การดูดซับสีย้อมไดเร็กท์เรด 23 โดยใช้เปลือกข้าวโพด
คำสำคัญ:
การดูดซับ, สีย้อมไดเร็กท์เรด 23, เปลือกข้าวโพด, ไอโซเทอม, จลนศาสตร์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับสีย้อมไดเร็กท์เรด 23 โดยใช้เปลือกข้าวโพดเป็นตัวดูดซับ ทำการทดลองแบบแบตซ์ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซับ ได้แก่ พีเอช เวลาในการดูดซับ และความเข้มข้นเริ่มต้นของสีย้อมไดเร็กท์เรด 23 ผลการทดลองพบว่า พีเอชที่เหมาะสมในการดูดซับคือ พีเอช 2 เวลาที่ เข้าสู่สมดุลของการดูดซับคือ 120 นาที และการเพิ่มความเข้มข้นเริ่มต้นของสีย้อมไดเร็กท์เรด 23 มีผลทำให้ความสามารถในการดูดซับเพิ่มสูงขึ้น จลนศาสตร์ของการดูดซับศึกษาจากแบบจำลองปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียมและแบบจำลองปฏิกิริยาอันดับสองเทียม พบว่า จลนศาสตร์ของการดูดซับสีย้อมไดเร็กท์เรด 23 สอดคล้องกับแบบจำลองปฏิกิริยาอันดับสองเทียม เมื่อศึกษาไอโซเทอมของการดูดซับ พบว่า ข้อมูลการดูดซับที่สมดุลสอดคล้องกับไอโซเทอมการดูดซับแบบแลงเมียร์มากกว่าไอโซเทอมการดูดซับแบบฟรุนดลิช แสดงให้เห็นว่า การดูดซับสีย้อมไดเร็กท์เรด 23 โดยใช้เปลือกข้าวโพดเป็นการดูดซับแบบชั้นเดียว และมีค่าความสามารถในการดูดซับสูงสุดเท่ากับ 43.86 มิลลิกรัมต่อกรัม การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า เปลือกข้าวโพดซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสามารถนำมาใช้เป็นตัวดูดซับที่มีประสิทธิภาพ ราคาถูก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้
Downloads
References
จิรกิตติ์ ไพยรัตน์. (2559). การกำจัดสีย้อมเบสิกและสีย้อมรีแอกทีฟด้วยแอคติเวเตดสลัดจ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไชยยันต์ ไชยยะ, วราภรณ์ ธนะกุลรังสรรค์ และปทุมทิพย์ ต้นทับทิมทอง. (2552). อิทธิพลของสารกระตุ้นที่มีต่อหมู่ทำหน้าที่และประสิทธิภาพในการดูดซับของถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากเปลือกเมล็ดยางพารา (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
เดชา ฉัตรศิริเวช. (2552). กระบวนการดูดซับ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรสวรรค์ อัศวแสงรัตน์ และวีระวัฒน์ คลอวุฒิมันตร์. (2553). การดูดซับสีย้อมด้วยตัวดูดซับจากธรรมชาติ. วิศวสารลาดกระบัง, 27(4), 61-66.
ภัทรานันท์ แวงวรรณ, วัลภา แต้มทอง และสุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ. (2560, มกราคม 31-กุมภาพันธ์ 3). แผ่นเส้นใยจากเปลือกข้าวโพด [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รวินทร์ สุทธะนันท์ และโกวิทย์ ปิยะมังคลา. (2554). จลนศาสตร์และเทอร์โมเคมีการดูดซับเมททิลีนบลูโดยใช้แกลบดัดแปร. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21(2), 337-348.
รวินิภา ศรีมูล. (2559). การบำบัดสีย้อมในน้ำเสียด้วยกระบวนการดูดซับ. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 44(3), 419-434.
วัลภา แต้มทอง, สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ และขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ. (2564). ผลของพันธุ์ข้าวโพด ชั้นเปลือกข้าวโพดและวิธีการแยกเส้นใยต่อสมบัติทางเคมีและสมบัติทางเชิงกลของเส้นใยเปลือกข้าวโพด. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 13(26), 91-105.
