒน์ไพศาล. (2565). พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ การเปิดรับข่าวสารและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ. The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences. สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 2(5), 47-62.
ทนากร ศรีก๊อ, วิทยาธร ท่อแก้วฐ กรกช ขันธบุญ และจิตาภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์. (2563). การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนชนขององค์การบริหารส่วนตำนบในจังหวัดเชียงราย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 11(6), 2467 – 2479.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.
ปรัชญา นามวงค์ ทวีศักดิ์ มหาวรรณ์ และหนึ่งฤทัย แสงใส. (2565). แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็งและยั่งยืนในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ: กรณีศึกษาตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการรับใช้สังคม, 6(1), 65-78.
ผกาวรรณ แสนอ่อน และพจนา พิชิตปัจจา. (2565). เครือข่ายการจัดการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. Journal of Modern Learning Development, 7(6), 42-54.
ไพศาล ไกรรัตน์, จิตติ กิจติเลิศไพศาล, ปณิธี การสมดี, ชาติชาย อุดมกิจมงคล. (2561). ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัย, 12(3), 185-199.
รติมา พงษ์อริยะ และสุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์. (2566). โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) กับการพัฒนาชุมชนด้านผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ ชุมชนบ้านทะเลน้อย ตำบลทางเกวียน และชุมชนบ้านวังหว้า ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 25-38.
วุฒิพล ฉัตรจรัสกูล และพีรพจน์ ยอดยิ่ง. (2561). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่ตำบลหนองเม็ก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาร. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคราม.
ศิริวรรณ วิสุทธิรัตนกุล. (2565). ถอดบทเรียนประสิทธิผลโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ในพื้นที่ ตาม “โครงการไทยนิยมยั่งยืน” (หมู่บ้าน/ชุมชนละสองแสนบาท). วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(2), 155-168.
ศุภลักษณ์ ศรีวิไลย และรุ่งเรือง ทองศรี. (2564). การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ส่งผลต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(8), 405-416.
สันติ ป่าหวาย. (2561). แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. การจัดการ ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). แนวทางการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้ว). สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). โครงสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศระหว่างปี 2559 - 2563. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=qgdp_page
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). อัตราการขยายตัวรายได้จากการผลิตของในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลระหว่างปี 2559 - 2563. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=index
สุธาวี กลิ่นอุบล. (2562). การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวเขาขีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อัฐพล อินต๊ะเสนา, สินธะวา คามดิษฐ์, พงศ์ธร อัศวนิเวศน์, วิทยา วรพันธุ์, อพันตรี พูลพุทธา, พัดชา หิรัญวัฒนกุล, ฉลองชัย กล้าณรงค์, กชกร ทิพย์สันเทีย. (2564). ปัญหาและความต้องการการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ตำบลคำเตย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. 5(4), 41-47.
Berelson, B. (1952). Content analysis in communication research. Free Press.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5th ed., New York: Harper Collins Publisher.
Drucker, Peter F. (1974). The Practice of Management. New York : Harper& Row, Publishers.
Holsti, O. R. (1969). Content Analysis for the Social Sciences and Humanities. Reading, MA: Addison-Wesley.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22 140, 55.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed, Harper and Row, New York.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว