บทประพันธ์เพลงอิมพัลส์สำหรับวงดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ในรูปแบบของการสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงสำหรับวงดนตรีแจ๊ส ขนาดใหญ่บทใหม่ โดยใช้วิธีการประพันธ์ภายใต้กรอบดนตรีแจ๊ส ที่ผนวกรวมเข้ากับสำเนียงดนตรีตะวันออก และนำเทคนิคดนตรีคลาสสิกศตวรรษที่ยี่สิบสอดแทรกเข้าไว้ในบทประพันธ์เพลง อีกทั้งเพื่อเผยแพร่บทประพันธ์เพลงออกสู่สาธารณะชน ทฤษฏีที่ใช้ศึกษา ประกอบด้วย การศึกษาดนตรีกระแสที่สาม ผลงานและแนวคิดของนักประพันธ์เพลงทั้งดนตรีแจ๊ส และดนตรีคลาสสิกศตวรรษที่ยี่สิบ โดยบทประพันธ์นี้ประกอบด้วยเครื่องดนตรีทั้งหมด 17 ชิ้น ได้แก่ กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้ กลุ่มเครื่องเป่าลมทองเหลือง และกลุ่มเครื่อง จังหวะ บทประพันธ์เพลง อิมพัลส์สำหรับวงดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่ ได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ผู้ประพันธ์ได้คาดการณ์ไว้ โดยมีลักษณะการ เรียบเรียงดนตรีในแต่ละท่อนที่มีความแตกต่างกัน แต่ยังคงความเป็นเอกภาพจากการนำรูปแบบระบบศูนย์กลางเสียงด้วยวิธีการแอสเซอชันมาใช้ ซึ่งถูกกำหนดผ่านลักษณะโน้ตเพเดิลและออสตินาโต นอกจากนั้นบทประพันธ์นี้ได้รวมเอาเทคนิคดนตรีคลาสสิกศตวรรษที่ยี่สิบ เอาไว้ได้อย่างแยบยล พร้อมกับสอดแทรกกลิ่นอายทางดนตรีตะวันออก จากการเลียนแบบลักษณะเสียงบทสวดของทำนองหลัก อย่างไร ก็ตามผู้ประพันธ์ได้สร้างพื้นที่สำหรับการบรรเลงคีตปฏิภาณบนพื้นฐานของบันไดเสียงแบบโมดไว้อีกด้วย บทประพันธ์นี้มีระยะเวลาการ ดำเนินไปของดนตรีจากท่อนแรกจนถึงท่อนสุดท้ายความยาวประมาณกว่า 10 นาที นอกจากนั้นบทประพันธ์นี้ถูกนำออกแสดงในงาน เทศกาลดนตรีแจ๊สนานาชาติเพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 5 (Thailand International Jazz Conference) ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และนำออกแสดงในงานคอนเสิร์ตวงดนตรีแจ๊สออร์เคสตราแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University Jazz Orchestra Monday Night Live Part III) ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รวมถึงถูกนำมาเผยแพร่ซ้ำในรายการดนตรี กวี ศิลป์ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
References
2. ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
3. ดานียา เจ๊ะสนิ. “การอะซานและอิกอมะฮุ” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.islamhouse.com/312041/th/th/ articles/, 12 พฤษภาคม 2556.
4. พลังพล ทรงไพบูลย์. “บทประพันธ์เพลงเบอร์มิวดาทรัยแองเกิลสำหรับวงดนตรีแจ๊สออร์เคสตรา.” รายงานการค้นคว้า อิสระปริญญาศิลปมหาบัณฑิต, สาขาวิชาดนตรี, วิทยาลัยดนตรี, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรังสิต, 2555.
5. ศักดิ์ศรี วงศ์ธราดล. ทฤษฏีดนตรีแจ๊สเล่ม 1. กรุงเทพฯ: ไอ.เอส. (มิวสิค) พับลิชชิ่ง, 2555.
6. อนันต์ ลือประดิษฐ์. Jazz: อิสรภาพทางดนตรีของมนุษยชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), 2545.
7. Belck, Scott. “Lickety Split: Modern Aspects of Composition and Orchestration in the Large Jazz Ensemble Compositions of Jim McNeely: An Analysis of Extra Credit, In the Wee Small Hours of the Morning, and Absolution.” DMA diss., University of Cincinnati, 2008.
8. Boras, Tom. Jazz Composition and Arranging. Belmont, CA: Thomson Schirmer, 2005.
9. Brekman, David. The Jazz Musician’s Guide to Creative Practicing. Petaluma, CA: Sher Music Co., 2007.
10. Damian, Jon. The Guitarist’s Guide to Composing and Improvising. Boston: Berklee Press, 2001.
11. Delamont, Gordon. Modern Harmonic Technique Volumes I & II. Delevan, NY: Kendor Music, Inc., 1965.
12. Dickreiter, Michael. Score Reading: A Key to the Music Experience. Pompton Plains, NJ: Amadeus Press, 2003.
13. Dobbins, Bill. The Contemporary Jazz Pianist. Jamestown, RI: Gamt Press, 1978.
14. Downes, Michael. “In the Current: Suite for Large Jazz Ensemble.” MA thesis, York University, 2008.
15. Dunscomb, Richard J., and Willie L. Hill Jr. Jazz Pedagogy: the Jazz Educator’s Handbook and Resource Guide. Miami: Warner Bros. Publications, 2006.
16. Ferris, Jean. America’s Musical Landscape. 4th ed. New York: McGraw-Hill, 2002.
17. Gridley, Mark C., and David Cutler. Jazz Styles: History and Analysis. 8th ed. New Jersey: Prentice Hall, 2003.
18. Haerle, Dan. The Jazz Language. Lebanon, IN: Studio P/R, 1980. Lawn, Richard J., and Jeffrey L. Hellmer. Jazz Theory and Practice. Los Angeles: Alfred Publishing Co., Inc., 1996.
19. Levin, Mark. The Jazz Theory Book. Petaluma, CA: Sher Music Co., 1995. Lowell, Dick, and Ken Pullig. Arranging for Large Jazz Ensemble. Boston: Berklee Press, 2003.
20. Mckinney Elizabeth. “Maria Scheider’s “Hang Gliding”: Dual Analyses for a Hybrid Musical Style.” MM thesis, Duquesne University, 2008.
21. Pease, Ted. Jazz Composition Theory and Practice. Boston: Berklee Press, 2003.
22. Pease, Ted, and Ken Pullig. Modern Jazz Voicings: Arranging for Small and Medium Ensembles. Boston: Berklee Press, 2001.
23. Porter, Lewis, Michael Ullman, and Edward Hazell. Jazz from Its Origins to the Present. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. Inc., 1993.
24. Reich, Steve. Piano Phase. London: Universal Edition (London) Ltd., 1980.
25. Steinel, Mike. Building A Jazz Vocabulary: A Resource for Learning Jazz Improvisation. Milwaukee: Hal Leonard, 1995.
26. Sturm, Fred, ed. Maria Schneider: Jazz Orchestra Evanescence. Wieden, Vienna: UE Publishing Musikverlags GmbH, 1998.
27. Trakulhun, Wiboon. “Faithful to My Land.” DA diss., Ball State University, 2011.
28. Wright, Rayburn. Inside the Score: a Detailed Analysis of 8 Classic Jazz Ensemble Charts by Sammy Nestico, Thad Jones, And Bob Brookmeyer. Delevan, New York: Kendor Music, Inc., 1982.