วาระการพิมพ์ : ปีละ 2 ฉบับ
ฉบับที่ 1 : มกราคม-มิถุนายน
ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม-ธันวาคม
ภาษา : ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
การพิจารณาบทความ : Double-Blind Peer Reviews
คำแนะนำผู้เขียน
ดาวน์โหลดตัวอย่างหน้ากระดาษบทความภาษาไทย
ดาวน์โหลดตัวอย่างหน้ากระดาษบทความภาษาอังกฤษ
วารสารดนตรีรังสิต เป็นวารสารที่มีการประเมินบทความก่อนตีพิมพ์ ซึ่งบทความแต่ละบทจะถูกพิจารณาคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน ที่มีองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญตรงหรือเกี่ยวเนื่องกับสาขาของบทความ ผู้ประเมินจะไม่ทราบว่ากำลังพิจารณาบทความของผู้เขียนคนใด พร้อมกันนั้นผู้เขียนบทความจะไม่สามารถทราบว่าใครเป็นผู้พิจารณา (Double-Blind Review) โดยบทความและผลงานการศึกษาวิจัยที่ประสงค์ส่งพิมพ์ ในวารสารดนตรีรังสิตต้องอยู่ในรูปแบบดังต่อไปนี้
1. ผู้เขียนต้องระบุประเภทของบทความว่าเป็นบทความประเภทใด เช่น บทความวิชาการ บทความวิจัย บทความสร้างสรรค์ บทวิเคราะห์ หรือบทความอื่น ๆ โดยส่งถึงกองบรรณาธิการฯประกอบด้วยต้นฉบับของบทความในรูปแบบ MS Word และ PDF (ต้องส่งทั้ง 2 แบบ)
2. บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ภาษาใดภาษาหนึ่ง) ความยาวของบทความรวมตัวอย่าง ภาพประกอบ โน้ตเพลง บรรณานุกรม และอื่น ๆ ไม่ควรเกิน 20 หน้ากระดาษพิมพ์ A4 โดยเฉพาะส่วนของเนื้อหาไม่เกิน 8,000 คำ (ไม่รวมเชิงอรรถและบรรณานุกรม) สำหรับการตั้งค่าหน้ากระดาษ (Margin) ด้านบน 4.57 ซม. ด้านล่าง ด้านซ้าย และด้านขวา 2.54 ซม. และตั้งค่าระยะขอบ (Layout) หัวกระดาษ 2.54 ซม. และท้ายกระดาษ 1.27 ซม. โดยใช้แบบอักษรมาตรฐาน TH Sarabun New ตลอดทั้งบทความ และมีส่วนประกอบของบทความที่สำคัญตามลำดับ ดังนี้
2.1 ชื่อเรื่อง (Title) สำหรับบทความภาษาไทย ต้องระบุชื่อเรื่องทั้
2.2 ชื่อผู้เขียน (Author) ใช้อักษรขนาด 14 pt จัดต่อจากชื่อเรื่องชิดขวา ระบุข้อมูลเฉพาะชื่อ-นามสกุล ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษของผู้เขียนเท่านั้น (ไม่ต้องใส่ตำแหน่งทางวิชาการ) หากมีผู้เขียนร่วมจะต้องระบุข้อมูลให้ครบถ้วนเช่นเดียวกับผู้เขียนหลัก
2.3 บทคัดย่อแบบขยาย (Extended Abstract) สำหรับบทความภาษาไทยต้องมีบทคัดย่อแบบขยายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนบทความภาษาอังกฤษมีเพียงบทคัดย่อแบบขยายภาษาอังกฤษเท่านั้น ใช้อักษรปกติขนาด 16 pt จัดแนวพิมพ์แบบกระจายบรรทัด (Thai Distributed) โดยบทคัดย่อแบบขยายภาษาอังกฤษให้มีจำนวนรวมประมาณ 700-800 คำ ส่วนบทคัดย่อภาษาไทยให้มีความหมายตรงกับบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (ไม่จำกัดจำนวนคำ) ซึ่งบทคัดย่อแบบขยายแต่ละภาษาจำกัดจำนวนหน้าภาษาละไม่เกิน 3 หน้า (รวม 6 หน้า) โดยมีโครงสร้างดังต่อไปนี้
- บทนำ วัตถุประสงค์และขอบเขตการศึกษา รวมถึงข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี)
- สำหรับบทความวิจัยหรือบทความสร้างสรรค์ระบุวิธีการหรือขั้นตอนในการวิจัย
ส่วนบทความวิชาการอาจเป็นวิธีการศึกษา การรวบรวมข้อมูล - ผลการศึกษา
- สรุปและอภิปรายผล
หมายเหตุ : แต่ละประเด็นสามารถแบ่งออกเป็น 2-4 ย่อหน้า
2.4 คำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ภาษาละ 3-5 คำ) ใต้บทคัดย่อของภาษานั้น ๆ
2.5 ระบุข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานต้นสังกัด (Affiliation) และอีเมล (Email) ของผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author) โดยใช้อักษรขนาด 14 pt ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยชื่อคณะ มหาวิทยาลัย จังหวัด ประเทศ ใต้ชื่อ-นามสกุลทุกคน ส่วนอีเมลของผู้ประพันธ์บรรณกิจใช้รูปแบบเชิงอรรถ (Footnote)
2.6 เนื้อหา (Content) ใช้อักษรปกติ ขนาด 16 pt จัดแนวพิมพ์แบบกระจายบรรทัด ไม่เว้นบรรทัดระหว่างย่อหน้า หากเป็นบทความวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ ควรมีเนื้อหาที่ครอบคลุมในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ บทนำ วัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตการศึกษาและ/หรือข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) วิธีการศึกษาหรือวิธีการดำเนินงานวิจัย (ถ้ามี) ผลการศึกษา สรุปและอภิปรายผล วันและสถานที่การจัดแสดง (ถ้ามี) หากเป็นบทความที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ให้ระบุชื่อของแหล่งทุนในส่วนของกิตติกรรมประกาศตามเงื่อนไขการรับทุน
2.7 กรณีชื่อบทเพลงทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ซึ่งปรากฎในเนื้อหาของบทความ ให้ใช้ตัวอักษรเอน (Italic) เช่น บทเพลง มิติแห่งอากาศธาตุ (Ether-Cosmos) ยกเว้นชื่อบทความและหัวข้อสำคัญให้ใช้ตัวอักษรตรง
2.8 สำหรับบทความภาษาไทย ไม่ควรใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยไม่จำเป็น
2.9 บรรณานุกรม (Bibliography) ไม่ควรเกิน 1 หน้า ใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น ขนาด 16 pt จัดแนวพิมพ์แบบชิดซ้ายโดยบรรทัดต่อมาของรายการเดียวกันจะต้องย่อหน้าเข้า 1.25 ซม. และต้องจัดเรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ รายการบรรณานุกรมไม่ควรมีน้อยกว่า 8 แหล่ง (ดูวิธีการอ้างอิงด้านล่าง)
2.10 รายการอ้างอิงภายในเนื้อหาให้ใช้รูปแบบเชิงอรรถ โดยใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น ขนาด 14 pt หากอ้างอิงซ้ำแหล่งข้อมูลเดิมให้ใช้การอ้างอิงแบบย่อ (ไม่ใช้ ibid.) รายการอ้างอิงภายในเนื้อหาไม่ควรน้อยกว่า 8 รายการ และต้องระบุในบรรณานุกรมท้ายบทความครบถ้วนทุกรายการ (ดูวิธีการอ้างอิงด้านล่าง)
2.11 ควรหลีกเลี่ยงแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือและอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านลิขสิทธิ์ เช่น Wikipedia และ Blog ต่าง ๆ
2.12 การเขียนเชิงอรรถและบรรณานุกรมให้ดูตัวอย่างจากรายละเอียดหลักเกณฑ์การเขียนเชิงอรรถและบรรณานุกรม (ดูวิธีการอ้างอิงด้านล่าง) กรณีนอกเหนือจากรายละเอียดดังกล่าว ให้พิจารณาการอ้างอิงตามระบบ the Chicago Manual of Style
3. กรณีบทความมีตาราง รูปภาพ รูปกราฟฟิก หรือตัวอย่างประกอบ ควรใช้รูปที่มีขนาดเหมาะสมและมีคุณภาพสีรวมถึงความละเอียดสำหรับการพิมพ์ (ไฟล์รูปชนิด TIFF หรือ JPEG ความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi ขนาดไฟล์ไม่น้อยกว่า 500 KB) ถ้ามีเส้นและ/หรือตารางควรมีความหนาไม่ต่ำกว่า 0.5 pt นอกจากนี้ข้อมูลในตาราง รูปภาพ รูปกราฟฟิก หรือตัวอย่างประกอบ ต้องใส่เป็นข้อมูลภาษาอังกฤษทั้งหมด รวมถึงระบุเลขที่เรียงตามลำดับเป็นตัวเลขอารบิกตามด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ เช่น Table 1 หรือ Example 1 เป็นต้น
