สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์กับมรดกศิลปวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • สหภัส อินทรีย์ สาขาวิชาอาเซียนศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • นนท์ณธี ดุลยทวีสิทธิ์ สาขาวิชาอาเซียนศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์, มรดก, ศิลปวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์กับมรดกศิลปวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์
1. ศึกษาเกี่ยวกับประวัติและผลงานทางศิลปวัฒนธรรมของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)  
2. ศึกษาสถานที่โดนเด่นทางศิลปวัฒนธรรมที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เกี่ยวข้อง 3. ศึกษาเส้นทางที่เกี่ยวกับสถานที่ทางศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
(ช่วง บุนนาค) เพื่อพัฒนาเป็นองค์ความรู้ที่สามารถเผยแพร่เพื่อการศึกษาหรือทางธุรกิจ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ (Historical Research) การวิจัยทางเอกสารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
โดยใช้หลักฐานชั้นต้นหรือข้อมูลปฐมภูมิ (Primary source) และหลักฐานชั้นรองหรือข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary source) ทำการลงพื้นที่เพื่อสำรวจ (Field research) ซึ่งรายงานผลการวิจัยในรูปของการพรรณนา (Descriptive)

          ผลการศึกษาพบว่า 1. ประวัติของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)เป็นบุคคลสำคัญต่อประเทศชาติ ท่านเกิดตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1)
และถึงแก่พิราลัยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีผลงานทางศิลปวัฒนธรรมจำนวนมาก และหลายแขนงด้วยกัน เช่น วรรณกรรม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ฯลฯ 2. สถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่มีความโดดเด่น เช่น พระนครครี พระนารายณ์
ราชนิเวศน์ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร วัดบุปผารามวรวิหาร ฯลฯ 3. เส้นทางเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มีหลายเส้นทางทั้งในกรุงเทพมหานคร เมืองราชบุรี และเมืองเพชรบุรี ฯลฯ

Downloads

Download data is not yet available.

References

จิรเดช เกตุประยูร. (2553). ศึกษาสำรวจวัฒนธรรมประเพณีเพื่อจัดทำคู่มือท่องเที่ยวตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/RMUTR.res.2010.22

ชาตรี ประกิตนนทการ. (2546). จาก สยามเก่า สู่ ไทยใหม่ : ความหมายทางสังคมและการเมืองในงานสถาปัตยกรรม พ.ศ.2394 - 2500 (วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาสถาปัตยกรรม, ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุมรมสายสกุลบุนนาค. (2566, 20 พฤษภาคม). สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์. สืบค้นจาก https://www.bunnag.in.th/oldsite/prarajpannuang001-2.html

เซี้ยง กรรณสูตร. (2465). ประชุมพงศาวดารภาคที่ 25. โสภณพิพรรฒธนากร.

ทิพยากรวงศ์, เจ้าพระยา. (2555). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับ เจ้าพระยาทิพยากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เล่มที่ 2. ศรีปัญญา.

นรินทร์ สังรักษา. (2559). การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นฤพร เสาวนิตย์. (2549). รูปแบบสถาปัตยกรรมพระอารามหลวงในพระพุทธศาสนาที่สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ในช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งรัตนโกสินทร์ในเขตกรุงเทพมหานครฯ และปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมมหาบัณฑิต). สาขาสถาปัตยกรรมไทย, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุติพงศ์ บัวทอง. (2553). แนวทางการพัฒนาตลอดน้ำวัดประสาทสิทธิ์ ตำบลประสาทสิทธิ์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ราชบุรี. (2566, 20 พฤษภาคม). คลองดำเนินสะดวกในอดีต. สืบค้นจาก https://www.finearts.go.th/ratchaburimuseum

วัดศรีสุริยวงศ์. (2566, 20 พฤษภาคม). สืบค้นจาก https://shorturl.at/ntREO

วีณา ศรีธัญรัตน์, พรพิมล พุทธมาตย์, & สุวรรณา สัจจวีรวรรณ. (2526). ผลงานด้านวัฒนธรรมของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค). กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ.

วุฒิชัย สันธิ. (2556). การจัดการเส้นทางการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมในเขตเทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566, 20 พฤษภาคม). วัดปราสาทสิทธิ์. สืบค้นจาก https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/451

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดราชบุรี. (2567, 20 กรกฎาคม). วัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร. สืบค้นจาก https://rbr.onab.go.th/th/content/category/detail/id/110/iid/17116

เสาวลักษณ์ จันทราสกุล. (2546). การสร้างและทดลองใช้คู่มือเที่ยวโบราณสถานในเขตพระราชวังสนามจันท์ จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

อทิตยา ถิระโชติ. (2559). วิเคราะห์แนวทางการสร้างศิลปกรรมที่ได้รับการอุปถัมภ์โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) (การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-21