องค์ประกอบทางพฤกษเคมีเบื้องต้น และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ของสารสกัดสมุนไพรในตำรับยาอำมฤควาที

ผู้แต่ง

  • กุสุมาศ ตันไชย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ปัฐมาภรณ์ ราชวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

องค์ประกอบทางพฤกษเคมี, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ตำรับยาอัมฤควาที

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบกลุ่มสารพฤกษเคมี และเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดสมุนไพรเดี่ยวในตำรับยาอำมฤควาทีด้วยวิธี DPPH assay โดยนำสมุนไพรในตำรับทั้ง 6 ชนิดได้แก่ รากชะเอมเทศ โกฐพุงปลา เนื้อลูกมะขามป้อม เทียนขาว ลูกผักชีลา และเนื้อลูกสมอพิเภก มาทำการสกัดด้วยวิธี Maceration โดยใช้ตัวทำละลาย 95%Ethanol ในภาชนะปิดเป็นระยะเวลา 7 วัน เพื่อทำการตรวจสอบสารพฤกษเคมีและทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดสมุนไพรเดี่ยวทั้ง 6 ชนิดในตำรับ พบสารกลุ่มอัลคาลอยด์ และสารกลุ่มแทนนิน จำนวน 5 ชนิด พบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ จำนวน 1 ชนิด แต่ไม่พบสารกลุ่มแอนทราควิโนนกลัยโคไซด์ และสารกลุ่มสเตียรอยด์ จากการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดทุกชนิดด้วยวิธี DPPH assay โดยใช้ Ascorbic acid ที่ความเข้มข้น 80 ppm เป็นสารมาตรฐาน พบว่าสารสกัดเนื้อลูกมะขามป้อม (Phyllanthus embica Linn.) และสารสกัดเนื้อลูกสมอพิเภก (Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด เมื่อใช้ความเข้มข้นเพียงเล็กน้อยหากเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน ผลการศึกษาที่ได้ชี้ให้เห็นว่าสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบในตำรับยาอำมฤควาทีนั้น อาจมีองค์ประกอบทางเคมีที่มีศักยภาพและส่งเสริมให้ตำรับยาอำมฤควาทีถูกนำไปใช้ในการรักษาโรคมากยิ่งขึ้นในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

References

กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักคณะกรรมการอาหารและยา. (2566). บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566. บริษัทมินนี่กรุ๊ป.

จตุพร ประทุมเทศและคณะ. (2564). การเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อแบคทีเรียก่อสิว (P.acnes) ของสารสกัดเมทานอลจากสมุนไพรในพิกัดตรีผลา. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 7(1), 1-14.

นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ และคณะ. (2551). TLC วิธีอย่างง่ายในการวิเคราะห์เครื่องยา.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปารยะ อาศนะเสน. (2553, พฤศจิกายน 24). อาการไอ (Cough) ตอนที่ 1 [Article files]. Sirirajonline. https://link.bsru.ac.th/10ds

ปิยวรรณ อยู่ดี. (2562). การศึกษาอายุการเก็บในสภาวะเร่งของ whitening cream ที่มีส่วนผสมของสารสกัดมะหาดและชะเอมเทศ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ภัคพงษ์ พจนารถ. (2559). สถานการณ์ของปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดในเมืองใหญ่ของประเทศไทย: กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และระยอง. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 12(1), 118-133.

รัชนี จันทร์เกษ, มนนิภา สังข์ศักดา, ปรียา มิตรานนท์. (2559). สถานการณ์การใช้บริการการแพทย์แผนไทย ปี 2552, 2554, 2556. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 10(2), 103-116.

วาสนา เนียมเสวง. (2561). พฤกษเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชที่มีสรรพคุณทางยา. วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 15(2), 51-60.

Halee, A., and Rattanapun, B., 2017., Study of Antioxidant Efficacies of 15 Local Herbs. KMUTT Research & Development Journal Research, 40(2), 283-293.

Jaengklang, C., Duanyai, S. Somee, W. Thomtakhob, S. and Phatsri Saengsai., 2022. Study on Total Phenolic Content, Total Flavonoid Content and Free Radical Scavenging Activity in Herbal Extracts. Journal of Traditional Thai Medical Research, 8(1), 93-105.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26