แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของโครงการสนามกีฬาชุมชนชนบทในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชัยยศ ใคร่ครวญ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • พงษ์ศักดิ์ เพชรสถิตย์ สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • อนันต์ ธรรมชาลัย สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

คุณลักษณะองค์กรการจัดการสนามกีฬา, โครงการสนามกีฬาชุมชนชนบท, การจัดการสนามกีฬา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการโครงการสนามกีฬาชุมชนชนบทในประเทศไทย ปัจจัยการบริหารจัดการโครงการสนามกีฬาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการโครงการสนามกีฬาชุมชนชนบทในประเทศไทย และแนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของโครงการสนามกีฬาชุมชนชนบทในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 164 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน

ผลการวิจัยในส่วนของกระบวนการบริหารจัดการโครงการสนามกีฬาชุมชนชนบทในประเทศไทย พบว่า ควรทบทวน แผนพัฒนาและวิเคราะห์ภารกิจ ประเมินผลอย่างเป็นระบบ จัดอบรมบุคลากร บูรณาการงบประมาณร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น และสนับสนุนกิจกรรมเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน ขณะที่ปัจจัยการบริหารการจัดการโครงการสนามกีฬาในชุมชนชนบทในประเทศไทย ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการโครงการสนามกีฬาในชุมชนชนบทโดยรวมได้ร้อยละ 75.4 ส่วนแนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของโครงการสนามกีฬาชุมชนชนบทในประเทศไทยมีจำนวน 5 แนวทาง กล่าวคือ การจัดกิจกรรมประชาพิจารณ์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการวางแผนและบริหารจัดการสนามกีฬา การหาทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก การปรับปรุงแผนการจัดการที่มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายในชุมชน และการจัดทำแผนการบริหารจัดการและการบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมพลศึกษา. (24 กรกฎาคม 2565). ระบบฐานข้อมูลสนามกีฬาในประเทศไทย. htpps://stadium.dpe.go.th

กาณชาญ รังสีวรรธนะ. (2560). การจัดการสนามกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารศิลปการจัดการ, 1(1), 1-10.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (6 พฤษภาคม 2563). BA Theory แนวคิดและทฤษฎี Luther Gulick รูปแบบการบริหารจัดการ 7 ประการ (POSDCORB). https://www.iok2u.com/article/business-administrator/ba-theory-luther-gulick-7-posdcorb

ธณัฐพล ชะอุ่ม. (2558). การบริหารจัดการทีมีผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในเขตภาคกลางของประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม]. ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม. https://e-research.siam.edu/kb/2015-12-04-02-54-7/

ธัญลักษณ์ หงส์โต และยุวดี วงค์ใหญ่. (2559). ความพึงพอใจและความสำคัญในการใช้บริการสนามกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 3, 9-16.

นรศักดิ์ เหมนิธิ. (2556). ตัวแบบการจัดการด้านความปลอดภัยในสนามกีฬา สำหรับการจัดการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 7(2), 211-219.

นิยม ดวงมณี. (2558). แนวทางการบริหารจัดการศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติลาว. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. คลังปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา. https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10620

ปรีชา พงษ์เพ็ง (2558). ปัจจัยการบริหารจัดการที่ตอบสนองต่อผู้รับบริการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติกรณีศึกษา: วิทยาเขตภาคกลาง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 11(1), 79-90.

พิเชฐ สยมภูวนาถ. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการจัดการกีฬาในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(3), 212-225.

พัชรมน รักษพลเดช, และกฤษฎา ปาณะเสรี. (2562). คุณภาพการบริการ ความพึงพอใจของผู้ชม และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในอุตสาหกรรมกีฬา. Humanities, Social Sciences and arts, 12(6), 2046-2065.

สราวุฒิ พงษ์พิพัฒน์, ประกรณ์ ตุ้ยศรี และ ณัชชาจารย์ โรจน์วัฒนดิษกุล. (2560). การบริหารจัดการศูนย์กีฬาและศูนย์วิทยาศาสตร์กีฬา ในมหาวิทยาลัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(2), 52-61.

สิทธิพงษ์ ปานนาค, สุนันทา ศรีศิริ, อุษากร พันธุ์วานิช, และกมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน. (2560). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการบริหารจัดการองค์กรกีฬาในประเทศไทย: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 91-113.

สิทธิพงษ์ ปานนาค, สุนันทา ศรีศิริ, อุษากร พันธุ์วานิช, และกมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน. (2561). การสังเคราะห์แผนกลยุทธ์: แนวทางการบริหารจัดการองค์กรกีฬาในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(1), 334-346

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23