ความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมในการจัดทำเเผนพัฒนากับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • กัณญาณัฐ เสียงใหญ่ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • พงค์พันธ์ นารีน้อย สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ศิวพร โพธิวิทย์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • อัญมณี ศรีประสิทธิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตของประชาชน, การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลบ่อน้ำร้อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของประชาชนและการมีส่วนร่วมในการจัดทำเเผนพัฒนาในเขตเทศบาลตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนา ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของประชาชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ตลอดจนการศึกษาความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนากับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการวิจัยดังกล่าวเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผ่านการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน

ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของประชาชน ภาพรวมของประชาชนมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาของประชาชน และเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของประชาชน พบว่า อายุ ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพที่แตกต่างกัน คุณภาพชีวิตของประชาชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วน เพศ ที่แตกต่างกัน คุณภาพชีวิตของประชาชนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนากับคุณภาพชีวิตของประชาชน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับประเมินผลมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของประชาชน และสามารถอธิบายคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้ร้อยละ 64.1 ส่วนผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตของประชาชน พบว่า ทั้ง 4 ด้าน  มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับคุณภาพชีวิตของประชาชน

Downloads

Download data is not yet available.

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 2). บพิธการพิมพ์.

จินตนา รัตนวงษา. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขวา อำเภอมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. คลังดิจิทัล.https://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2561/127082/Rattanawongsa%20Jintana.pdf

ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. (2559). การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ 11 ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. [สารนิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. คลังสารสนเทศดิจิทัล. https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5705037090_4994_4008.pdf

ภูเมศ เตชทองไพฑูรย์. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. [งานวิจัยรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย]. ระบบสารสนเทศงานวิจัย มทร.ศรีวิชัย. https://riss.rmutsv.ac.th/project/?id=2633

วิลัยจิตร เสนาราช. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. คลังดิจิทัล. https://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2559/119953/Wilaijit%20Senarat.pdf

สราวุธ สืบเพ็ชร์. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. คลังดิจิทัล. https://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2562/M126834/Suebpech%20Saravut.pdf

โสภิดา ศรีนุ่น. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา. [สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่].

สำนักงานทะเบียนราษฎร์เทศบาลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ข้อมูลทั่วไปของเทศบาลตำบลบ่อน้ำร้อน.(2563, มกราคม 4). http://www.bornamron.go.th/.

อนรรฆ อิสเฮาะ. (2562). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลสะกอม อําเภอเทพา จังหวัดสงขลา. [สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12343

อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2562). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทยกรณีศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานีและนนทบุรี. [งานวิจัยปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเเละการจัดการสมัยใหม่ มหาลัยวิทยาลัยศรีปทุม]. คลังข้อมูลสถาบันมหาลัยวิทยาลัยศรีปทุม. https://dspace.spu.ac.th/items/89e456e6-c031-45c7-b0c8-775d871e0ad1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23