วัฒนธรรมดนตรีกับวิถีชีวิตในท้องถิ่นภาคตะวันออก: กรณีศึกษา หนังตะลุงคณะรักษ์ตะลุง จังหวัดตราด
คำสำคัญ:
หนังตะลุง, วัฒนธรรมดนตรีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านดนตรีวิทยา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจแหล่งข้อมูลพื้นฐานทางวัฒนธรรมดนตรีกับวิถีชีวิตชุมชนในท้องถิ่นภาคตะวันออก : กรณีศึกษาหนัง ตะลุงคณะรักษ์ตะลุง จังหวัดตราด 2) เพื่อนำข้อมูลวัฒนธรรมดนตรีกับวิถีชีวิตชุมชนในท้องถิ่นภาคตะวันออก: กรณีศึกษาหนังตะลุงคณะรักษ์ตะลุง จังหวัดตราด มาบันทึกตามกระบวนการทางด้านดนตรีวิทยา ผลการศึกษาพบว่า 1) คณะรักษ์ตะลุง จังหวัดตราด มีนายเฟื้อง ใจเที่ยง เป็นหัวหน้าคณะ ก่อตั้งคณะครั้งแรกโดยครูฉอ้อนและครูโสน นุชสมบัติ โดยนายเฟื้องเป็นลูกศิษย์รุ่นที่ 2 และยังไม่มีผู้สืบทอด ลักษณะการแสดง การเชิดหนังคล้ายการเชิดหนังใหญ่ ใช้ภาษาภาคกลางในการร้องและ ภาษาถิ่นตราดในการพากย์ ใช้วรรณกรรมจากรามเกียรติ์และนิทานพื้นบ้านเป็นหลัก 2) บทบาทของงานดนตรีที่มีต่อวิถีชีวิตในชุมชน โดยทำหน้าที่ให้ความบันเทิงกับชุมชนในเทศกาลประเพณีบุญต่างๆ รวมทั้งในพิธีกรรม เช่น งานแก้บน เป็นต้น 3) รูปแบบอัตลักษณ์ของงานดนตรี การประสมวงใช้ เครื่องดนตรีเพียง 5 ชิ้น ได้แก่ โทน กลองตุ๊ก ฉิ่ง ขลุ่ย ซอด้วง บทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ส่วนใหญ่ใช้วิธีการด้น โดยนำทำนองจากเพลงไทยเดิมและเพลงพื้นบ้าน มาผสมผสานทำนองเพลง เพื่อให้บทเพลงมีเนื้อหาและความยาวพอดีกับบทร้องและบทพากย์ ในด้านจังหวะมีรูปแบบจังหวะดังนี้ ช่วงโหมโรงจะใช้รูปแบบจังหวะ 9 รูปแบบ ช่วงบทไหว้ครู 1 รูปแบบ และเข้าสู่ช่วงประกอบการแสดงจะ ใช้รูปแบบจังหวะ 3 รูปแบบ สลับกันไปในการดำเนินเรื่อง
References
2. คิด ทองได้คล้าย. “ศึกษาเปรียบเทียบหนังตะลุงทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกกับภาคใต้ฝั่งตะวันตก.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาไทยคดีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2544.
3. พงศธร สุธรรม. “วิเคราะห์ดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุงคณะ ส.ศิษย์กระบกขึ้นผึ้ง จังหวัด ระยอง.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.
4. เฟื้อง ใจเที่ยง (ผู้ให้สัมภาษณ์). รณชัย รัตนเศรษฐ (ผู้สัมภาษณ์). ที่งานแสดงแก้บน บ้านบางกระดาน อ.บางกระดาน จังหวัดตราด. เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560.
5. ภรดี มหาขันธ์. การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของภาคตะวันออกยุคต้น. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด องศาสบายดี, 2554.
6. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. ผู้นำทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ์, 2556.
7. สำนักงานจังหวัดตราด. “ข้อมูลทั่วไปจังหวัดตราด.” สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2559. www.trat.go.th