รูปแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติก
คำสำคัญ:
การจัดการบำรุงรักษา, อนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า, กระบวนการผลิตบทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติก ประชากรประกอบด้วยผู้รับผิดชอบด้านการอนุรักษ์พลังงาน ด้านการจัดการบำรุงรักษา และด้านการจัดการอุตสาหกรรมพลาสติก ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 3 โรงงาน โรงงานละ 2 คน รวม 6 คน 2) สร้างรูปแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติก โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ประเมินองค์ประกอบแล้วนำผลการประเมินมาออกแบบรูปแบบหลังจากนั้นสร้างเป็นคู่มือรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 3) รับรองรูปแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติก เป็นขั้นตอนการนำคู่มือรูปแบบไปทดลองใช้กับผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติกฝ่ายซ่อมบำรุง จำนวน 20 คน จากนั้นประเมินการใช้รูปแบบ ประเมินค่าพลังงานจากการใช้รูปแบบ และประเมินความสมบูรณ์ของรูปแบบ และสุดท้ายประเมินความสมบูรณ์ของคู่มือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 คน
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า:
1. ผลการศึกษาองค์ประกอบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า ด้านการจัดการบำรุงรักษา การดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน กระบวนการผลิตฟิล์มพลาสติก กระบวนการในการจัดการผลิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสมทุกด้าน ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินความเหมาะสมของประเด็นคำถามว่าทั้งหมดนั้นซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
2. ผลการสร้างรูปแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติก มีค่ามัธยฐาน (Mdn) ระหว่าง 3.00-5.00 มีความจำเป็นจากระดับความจำเป็นปานกลางจนถึงระดับมากและมากที่สุด และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (IQR) ตั้งแต่ 0.00-1.00 แสดงว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกัน ผู้วิจัยจึงได้คัดแยกองค์ประกอบที่ผู้เชี่ยวชาญได้ตอบโดยมีความสอดคล้องกันมากที่สุดอย่างมีนัยที่สำคัญ คือมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (IQR) ต่ำที่สุดคือ 0.00 ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 17 คน มีความเห็นตรงกันเป็นเอกฉันท์ ในขั้นตอนการออกแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า กำหนดองค์ประกอบไว้ คือ การจัดการบำรุงรักษา การดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน กระบวนการผลิตฟิล์มพลาสติก กระบวนการในการจัดการผลิต ขั้นตอนในการสร้างคู่มือ ประกอบด้วย ด้านการวางแผนการอนุรักษ์พลังงานด้านการปฏิบัติตามแผนการอนุรักษ์พลังงาน ด้านการตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติ ด้านการทบทวนแผนการอนุรักษ์พลังงาน
3. ผลการรับรองรูปแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติก ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 เมื่อจำแนกรายข้อพบว่า ในด้านการนำไปปฏิบัติเป็นลำดับแรกโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 รองลงมา คือการวางแผน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 และการทวบทวน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 ด้านการตรวจสอบและติดตาม เป็นลำดับสุดท้ายโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 ผลการประเมินผลก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มพลาสติกผลการเปรียบเทียบค่าพลังงานไฟฟ้าพบว่า กระบวนการหลอมเม็ดพลาสติก จากเดิม 596.00 kW หลังปรับปรุง 575.00 kW กระบวนการฉาบหน้าฟิล์ม จากเดิม 578.20 kW หลังปรับปรุง 556.25 kW กระบวนการยืดตามแนวฟิล์ม จากเดิม 587.10 kW หลังปรับปรุง 548.15 kW กระบวนการตรวจสอบความหนาบางฟิล์ม จากเดิม 510.23 kW หลังปรับปรุง 497.34 kW และกระบวนการตัดม้วนตามขนาดของฟิล์ม จากเดิม 535.00 kW หลังปรับปรุง 525.60 kW อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยปี 2566 อยู่ที่ 3.64 (บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง) ผลการประเมินความสมบูรณ์ของรูปแบบการจัดการบำรุงรักษาเพื่ออนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 คน พบว่ารายการประเมินทุกข้อมีความเหมาะสม ร้อยละ 100
Downloads
References
กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน. (2543). รูปแบบการประหยัดพลังงาน. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2563). คู่มือพัฒนาระบบการจัดการพลังงานกรอบแผนพัฒนาระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. Eastern Economic Corridor: EEC, 2560. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน.
กระทรวงคมนาคม. (2554). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคม 2554-2558. กระทรวง.
กระทรวงพลังงาน. (2554). แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี พ.ศ. 2554-2573. กระทรวง.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2555). การคำนวณการใช้พลังงานไฟฟ้า. กรุงเทพฯ: กระทรวงพลังงาน.
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2543). รายงานการตรวจวิเคราะห์ประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 20 แห่ง. กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2531). การศึกษาการใช้พลังงานในสาขาอุตสาหกรรม. ศูนย์วิจัยและอบรมพลังงาน. 7(3), 222-298.
บูรณะศักดิ์ มาดหมาย. (2553). วิศวกรรมคุณค่า (VE) กับการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม. อินดัสเทรียล เทคโนโลยี รีวิว. 16(206), 113-122.
ประภัสสร์ วังศกาญจน และ มนต์ชัย พฤกษ์วิไลเลิศ. (2557). ระบบการจัดการพลังงานสำหรับอาคารควบคุมภาครัฐ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 22(1), 100-114.
ปรีดา บุญศิลป์. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพด้านการอนุรักษ์พลังงาน บริษัทไออาร์พีซีจำกัด (มหาชน). ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมชัย อัครทิวา. (2547). การดำเนินกิจกรรมเพื่อการปฏิรูปการผลิต TPM. สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.
สมชัย อัครทิวา. (2550). การวิเคราะห์ Makigami (Roll Paper Analysis). สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
สุวรรณ สุทธิขจรกิจการ. (2549). Manufacturing KPI เพื่อมุ่งสู่ TPM. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อภิญญา ขนุนทอง. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: อุตสาหกรรมพลาสติก. จาก Retrieved May 14, 2024, from www.krungsri.com/th/research/industry/industryoutlookPetrochemicals/Plastics/IO/io plastics-21
Barney L. Capehart, Wayne C. Turner and William J. Kennedy. (2003). Guide to energy management. The Fairmont Press, Inc.
Reddy, Amulya K. N., (1991). Barriers to improvements in energy efficiency, Energy Policy, Elsevier, 19(10), 953-961. https://doi.org/10.1016/0301-4215(91)90115-5
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว