บทบาทของอีแฟล็ตคลาริเน็ตในผลงานประพันธ์ของนักประพันธ์เพลงชาวไทย
คำสำคัญ:
อีแฟล็ตคลาริเน็ต, นักประพันธ์เพลงชาวไทย, วงดุริยางค์เครื่องลมบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจุดมุ่งหมายในการนำอีแฟล็ตคลาริเน็ตมาใช้ใน ผลงานประพันธ์เพลงและศึกษาแนวโน้มของบทบาทในการใช้อีแฟล็ตคลาริเน็ตในการประพันธ์เพลงของนักประพันธ์เพลงชาวไทย ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์นักประพันธ์เพลง เลือกศึกษา และวิเคราะห์บทประพันธ์เพลงสำหรับวงออร์เคสตรา และวงดุริยางค์เครื่องลมเท่านั้น จากการวิจัยพบว่า บทบาทของอีแฟล็ตคลาริเน็ตในผลงานประพันธ์เพลงของนักประพันธ์ เพลงชาวไทยมักถูกใช้เพื่อจุดประสงค์ตามลำดับ คือ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนแนวทำนอง อันจะช่วยให้เสียงของกลุ่มเครื่องเป่าลมไม้ชัดเจนขึ้น เพื่อเพิ่ม/สร้างสีสันในการผสมเครื่องดนตรีที่แปลกใหม่ และเพื่อรับหน้าที่ในการบรรเลงเดี่ยวในช่วงขณะหนึ่ง อันเป็นการแสดงถึงคุณลักษณะเสียงของอีแฟล็ตคลาริเน็ตโดยเฉพาะ สำหรับประเด็นการใช้อีแฟล็ตคลาริเน็ตของนักประพันธ์เพลงชาวไทย พบว่ามีแนวโน้มว่าจะมีการนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
References
2. สิทธิกุล บุญอิต. “กลกามและความฝันใน Hector Berlioz’s Symphony Fantastique.” วารสารดนตรีรังสิต. 3 (January-June 2008): 53-59.
3. Baines, Anthony. Woodwind Instruments and Their History. New York: Dover Publications, 1967.
4. Brymer, Jack. Yehudi Menuhin Music Guides Clarinet. London: Kahn&Averill, 1990.
5. Del Mar, Norman. Anatomy of the Orchestra. London: Faber and faber, 2009.
6. Gardiner, Kathleen M,. “An Annotated Bibliography of Twentieth Century Solo and Chamber Literature for the E-Flat Clarinet.” Doctor of Musical Arts, Graduate School, Ohio State University, 2002.
7. Roberts, Andrew. “Playing the E flat Clarinet.” [Online] available at : https://www.theclarinet.co.uk/articles/playing-the-e-flat-clarinet/, 27 October 2015.
8. Tschaikov, Basil. “The High Clarinets.” In The Cambridge Companion to the Clarinet, pp. 43-55.
9. Lawson, Colin., ed. London: Cambridge University Press, 1995.