การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีปัญหาในการอ่านออกเสียง

ผู้แต่ง

  • แวอัสรียา แวนะไล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • วิชัย ตรีเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
  • ธัชกร สุวรรณจรัส บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรม, ทักษะการอ่านออกเสียง, การนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีปัญหาในการอ่านออกเสียงให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงของนักเรียนที่มีปัญหาในการอ่านออกเสียงก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เป็นกรณีศึกษา คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านบางกลาง จังหวัดระนอง จำนวน 3 คน จากการเลือกแบบเจาะจงเป็นกลุ่มที่น่าสนใจ (Critical Case) เนื่องจากนักเรียนมีปัญหาในการอ่านออกเสียง

เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย จำนวน 9 แผน 2) ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย จำนวน 9 ชุด 3) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านออกเสียงมาตราตัวสะกด 8 มาตรา จำนวน 40 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าประสิทธิภาพ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการบรรยายพัฒนาการของนักเรียนเป็นรายบุคคล

ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีปัญหาในการอ่านออกเสียงประกอบด้วย 9 ชุด 2) ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยมีค่าประสิทธิภาพ 80.00/85.83 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และ 3) คะแนนการอ่านออกเสียงมาตราตัวสะกดของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการนวดเพื่อบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยสูงกว่าก่อนเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ขนิษฐา โลหะประเสริฐ, เฉลิมชัย มนูเสวต และชุติมา ทัศโร. (2566). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านร่วมกับเทคนิคเกมิฟิเคชัน (Gamification) เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านคำ ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงาน การศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. วารสารพิกุล, 21(2), 233-252.

จารุวรรณ คงเพชร. (2560). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านสะกดคำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีปัญหาด้านการอ่าน. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(25), 1-8.

ธัชกร สุวรรณจรัส. (2561). เอกสารคำสอน รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

บัณฑิตา ลิขสิทธิ์ และดารณี ศักดิ์ศิริผล. (2560). การพัฒนารูปแบบการแก้ไขการพูดไม่ชัดโดยใช้กระบวนการฝึก AES2D สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 18(2), 17-30.

รัชดากาญจน์ ใยดี. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเเสียงแบบโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโนนตารอด จังหวัดกำแพงเพชร [การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วรรณาภรณ์ พระเมเด. (2562). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยเพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. (ม.ป.ป.). การบริหารอวัยวะที่ใช้ในการพูด. งานแก้ไข การพูด กลุ่มภารกิจวิชาการและการแพทย์ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ.

สมจิต รวมสุข และภรภัทร ธนะศรีสืบวงศ์. (2566). ผลการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาด้านภาษาและการพูดชนิดอะเฟเซียที่มารับบริการงานแก้ไขการพูด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(5), 896-905.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26