รูปแบบการเสริมทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ในกิจกรรม One Class - One Project ของนักเรียนโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1

ผู้แต่ง

  • พุฒิพงค์ ปรีเปรม โรงเรียนวัดนวลนรดิศ

คำสำคัญ:

โครงงานเป็นฐาน, ทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์, กิจกรรม (One class - One project)

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรม (One class - One Project) โดยใช้โครงงานเป็นฐานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 3, 5 และ 6 และโครงงาน IS (Independent Study )ระดับชั้น ม.2 และ ม.4 ด้วยแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยแบบประเมินโครงการ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน PBl (Project-based Learning) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวนนักเรียน 832 คน 36 ห้อง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวิเคราะห์ข้อมูลผลการเรียนรู้ก่อนและหลังกิจกรรม แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ผลงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีการทดสอบต่อความคิดสร้างสรรค์หลังทำกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรมและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 2) นักเรียนสามารถจัดโครงการตามความสนใจเพื่อรับการประเมินทักษะการคิดในการสร้างสรรค์ผลงานตามเกณฑ์ร้อยละ 80 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานในระดับมาก ทั้งด้านสิ่งสนับสนุน และด้านความรู้

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชฎารัตน์ พงษ์ปรีชา และ ปริญญภาษ สีทอง. (2564). การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมทักษะชีวิตโดยใช้โครงงานเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 22(2), 80–93.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง อรพิณ ศิริสัมพันธ์ ดวงหทัย โฮมไชยะวงศ์ และ วิลาพัณย์ อุรบุญนวลชาติ. (2564). ปรับกระบวนทัศน์ : การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมทักษะสำคัญของผู้เรียนยุคประเทศไทย 4.0. ครุศาสตร์สาร, 15(2), 16-30.

ญาณีรัตน์ หาญประเสริฐ. (2563). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้านการศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 14(2), 11-21.

ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน และ เฉลิมขวัญ สิงห์วี. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 46(1), 218-253.

รพีพร นามมูลตรี. (2564, ธันวาคม 16-17). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานและการสร้างสรรค์เป็นฐานโดยใช้บทเรียนออนไลน์ วิชา ว30284 การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 เรื่อง การวิจัยเพื่อความยั่งยืน ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ หลังโควิด-19, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

รังศิมา ชูเทียน และ ทศพร แสงสว่าง. (2559). การพัฒนาการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 4(1), 56-69.

วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล และ มาเรียม นิลพันธ์. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 11(2), 8-23.

ศรัณยู หมื่นเดช และรุจโรจน์ แก้วอุไร. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานร่วมกับสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(2), 159-170.

สวนีย์ ศรเกษตริน. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชใกล้ตัวเรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ฤทธิไกร ไชยงาม เพ็ญศรี ใจกล้า สุกัญญา มะลิวัลย์ มยุรา สุภารี. (2563). การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ 3PBL, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(1), 7-17.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1990). The action research planner. (3rd ed.). Victoria: Deaken University Press.

Khuharuangrong, K. (2010). A comparison of problem solving ability and attitude of Mattayomsuksa one students toward occupation and technology subjectusing project-based method and 4 MAT (Master thesis) [Unpublished doctoral dissertation]. Phranakhon Si Ayuthaya Rajabhat University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26