ปัญหาและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ)

ผู้แต่ง

  • อรุณวรรณ อินต๊ะใจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

การตัดสินใจซื้อ, ส่วนประสมการตลาด, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) ของลูกค้า และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยปัญหาและปัจจัยที่มีอิทธิพต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) ของลูกค้า โดยออกแบบให้เป็นการวิจัยแบบผสม ได้แก่ (1) การวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ อาศัยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็นวิธีแบบง่าย และ (2) การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีแบบสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากลูกค้าที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ (2) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่  t – test, One – way ANOVA และ Regression ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า (1) ลูกค้ามีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ด้านอายุของลูกค้าที่แตกต่างกัน ทำให้มีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ลูกค้าที่มีพฤติกรรมการซื้อด้านสาเหตุการซื้อแตกต่างกัน ทำให้มีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ส่วนประสมทางการตลาดด้านบุคคล ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัยทางกายภาพมีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) ของลูกค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (5) ปัญหาในการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา MH LIV (เอ็ม เอช ลีฟ) อยู่ในระดับน้อย จากสาเหตุสินค้าที่ได้รับเกิดความเสียหายจากการขนส่ง ระยะเวลาการขนส่งสินค้ามากกว่า 1 วัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2566). ตลาดอุตสาหกรรมเสริมอาหารพุ่ง 8.7 หมื่นล้านบาท. สืบค้นจากhttps://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1084941

จุฑามาศ กตัญญุภาดา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ของสตรีวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรภัทร ณ นคร. (2564). การศึกษากลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอมาโด้ในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา และจิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์. (2562). หลักการตลาด. นนทบุรี: ธรรมสาร”

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา และจิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์. (2563). หลักการตลาด. นนทบุรี: ธรรมสาร.

Blackwell, R., Miniard, P. W. & Engel, J. F. (2006). Consumer Behavior. (10th ed.). Mason, OH: Thomson/South-Western.

Kotler, P. and Keller, K. (2009). Marketing Management. Global Edition, Pearson Education Inc., Upper Saddle River.

Kotler, P. and Armstrong, G. (2018). Principles of Marketing (17thed.). England: Pearson.

Kotler, P. and Keller, K. (2009). Marketing Management. Global Edition, Pearson Education Inc., Upper Saddle River.

Marketingoops. (2023). สำรวจ “ตลาดอาหารเสริม” ในไทย โตรับสังคมสูงวัย และความต้องการสุขภาพองค์รวม – เสริมสร้างภูมิต้านทาน. สืบค้นจาก https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/thailand-supplement-market-2023/

Schiffman, Leon G. & Kanuk, Leslie Lazar. (2007). Consumer Behavior. 5th ed. New Jersey: Prenticde-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26