การสร้างระบบเตือนภัยฝุ่นละอองและแบบจำลองการพยากรณ์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • คณกร สว่างเจริญ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • สมบัติ ทีฆทรัพย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • พงษ์พันธ์ นารีน้อย สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ภักดี โตแดง สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ระบบเตือนภัย, แบบจำลองการพยากรณ์, ฝุ่นละอองขนาดเล็ก, โครงข่ายประสาทเทียม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้พัฒนาระบบตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่สามารถแจ้งเตือนปริมาณฝุ่นเมื่อเกินค่ามาตรฐานผ่าน Application Line และพยากรณ์ปริมาณฝุ่นล่วงหน้าโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม การสร้างแบบจำลองการพยากรณ์นี้ใช้โปรแกรม Rapid Miner Studio โดยมีจุดติดตั้งเครื่องตรวจวัดฝุ่นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร, ตำบลบางโทรัด จังหวัดสมุทรสาคร และอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มีนาคมถึง 31 พฤษภาคม 2565 เพื่อสร้างแบบจำลอง และระหว่างวันที่ 1 ถึง 30 มิถุนายน 2565 เพื่อเปรียบเทียบผลพยากรณ์ ตัวแปรที่ใช้รวมถึง PM2.5 อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความเร็วลม ผลการวิเคราะห์พบว่าการพยากรณ์ที่มีความแม่นยำสูงสุดเกิดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีค่าความผันผวนต่ำที่สุดที่ 0.03% (MAE = 0.155, MAPE = 0.4%) ในขณะที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรสาครมีค่าความผันผวนที่ 2.31% (MAE = 0.43, MAPE = 5.2%) และ 5.54% (MAE = 2.08, MAPE = 6.5%) ตามลำดับ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการใช้โครงข่ายประสาทเทียมในการพยากรณ์คุณภาพอากาศ ผลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายและแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

----------. (2561). สถานการณ์มลพิษทางอากาศและการดำเนินการภาครัฐในการสัมมนาระดมความคิดเห็นวิกฤตเมืองกรุงเทพฯ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

----------. (2562). ข้อมูลคุณภาพอากาศประเทศไทย. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

----------. (2561). รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศประเทศไทย. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กองทุนวิจัยสุขภาพ. (2562). โครงการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพจากการได้รับฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).

คณกร สว่างเจริญ, สมบัติ ทีฆทรัพย์, พงษ์พันธ์ นารีน้อย, และภักดี โตแดง. (2565). ระบบตรวจจับและเตือนภัยฝุ่น 2.5PM. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2561). การศึกษาผลกระทบของฝุ่นละออง PM2.5 ต่อระบบทางเดินหายใจของประชาชนในเขตเมืองกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลธิชา สมบูรณ์ชัย และคณะ. (2562). ผลกระทบของฝุ่นละออง PM2.5 ต่อสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา: การศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสุขภาพ, 6(3), 58-74.

ธนากร สมบัติวัฒนา และคณะ. (2561). การศึกษาแนวทางการจัดการฝุ่นละออง PM2.5 ด้วยมาตรการต่าง ๆ ในประเทศไทย. วารสารวิจัยการพัฒนาเมือง, 4(2), 101-120.

บุณิกา แก้วเสน่ห์ใน. (2560). การใช้ตัวชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพสำหรับคาดการณ์อัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจของเด็กที่อาศัยในตำบลหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงษ์พันธ์ นารีน้อย. (2559). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาชุมชน. สหธรรมิก.

รัตนา วงษ์สวัสดิ์. (2560). การเปรียบเทียบปริมาณ PM2.5 ระหว่างพื้นที่เขตเมืองและพื้นที่ชนบทในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสิ่งแวดล้อมและพัฒนาที่ยั่งยืน, 8(1), 45-62.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). การจัดการมลพิษทางอากาศจากฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10: แนวทางและนโยบาย. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2562). ผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ต่อสุขภาพประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

สุวัจณีย์ ไม้หอม. (2562). การวิเคราะห์ค่าระดับฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) พื้นที่กรุงเทพมหานครด้วยเทคนิคดาต้าไมนิงค์. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ฐิฏาพร สุภาษี. (2560). การวิเคราะห์ปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวล PM2.5 และ PM10 ในบรรยากาศด้วยเครื่องตรวจวัดฝุ่นละอองไร้สายในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, 2(1), 65-78.

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. (2562). การศึกษาผลของ PM2.5 ต่อสุขภาพประชาชน: กรณีศึกษาในจังหวัดกรุงเทพและปริมณฑล. มหาวิทยาลัยรังสิต.

วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ และคณะ. (2560). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การประเมินทางสถิติความเข้มข้นมลพิษอากาศในกรุงเทพมหานคร. วิทยาลัยพัฒนามหานคร.

สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง. (2560). การติดตามและประเมินคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานคร: รายงานประจำปี 2560. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-21