การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชวงศ์ขิงบางชนิดต่อการต้าน เชื้อรา Rhizoctonia solani Kuhn

ผู้แต่ง

  • ภัทรภร เอื้อรักสกุล สาขาวิชาชีววิทยาการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • กิตติยา ศิลาวงศ์ สาขาวิชาชีววิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • นิลุบล สอนแก้ว สาขาวิชาสมุนไพรและกัญชาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ขิง, ข่า, กระชาย, ต้านรา, Rhizoctonia solani Kuhn

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งเน้นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากเหง้าแห้งของพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) 3 ชนิด ได้แก่ ขิง (Zingiber officinale Roscoe.) ข่า (Alpinia galanga (L.) Willd.) และกระชาย (Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.) ที่ได้จากการสกัดด้วยตัวทำละลาย 2  ชนิด ได้แก่ ไดคลอโรมีเทน(CH2Cl2และเมทานอล ( (CH3OH) ตามลำดับ โดยนำสารสกัดมาทำการทดสอบการต้านการเจริญของรา Rhizoctonia solani Kuhn. เชื้อก่อโรคกาบใบแห้งในข้าว ในระดับห้องปฏิบัติการ ด้วยเทคนิคการทำให้อาหารเป็นพิษ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย Duncan’s Multiple Range Tests (DMRT) จำนวน 3 ซ้ำ ที่ความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร (ส่วนในล้านส่วน) พบว่า สารสกัดไดคลอโรมีเทนจากข่าแสดงประสิทธิภาพในการต้านการเจริญของรา R. solani ได้สูงสุด (86.30%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p£0.05) จากผลการทดลองหาประสิทธิภาพของสารสกัดไดคลอโรมีเทนจากข่าที่ความเข้มข้น 200 400 600 800 1,000 และ 1,200 ส่วนในล้านส่วน ต่อการต้านการเจริญของรา R. Solani พบว่า สารสกัดนี้สามารถต้านเชื้อราดังกล่าว 50% (IC50) ที่ระดับความเข้มข้น 583.02 ส่วนในล้านส่วน และสามารถต้านเชื้อราดังกล่าวได้ถึง 100% ที่ระดับความเข้มข้น 1,176 ส่วนในล้านส่วน จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า สารสกัดไดคลอโรมีเทนจากข่ามีประสิทธิภาพในการต้านการเจริญของรา R. solani เชื้อก่อโรคกาบใบแห้งในข้าวในระดับห้องปฏิบัติการ ผลลัพธ์ที่ได้นี้สามารถเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาสารป้องกันกาบใบแห้งในข้าวจากสารสกัดของพืชวงศ์ขิงในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

References

นิพนธ์ ทวีชัย. (2550). การควบคุมโรคพืชโดยวิธีธรรมชาติ. หนังสือเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นพมาศ ตระการรังสี, อารินี ชัชวาลชลธีระ และ วัชรี คุณกิตติ. (2547). การพัฒนาพลูครีมเพื่อใช้ในการรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราซึ่งติดต่อสู่กันระหว่างคนและสัตว์. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42, 441-448.

สร้อยสุดา อุตระกูล และคณะ. (2552). ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากขิง (Zingiber officinale Roscoe) และตะไคร้ (Cymbopogon citratus L.) ต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Aspergillus niger ในเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดและ Alternaria brassicicola ในเมล็ดพันธุ์ผักกาดเขียวปลี. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 40(3) (พิเศษ), 313-316.

สิริวัฒน์ ธุวังควัฒน์. (2536). การป้องกันกำจัดโรคกาบใบแห้งของข้าวหอมที่เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani Kuhn. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) คลังข้อมูลการวิจัยการเกษตรไทย https://tarr.arda.or.th/preview/item/R_2eEljxCkPB-B8N5Fre7?keyword=โรคข้าว

อารินี ชัชวาลชลธีระ, พุทธชาด ศรีโสภา, อุษา นาคสกุล, ปฏิญญา รัตนภักดี, สกุลแก้ว ยาคำ, สิรินารถ พุ่มพับ, กชกร ดิเรกศิลป์ และ กมลชัย ตรงวานิชนาม. (2549). ฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารสกัดขมิ้นชันในการต้านเชื้อ Trichophyton mentagrophytes. วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข., 16(3), 57-64.

Haginiwa, J., Hasada, M. & Morishita, I. (1963). Pharmacological studies on crude drugs. VII. Properties of essential oil components of aromatics and their phamacological effect on mouse intestine. Yakugaku Zasshi, 83:624-628

Liu, Y., Liu, J., & Zhang, Y. (2019). Research Progress on Chemical Constituents of Zingiber officinale Roscoe. BioMed research international, 5370823. https://doi.org/10.1155/2019/5370823

Ongwisespaiboon, O. & Jiraungkoorskul, W. (2017). Fingerroot, Boesenbergia rotunda and its Aphrodisiac Activity. Pharmacognosy reviews, 11(21), 27–30.

Pholtree, K., Thongchure, S., Uaraksakul, P., Pisamayarom, & K., Chanprapai, P. (2022). The efficacy of rice paddy herb essential oil as a herbicide and antimicrobial activity against phytopathogenic bacteria and fungi. Research Square. https://doi.org/10.21203/rs.3.rs-2174507/v1

Srivastava, B., Singh, P., Shukla, R. & Dubey, N.K. (2008). A novel combination of the essential oils of Cinnamomum camphora and Alpinia galanga in checking aflatoxin B1 production by a toxigenic strain of Aspergillus flavus. World Journal of Microbiology and Biotechnology. 24(5), 693–697. http://dx.doi.org/10.1007/s11274-007-9526-0

Tripathi, P., Dubey, N.K., Banerji, R & Chansouria, J.P.N. (2004). Evaluation of some essential oils as botanical fungitoxicants in management of post-harvest rotting of citrus fruits. World Journal of Microbiology and Biotechnology. 20, 317–321. https://doi.org/10.1023/B:WIBI.0000023844.80464.59

Uaraksakul, P. & Chanprapai, P. (2022). In Vitro Antifungal Activity of Boesenbergia rotundo Linn. and Syzygium aromaticum L. Merr. and Perry Extracts against Aspergillus flavus. Medical Sciences Forum. 12(1):8. https://doi.org/10.3390/eca2022-12687

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-21