4. กรณีโน้ตเพลง ไม่อนุญาตให้ใช้การถ่ายเอกสารแบบตัดปะ (Copy and Paste) ผู้เขียนต้องพิมพ์โน้ตใหม่โดยใช้โปรแกรมสำหรับพิมพ์โน้ต เช่น โปรแกรม Sibelius หรืออื่น ๆ โดยบรรทัด 5 เส้น ต้องมีความสูงโดยประมาณ 0.5 ซม. และควรมีขนาดตัวอย่างที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกันทั้งหมด และหากมีการใช้สัญลักษณ์ทางดนตรีภายในเนื้อหา ให้ใช้รูปแบบตัวอักขระทางดนตรีโดยเฉพาะ (แนบไฟล์รูปแบบตัวอักขระ ถ้าจำเป็น)
5. กรณีที่เป็นบทความวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา (วิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์) ต้องได้รับการรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักเป็นลายลักษณ์อักษรในการนำผลงานเสนอตีพิมพ์ อีกทั้งมีชื่อลำดับถัดจากผู้เขียน
6. กรณีที่เป็นบทความที่มีผู้เขียนมากกว่า 1 คน จะต้องมีใบรับรองจากผู้เขียนร่วมทุกคนเป็นลายลักษณ์อักษร
หมายเหตุ : บทความที่มีการนำระบบ AI (Artificial Intelligence หรือระบบปัญญาประดิษฐ์) มาใช้ประกอบในการเขียนบทความ ต้องมีการปรับปรุงโดยผู้เขียน พร้อมทั้งแจ้งกองบรรณาธิการวารสารดนตรีรังสิตขณะนำส่งบทความต้นฉบับ นอกจากนี้ วารสารฯ ไม่ยินยอมให้นำรูปภาพ ภาพกราฟิก แผนผัง ตาราง หรืออื่น ๆ ที่สร้างขึ้นจากระบบ AI มาใช้ในการตีพิมพ์ หากวารสารฯ ตรวจพบในภายหลังว่า บทความที่ได้รับการตอบรับตีพิมพ์ หรือได้ตีพิมพ์เผยแพร่เรียบร้อยแล้ว ทางวารสารฯ จะดำเนินการถอดถอนบทความนั้นทันที
รูปแบบการอ้างอิง
วารสารดนตรีรังสิตกำหนดให้ใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมตามคำแนะนำด้านล่าง ซึ่งบทความแต่ละบทต้องระบุแหล่งที่มาของข้อมูลภายในเนื้อหาด้วยเชิงอรรถท้ายหน้า (Footnote) และบรรณานุกรม (Bibliography) ท้ายบทความ โดยแหล่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเป็นภาษาใดก็ตามให้ใช้หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด (ทั้งในเชิงอรรถและบรรณานุกรม) แต่ให้ระบุภาษาของเอกสารต้นฉบับไว้ด้านท้ายแหล่งข้อมูลรายการนั้น เช่น (in Thai) (in Italian) (in Chinese) (in Japan) หรืออื่น ๆ
สำหรับบรรณานุกรมผู้เขียนชื่อแรกให้ใช้นามสกุลขึ้นก่อนเสมอ-ตามด้วยชื่อเต็ม (ไม่ใช้อักษรย่อ) ส่วนผู้เขียนคนต่อไป (ถ้ามี) ใช้ชื่อ-นามสกุล และให้จัดเรียงบรรณานุกรมตามตัวอักษรภาษาอังกฤษของผู้เขียนชื่อแรก อีกทั้งปีที่พิมพ์ให้เปลี่ยนเป็นคริสต์ศักราช
การเขียนเชิงอรรถท้ายหน้าและบรรณานุกรม ให้สังเกตแหล่งข้อมูลแต่ละประเภทจะใช้เครื่องหมาย . (จุด) , (จุลภาค) “...” (เครื่องหมายคำพูด) เครื่องหมายวงเล็บ ตัวอักษรพิมพ์เล็ก-ใหญ่ ตัวอักษรเอนหรือตรง หรืออื่น ๆ แตกต่างกัน นอกจากนี้ แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์ครั้งแรกไม่ต้องใส่ครั้งที่ตีพิมพ์
หากไม่พบประเภทแหล่งข้อมูลตามข้างต้นให้ศึกษาการเขียนรายการอ้างอิงและบรรณานุกรม ตามรูปแบบการอ้างอิง Chicago Manual of Style จากนั้นกองบรรณาธิการวารสารฯ จะพิจารณาตามความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง