การพัฒนารูปแบบการผลิตนักศึกษาครูสู่ครูมืออาชีพของมหาวิทยาลัยราชภัฏ

ผู้แต่ง

  • ฑิตยา สิทธิโสภาสกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ความต้องการจำเป็น, สมรรถนะนักศึกษาครู, ครูมืออาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะนักศึกษาครู 2) พัฒนาเครื่องมือประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนานักศึกษาครู และ 3) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาครู มีตัวอย่างวิจัยจำนวน 600 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครู ระยะที่ 2 การศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางและรูปแบบในการผลิตนักศึกษาครูอิงสมรรถนะ 2) พัฒนารูปแบบการผลิตนักศึกษาครูอิงสมรรถนะของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) พัฒนาคู่มือการผลิตนักศึกษาครูสู่ครูมืออาชีพของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ อาจารย์นิเทศก์ ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาครู ผู้บริหารสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือ

          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะนักศึกษาครู และการพัฒนาเครื่องมือประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนานักศึกษาครู พบว่า ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( c 2 = 1465.121 df = 612 p= 0.000 GFI = 0.884 AGF = 0.844 RMR = 0.024 RMSEA = 0.048) และเมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรในโมเดล พบว่า ตัวแปรทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.00 1) แสดงให้เห็นว่าเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมีโครงสร้างตรงตามที่ทฤษฎีกำหนดไว้ สามารถนำไปใช้วัดสมรรถนะนักศึกษาครูได้อย่างมีความน่าเชื่อถือ 2. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของนักศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะ พบว่า อันดับแรก ได้แก่ ทำวิจัยที่สอดคล้องกับปัญหาของผู้เรียน  และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียน (PNI เท่ากับ 0.07)  3. ผลการศึกษาแนวทางและพัฒนารูปแบบการผลิตนักศึกษาครูอิงสมรรถนะ ควรมีดังนี้ 1) ส่งเสริมการลงมือปฏิบัติจริง 2) ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนการสอนบนพื้นฐานที่จำเป็นต่อสมรรถนะที่ต้องการพัฒนา 3) ส่งเสริมการเข้าร่วมอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การจัดเวทีเสวนา หรือการศึกษา ดูงาน 4) ส่งเสริมการวัดและประเมินผล 5) ส่งเสริมการทำวิจัย 6) ส่งเสริมการจัดระบบโค้ช (Coaching) 7) ส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 8) ส่งเสริมระบบเครือข่าย  และ 4. ผลการพัฒนาคู่มือผลิตนักศึกษาครูสู่ครูมืออาชีพ พบว่า คู่มือ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบหลัก ได้แก่  1) ที่มาและความสำคัญ 2) จุดมุ่งหมาย 3) แนวคิดพื้นฐาน 4) หลักการ 5) กรอบสมรรถนะ 6) โครงสร้างเนื้อหา 7) กระบวนการพัฒนาสมรรถนะ 8) การวัดและประเมินผลโดยที่กรอบสมรรถนะ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean=4.69, SD=0.67)

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรวุฒิ แผนพรหม. (2562). การพัฒนาเครื่องมือวัด โมเดลเชิงสาเหตุ และแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม : การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับจำแนกเข้ากลุ่ม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2566). ดาวน์โหลดสถิติอุดมศึกษา. https://info.mhesi.go.th/

คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2565). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. https://www.ops.go.th/th/ches-downloads/edu-standard/item/6940-2022-07-22-02-54-49

ชรอยวรรณ ประเสริฐผล, อนุชา กอนพ่วง, วิทยา จันทร์ศิลา และฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูใหม่โรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(พิเศษ). 43-53.

ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม และยุวรี ผลพันธิน. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยสำหรับนักศึกษาครู : การประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2). 230-246.

ณัฐธิดา ภู่จีบ. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนสำหรับครูทัศนศิลป์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. (2560). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. http://203.154.83.51/lau/admin/upload/document/731b24f454687e21dd9d045a8eb175b7b3edd63efe5939f7c19803d7c5cf4b49.pdf

นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์, ปัญญา เลิศไกร และจริยา เอียบสกุล. (2561). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยสำหรับนักศึกษาสาขาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(70). 65-77.

ภณิดา ชูช่วยสุวรรณ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา : การประเมินความต้องการจำเป็นสมบูรณ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภัทราพร เกษสังข์, อนุภูมิ คำยัง, กฤศนรัตน์ พุทธเสน และอรวรรณ เกษสังข์. (2562). สมรรถนะและการประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดเลย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 11(1), 132-145.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2564). ประกาศคณะอนุกรรมการอำนวยการทดสอบ เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเครื่องมือทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน ตามมาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2564. https://www.ksp.or.th/

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2566). ราชกิจจานุเบกษาประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2566. https://www.ksp.or.th/

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0. [รายงานการวิจัย] จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี สุขในสิทธิ์ และอนุพันธ์ คำปัน. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(20), 342-354.

Admiraal, W., & Berry, A. (2016). Video narratives to assess student teachers’ competence as new teachers, Teachers and teaching, 22(1). 21-34. https://doi.org/10.1080/13540602.2015.1023026

Hair Jr, J. F., Babin, B. J., & Krey, N. (2017). Covariance-based structural equation modeling in the Journal of Advertising: Review and recommendations. Journal of Advertising, 46(1), 163-177.

Maba, W., & Mantra, I. B. N. (2018). The primary school teachers’ competence in implementing the 2013 curriculum. SHS web of conference, 42.

Mantra, I. B. N. (2017). Promoting primary school teachers’ competence through dynamic interactive workshop and partnership. International journal of linguistics, 3(10). 1-6.

Taruc, J.R. & Vargas, D. (2021). Teachers competency needs assessment. https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3798536

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26