การเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์มูลค่าการใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตเพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการโดยวิธีโฮลท์-วินเทอร์และวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์

ผู้แต่ง

  • พิเชษฐ์ ศิริรัตนไพศาลกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์, วิธีโฮลท์-วินเทอร์, วิธีบ็อกซ์-เจนกินส์

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการใช้งานบัตรเครดิตและบัตรเดบิตเพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการมีแนวโน้มที่จะใช้งานมาก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบจำลองด้วยวิธีโฮลท์-วินเทอร์และวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์และเพื่อเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์มูลค่าการใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตเพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการโดยวิธีโฮลท์-วินเทอร์และวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ โดยใช้ข้อมูลการใช้จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566
เป็นระยะเวลา 167 เดือน ซึ่งรวบรวมข้อมูลมาจากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยได้แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด
คือ ชุดข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 จำนวน 133 เดือน และชุดข้อมูลเพื่อการทดสอบตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 โดยใช้ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยกำลังสอง (Root Mean Square Error: RMSE) และ ร้อยละของความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Percentage Error: MAPE) ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวแบบการพยากรณ์

ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลองแบบ บ็อกซ์-เจนกินส์เหมาะสมกว่าแบบจำลองโฮลท์-วินเทอร์ ทั้งบัตรเครดิตและบัตรเดบิต สถาบันการเงินสามารถนำผลลัพธ์ของแบบจำลองพยากรณ์ใช้ในงานด้านแผนการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อกระตุ้นลูกค้าของสถาบันการเงินให้มาใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตมากขึ้นในช่วงเวลาที่ปริมาณการใช้ลดลง และวางแผนด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ระบบรักษาความปลอดภัยในการใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตเพื่อรองรับลูกค้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

References

จุฑาทิพย์ ลีลาธนาพิพัฒน์, ปิยพล ไพจิตร, อรวรรณ เหลืองสีเพชร, จิตต์ปฏิมา ลอยสูงเนิน, สุพรรณวิภา ขุนวิเศษ, และ วรรณพร สุริยะกาศ. (2565). การพยากรณ์ปริมาณการจัดจำหน่ายอวนสีขี้ม้า: กรณีศึกษา บริษัทผลิตอวนและเชือกโพลี. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 33(1), 101-111.

เฉลิมชาติ ธีระวิริยะ. (2560). การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์สำหรับความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในจังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(4), 124-137.

ชนานันท์ พันธ์สมจิตร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บัตรเดบิตธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในการซื้อสินค้าและบริการของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. คลังสารสนเทศดิจิทัล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5802031434_5857_4270.pdf

ณัฐภัทร ก้อนเครือ, และ กัลยา บุญหล้า. (2559). การพยากรณ์ปริมาณหน่วยจำหน่ายไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 25(2), 54-64.

ดวงพร เกี๋ยงคำ. (2564). คู่มือใช้งาน Excel 365 ฉบับสมบูรณ์. ไอดีซี พรีเมียร์, บจก.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566, 31 สิงหาคม). บัตรเครดิต. https://www.bot.or.th/th/satang-story/digital-fin-lit/creditcard.html

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566, 31 สิงหาคม). สถิติการชำระเงิน. https://www.bot.or.th/th/statistics/payment.html

ธรณินทร์ สัจวิริยทรัพย์. (2562). ตัวแบบผสมของตัวแบบเชิงเส้นตรงและตัวแบบไม่เชิงเส้นตรงสำหรับการพยากรณ์ปริมาณการส่งออกข้าวระหว่างประเทศรายปี. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 24(2), 517-531.

ลักขณา เศาธยะนันท์, สุณี ทวีสกุลวัชระ, ยุพิน กาญจนะศักดิ์ดา, และ บุญหญิง สมร่าง. (2557). การพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยโดยวิธีบอกซ์-เจนกินส์และวิธีการของวินเตอร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(1), 89-98.

วณิกเกียรติ์ ยิ่งพันธ์, บัววรุณ ศรีชัยกุล, จตุพร เหลืองอุบล, และ พุทธิไกร ประมวล. (2563). ตัวแบบทำนายอุบัติการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(2), 174-184.

วรางคณา เรียนสุทธิ์. (2563). ตัวแบบพยากรณ์อัตราเร็วลมรายวัน ที่ระดับความสูง 120 เมตร อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 19(1), 95-109.

ศิริกุล คุณยศยิ่ง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บัตรเครดิต บัตรเดบิต และเงินสด ในการชำระค่าสินค้าและบริการ ของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. CMUIR. http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39490

สุภัตรา ใจเร็ว, และ ภูมิฐาน รังคกูลนุวัฒน์. (2561, สิงหาคม 16). เปรียบเทียบการพยากรณ์ดัชนีหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างหมวดวัสดุก่อสร้างในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยแบบจำลองทางสถิติ. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561. มหาวิทยาลัยรังสิต.ปทุมธานี.

Banditvilai, S., & Anansatitzin, S. (2019, July 8-10). Forecasting Models of Chinese, Malaysian and South Korean Tourists Visiting Thailand. ICoMS'19: Proceedings of the 2019 2nd International Conference on Mathematics and Statistics. Prague Czech Republic.

Intarapak, S., Supapakorn, T., & Vuthipongse, W. (2022). Classical Forecasting of International Tourist Arrivals to Thailand. Journal of Statistical Theory and Applications, 21(1), 31-43.

Şahinli, M. A. (2020). Potato Price Forecasting with Holt-Winters and ARIMA Methods: A Case Study. American Journal of Potato Research, 97(1), 336–346.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26