อุทัยวรรณ กันใจแก้ว. (2554). ผลของอุณหภูมิในการดูดซับกรดฮิวมิกในน้ำบนเขม่า: เปรียบเทียบระหว่างเขม่าจากเครื่องยนต์ดีเซลและเขม่าจากชีวมวล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Abdelwahab, O., Nemr, A. E., Sikaily, A. E., & Khaled, A. (2005). Use of rice husk for adsorption of direct dyes from aqueous solution: A case study of direct F. Scarlet. Egyptian Journal of Aquatic Research, 31(1), 1-11.
Ardejani, F. D., Badii, Kh., Limaee, N. Y., Mahmoodi, N. M., Arami, M., Shafaei, S. Z., & Mirhabibi, A. R. (2007). Numerical modelling and laboratory studies on the removal of direct red 23 and direct red 80 dyes from textile effluents using orange peel, a low-cost adsorbent. Dyes and Pigments, 73(2), 178-185.
Dada, A. O., Olalekan, A. P., Olatunya, A. M., & Dada, O. (2012). Langmuir, Freundlich, Temkin and Dubinin-Radushkevich isotherms studies of equilibrium sorption of Zn2+ unto phosphoric acid modified rice husk. Journal of Applied Chemistry, 3(1), 38-45.
Fathi, M. R., Asfaram, A., & Farhangi, A. (2015). Removal of direct red 23 from aqueous solution using corn stalks: Isotherms, kinetics and thermodynamic studies. Spectrochimica Acta Part A: Molecular and Biomolecular Spectroscopy, 135, 364-372.
Gupta, V. K., & Suhas. (2009). Application of low-cost adsorbents for dye removal - A review. Journal of Environmental Management, 90(8), 2313-2342.
Jiang, R., Yu, G., Ndagijimana, P., Wang, Y., You, F., Xing, Z. & Wang, Y. (2021). Effective adsorption of Direct Red 23 by sludge biochar-based adsorbent: adsorption kinetics, thermodynamics and mechanisms study. Water Science & Technology, 83(10), 2424–2436.
Kowanga, K. D., Gatebe, E., Mauti, G. O., & Mauti, E. M. (2016). Kinetic, sorption isotherms, pseudo-first-order model and pseudo-second-order model studies of Cu(II) and Pb(II) using defatted Moringa oleifera seed powder. The Journal of Phytopharmacology, 5(2), 71-78.
Kumar, A., Chaudhary, P., & Verma, P. (2013). Adsorption of reactive red 194 dye from textile effluent by using class F fly ash. Scholars Journal of Applied Medical Sciences, 1(2), 111-116.
Liu, N., Wang, H., Weng, C. H., & Hwang, C. C. (2018). Adsorption characteristics of Direct Red 23 azo dye onto powdered tourmaline. Arabian Journal of Chemistry, 11(8), 1281-1291.
Özacar, M., & Şengil, İ. A. (2004). Application of kinetic models to the sorption of disperse dyes onto alunite. Colloids and Surfaces A: Physicochemical and Engineering Aspects, 242(1-3), 105-113.
Pormazar, S. M., & Dalvand, A. (2020). Adsorption of direct red 23 dye from aqueous solution by means of modified montmorillonite nanoclay as a superadsorbent: Mechanism, kinetic and isotherm studies. Korean Journal of Chemical Engineering, 37(12), 2192-2201.
Seow, T. W., & Lim, C. K. (2016). Removal of dye by adsorption: A review. International Journal of Applied Engineering Research, 11(4), 2675-2679.
Tan, L. S., Jain, K. & Rozaini, C. A. (2010). Adsorption of textile dye from aqueous solution on pretreated mangrove bark, an agricultural waste: equilibrium and kinetic studies. Journal of Applied Sciences in Environmental Sanitation, 5(3), 283-294.
Vadivelan, V., & Kumar, K. V. (2005). Equilibrium, kinetics, mechanism, and process design for the sorption of methylene blue onto rice husk. Journal of Colloid and Interface Science, 286(1), 90-100.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว