การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินของการดำเนินกิจกรรมเสริม กรณีศึกษาเกษตรกรปลูกอ้อย

ผู้แต่ง

  • จุมทิพย์ เสนีย์รัตนประยูร ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความเป็นไปได้ทางการเงิน, อ้อย, กิจกรรมเสริม

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเกษตรกรไร่อ้อยในประเทศไทยเผชิญความท้าทายหลายด้าน เช่น การผันผวนของราคาผลผลิต การขาดแคลนแรงงาน และภัยแล้ง ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ผลผลิตและรายได้จากการปลูกอ้อยผันผวน เกษตรกรจึงหากิจกรรมเสริมเพื่อสร้างรายได้ระหว่างรอเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น  การปลูกพืชแซม และการขายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นต้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคุ้มค่าทางการเงินของการดำเนินกิจกรรมเสริมรายได้ของเกษตรกรปลูกอ้อย เกษตรกรสามารถใช้ผลการศึกษาเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกกิจกรรมเสริมรายได้ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของการดำเนินกิจกรรมเสริมรายได้ของเกษตรกรปลูกอ้อย โดยอาศัยข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรปลูกอ้อยในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ แบ่งเป็นเกษตรกรปลูกอ้อยที่ดำเนินกิจกรรมเสริมรายได้ จำนวน 11 ราย และเกษตรกรปลูกอ้อยที่ไม่ได้ดำเนินกิจกรรมเสริมรายได้ จำนวน 9 ราย การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการใช้ดัชนีมูลค่าผลตอบแทนปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) และอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefit-Cost Ratio: B/C ratio)

          ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมเสริมที่เกษตรกรปลูกอ้อยเลือกมากที่สุด คือ การปลูกพืชแซม ต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ของเกษตรกรอ้อยที่ทำกิจกรรมเสริมรายได้มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ทำกิจกรรมเสริมรายได้ เนื่องจากการปลูกพืชแซมเสียค่าใช้จ่ายเมล็ดพันธุ์และค่าเก็บเกี่ยวผลผลิตเพิ่ม อย่างไรก็ตามผู้ที่ทำกิจกรรมเสริมได้รับรายได้เฉลี่ยมากกว่าผู้ที่ไม่ทำกิจกรรมเสริม ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุน โดยมูลค่าผลตอบแทนปัจจุบันสุทธิของเกษตรกรที่ดำเนินและไม่ดำเนินกิจกรรมเสริมรายได้ เท่ากับ 52,337.92 บาท และ 33,913.67 บาท ส่วนค่าอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน เท่ากับ 1.34 และ 1.27 ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

References

ฐานเศรษฐกิจ. (28 กรกฎาคม 2566). “อ้อยไทย” วิกฤต 6 ปัญหารุม วัตถุดิบไม่พอป้อนโรงงาน. www.thansettakij.com/columnist/exclusive-area/571941

ณัชนันท์ อัครเดชาพณิช, และทตมัล แสงสว่าง. (2564). การวิเคราะห์หาต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกอ้อยของชาวไร่อ้อยในอำเภอบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น ปีการเพะปลูก 2562/2563. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 1-14.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (1 มิถุนายน 2567). อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม. https://www.baac.or.th/file-upload-manual/rate/2567/Loan_rate10012567.pdf

ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์, อนุพงศ์ วงค์ตามี, ครรชิต สุขนาค, และเทพสุดา รุ่งรัตน์. (2562). การจัดการระบบการปลูกอ้อยเพื่อเพิ่มผลกำไรและการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ.https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/309462

พัชรินทร์ เบ้าหิน, และศิริกุล ตุลาสมบัติ. (2562). การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้].

พัชนี อาภรณ์รัตน์, และอุษา จักราช. (2555). การปลูกพืชสลับในไร่อ้อยเพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. แก่นเกษตร, 40(3), 163-170.

เพียรศักดิ์ ภักดี, และไพฑูรย์ คัชมาตย์. (2551). ต้นทุนการผลิตอ้อยในพื้นที่ส่งเสริมของโรงงานน้ำตาลขอนแก่น ปีการเพาะปลูก 2550/2551. แก่นเกษตร, 36(4), 315-328.

เยาวเรศ ทับพันธุ์. (2551). การประเมินโครงการตามแนวทางเศรษฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัชนี โตอาจ. (2558). การวิเคราะห์โครงการและแผนงาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล. (1 พฤษภาคม 2567). รายงานสถานการณ์การปลูกอ้อยปีการผลิต 2565/66. https://www.ocsb.go.th/2023/reports-articles/area-yield/21623/

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (1 มิถุนายน 2567). สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตร (ข้อมูลพื้นฐาน). https://www.oae.go.th/view/1/เอกสารเผยแพร่ย้อนหลัง/TH-TH

Ouko, K. O., Ogola, R. J. O., Oketch, M. O., Midamba, D. C., Ogweno, P. O., Nyangweso, G. N., Mutonyi, J., Ng’ong’a, C. A., & Muteti, F. N. (2022). Socio-economic Determinants of Sugarcane- Soybean Intercropping among Smallholder Farmers in Awendo Sub-County, Kenya. Asian Journal of Agricultural Extension, Economics & Sociology, 40(11), 373-388. https://doi.org/10.9734/ajaees/2022/v40i111724

Shukla, S. K., Sharma, L., Jaiswal, V. P., Dwivedi, A. P., Yadav, S. K., & Pathak, A. D. (2022). Diversification options in sugarcane-based cropping systems for doubling farmers’ income in subtropical India. Sugar Tech, 24(4), 1212-1229. https://doi.org/10.1007/s12355-022-01127-1

Singh, P., Singh, S.N., Tiwari, A.K., Pathak, S.K., Singh, A.K., Srivastava, S., & Mohan, N. (2019). Integration of sugarcane production technologies for enhanced cane and sugar productivity targeting to increase farmers’ income: strategies and prospects. 3 Biotech, 9(2), 33-48. https://doi.org/10.1007/s13205-019-1568-0

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23