ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผักสลัดกรีนโอ๊คที่ปลูกใช้ในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

ผู้แต่ง

  • จาริวัฒณ์ ศิริอินทร์ สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • นุกูล สาระวงศ์ สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • สมบัติ ทีฆทรัพย์ สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • จักรพงษ์ หรั่งเจริญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

ผักสลัดกรีนโอ๊ค, ระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน, ปริมาณไนเตรทตกค้าง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผักสลัดกรีนโอ๊ค (Lactuca sativa var. crispa L.) ที่ปลูกในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแบบ NFT (Nutrient Film Technique) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์โดยใช้สูตรสารละลายธาตุอาหาร ได้แก่ น้ำหมักชีวภาพนมสด สารละลายธาตุอาหารน้ำหมักนมสดโดยกระบวนการทางชีวภาพ สารละลายธาตุอาหารตามกรรมวิธีของเกษตรกร และสารละลายธาตุแบบอินทรีย์ทางการค้า เพื่อใช้เป็นตัวเปรียบเทียบในการเจริญเติบโตของผักกาดหอมกรีนโอ๊ค โดยทำการปลูกเป็นเวลา 28 วัน ผลการศึกษาพบว่า สารละลายธาตุแบบอินทรีย์ทางการค้า + สารละลายธาตุอาหารตามกรรมวิธีของเกษตรกร อัตราส่วน 1:1 ให้ค่าการเจริญเติบโตทางด้านจำนวนใบ ความสูงต้น และน้ำหนักสดสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 23.55±1.23 ใบ 27.00±1.3 เซนติเมตร 101.61±9.83 กรัมต่อต้น ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบการเติมสารละลายธาตุอาหารสารละลายธาตุแบบอินทรีย์ทางการค้า (Treatment 3)  กับน้ำหมักนมสดโดยกระบวนการทางชีวภาพ (Treatment 2) พบว่า น้ำหมักนมสดโดยกระบวนการทางชีวภาพ ให้ค่าความกว้างทรงพุ่มที่ดีกว่า ในวันที่ 7 14 และ 21 หลังจากย้ายปลูก โดยมีค่าเฉลี่ยความกว้างทรงพุ่มเท่ากับ14.25±0.88 24.35±1.50 และ 25.20±1.74 เซนติเมตรตามลำดับ ในขณะที่ ชุดการทดลองควบคุม (ไม่เติมสารละลายธาตุอาหาร) (Treatment 1) สารละลายธาตุอาหารน้ำหมักนมสดโดยกระบวนการทางชีวภาพ (Treatment 2) และสารละลายธาตุอาหารน้ำหมักนมสดโดยกระบวนการทางชีวภาพ + สารละลายธาตุแบบอินทรีย์ทางการค้า อัตราส่วน 1:1 (Treatment 5) มีปริมาณไนเตรทสะสมน้อยที่สุด และทั้ง 3 กรรมวิธีไม่แตกต่างทางสถิติที่ P= 0.05 โดยปริมาณไนเตรทสะสมเฉลี่ยเท่ากับ 155.00 ±2.00 235.63 ±1.23 และ 273.30 ±1.50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ และค่าที่พบไม่สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด (2,500 มก./น้ำหนักสด 1 กก.) โดยสรุปข้อมูลที่ได้จากการทดลองในครั้งนี้เป็นข้อเสนอแนะให้เกษตรกรสามารถลดการใช้สารเคมีในการปลูกผัก และใช้น้ำหมักชีวภาพเป็นทางเลือกทดแทนเพื่อลดความเสี่ยงปริมาณไนเตรทตกค้างเกินมาตรฐาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรรณิกา จ้าเสียง. (2555). ปริมาณไนเตรตที่ตกค้างในผักสลัด (Green oak). ปัญหาพิเศษปริญญาตรี.สาขาวิชาชีววิทยา, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จาริวัฒณ์ ศิริอินทร์, เธียร ธีระวรวงศ์, และนราศักดิ์ บุญมี. (2564). ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผักสลัดเบบี้เรดคอสที่ปลูกในระบบไฮโดรพอนิกส์. วารสารแก่นเกษตร. 49(2): 304-311. doi:10.14456/kaj.2021.26.

วรรณวรางค์ พัฒนะโพธิ์, ศุภลักษณ์ ชิตวรกุล, วลัยพร มูลพุ่มสาย, ศิโรรัตน์ เขียนแม้น และ ธนะชัย พันธ์เกษมสุข. (2558). การประเมินความเสี่ยงของปริมาณไนเตรตตกค้างในผักไฮโดรโพนิกส์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 46(3), 331-334.

สุภาพร ราชา และศิรศาธิญากร จันทร์ขศิราพร. (2560). ผลของน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลาและผักที่มีต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาของผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊คที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 22(1), 215-224.

อารีรัตน์ ขณะรัตน์, คณิตา ตังคณานุรักษ์, รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ. (2561). ผลของน้ำหมักชีวภาพจากของเหลือทิ้งโรงงานอุตสาหกรรมปลาป่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตขิงผักกาดหอมห่อและดาวเรือง. วารารวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 8(1): 43-53.

สมเกียรติ พรพิสุทธิมาส. (2555). น้ำหมักชีวภาพกับงานด้านเกษตร. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 3(1): 59-65.

European Commission. (1997). Commission Regulation (EC) No. 194/97 of 31 January 1997. Official. Journal of the European Communities, (31),48-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23