การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบทเพลงกล่อมเด็ก “จันทร์เจ้า”

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา บุตรไชย สาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์นาฏศิลป์, เพลงกล่อมเด็ก, จันทร์เจ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบทเพลงกล่อมเด็ก “จันทร์เจ้า” มีวัตถุประสงค์
เพื่ออนุรักษ์บทเพลงกล่อมเด็กจันทร์เจ้า แสดงคติ ความเชื่อ ค่านิยมของสังคมไทยจากรุ่นสู่อีกรุ่นผ่านการสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏศิลป์ โดยมีองค์ประกอบในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์ 8 ประการ อีกทั้งยังบูรณาการแนวคิดคติชนวิทยา ความหมายของพระจันทร์ วิเคราะห์และตีความเพลงกล่อมเด็กจันทร์เจ้า ผ่านกระบวนการละครแบบร่วมสร้าง (Devised Theatre) เพื่อพัฒนาบทและสรรค์สร้างการแสดงร่วมกัน โดยผ่านการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบนาฏศิลป์ร่วมสมัย

ผลการวิจัยและการสร้างสรรค์ พบว่า การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบทเพลงกล่อมเด็ก “จันทร์เจ้า” นี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภท ได้แก่ 1) บทการแสดงซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ความทรงจำวัยเยาว์ ช่วงที่ 2 วงโคจร และช่วงที่ 3 ลาจันทร์ 2) นักแสดง เป็นผู้มีความรู้และทักษะด้านศิลปะการแสดงและนาฏศิลป์ร่วมสมัย 3) ลีลานาฏศิลป์ นำเสนอผ่านการเต้นร่วมสมัย โดยได้รับแรงบันดาลใจจากเทคนิคด้นสดแบบใช้วิธีปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย (Body Contact Improvisation) 4) เสียงและดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง เรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยใช้เครื่องดนตรีหลัก คือ กีตาร์ และเปียโน รวมทั้งเสียงสังเคราะห์ เสียงประกอบพิเศษ และเสียงบรรยากาศ 5) เครื่องแต่งกาย การใช้สีดำและสีเหลืองในการออกแบบเครื่องแต่งกายช่วยเพิ่มความแตกต่างทางองค์ประกอบภาพ เพิ่มประสิทธิภาพการแสดงด้วยความลึกของสัญลักษณ์และอารมณ์ 6) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ออกแบบโดยคำนึงถึงความสวยงาม พลิ้วไหว และความรู้สึกไร้น้ำหนัก 7) แสง เลือกใช้แสงจากโพรเจกเตอร์รูปดวงจันทร์เพื่อสร้างบรรยากาศท้องฟ้าในยามค่ำคืน และ 8) พื้นที่ในการแสดง เลือกสถานที่แสดงที่มีลักษณะเป็นลานกว้าง โดยคำนึงถึงสภาพอากาศ ขนาด และความแตกต่างของพื้นที่การแสดง

Downloads

Download data is not yet available.

References

กันตพัฒน์ จุติพรภูติวัฒน์. (2566). สัมภาษณ์โดย ขนิษฐา บุตรไชย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

มาลิทัต พรหมทัตตเวที. (2554). หลากหลายแง่มุมเกี่ยวกับดวงจันทร์. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 36(2), 231-244.

ส. พลายน้อย. (2543). จันทรคตินิยาย (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิมพ์คำ.

สุกัญญา สุจฉายา. (2545). เพลงพื้นบ้านศึกษา. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Color Palettes. (2023, กรกฎาคม 7). Yellow and black. https://colorpalettes.net

Gleeson, J. (2023, กรกฎาคม 7). Next full moon calendar. https://www.countryliving.com

Luamoonfull. (2023, กรกฎาคม 7). https://www.instagram.com/luamoonfull

Oddey, A. (2016). Devising Theatre: A Practical and Theoretical Handbook. Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23