วิธีปรับปรุงและพัฒนาการ Sight-Reading

Authors

  • อภิชัย เลี่ยมทอง Conservatory of Music, Rangsit University

Keywords:

Sight-Reading

Abstract

คําว่า Sight-Reading นั้น ในความหมายด้านดนตรีหมายถึง การบรรเลงบทเพลงหรือบทฝึกโดยผู้บรรเลงไม่เคยซ้อมมาก่อน และต้องพยายามบรรเลงอย่างถูกต้องหรือใกล้เคียงกับข้อกําหนดในบทเพลงนั้นให้มากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องจังหวะ ระดับเสียงและความดังเบา การSight-Reading ให้ได้อย่างแม่นยําถูกต้องนั้นนอกจากที่ผู้เล่นต้องมีทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรีแล้ว จะต้องเข้าใจความหมายของดนตรีที่บรรเลงเป็นอย่างดี จึงจะสามารถสื่อสารบทเพลงนั้นให้ผู้ฟังเข้าใจได้ การ Sight-Reading นั้น มักจะนํามาเป็นส่วนหนึ่งของบทใช้ทดสอบทางดนตรี ทั้งการสอบเข้าเรียนดนตรีในระดับสูง การสอบวัดระดับทาง ดนตรีหรือการทดสอบเข้าเป็นสมาชิกในวงดุริยางค์ทั้งระดับสมัครเล่นและอาชีพ ฉะนั้นการ Sight-Reading จึงเป็นความสําคัญที่นักดนตรีต้องฝึกฝนให้ชํานาญ การ Sight-Reading ที่ดีนั้น ต้องการการฝึกซ้อมและประสบการณ์ ผู้ที่มีความสามารถในการ Sight-Reading จะได้เปรียบมากเพราะ สามารถเล่นเพลงร่วมกับผู้อื่นได้โดยง่าย การ Sight-Reading นี้ นับเป็นอุปกรณ์อันสําคัญของ นักดนตรีที่ทําให้ศึกษาบทเพลงต่างๆ ได้เร็วหลาก หลายและประหยัดเวลาในการฝึกหัด ปัญหาที่พบโดยทั่วไปทางด้านการ Sight-Reading ของนักเรียนไทยคือไม่เข้าใจการ Sight Reading อย่างถูกวิธี โดยไม่สามารถบรรเลงให้ ต่อเนื่อง ให้ความสําคัญกับระดับเสียงมากกว่าการ บรรเลงที่ต่อเนื่อง จึงเกิดการสะดุดและติดขัด Sight-Reading นั้น สามารถฝึกฝนจากการเรียนปฏิบัติ เครื่องดนตรี โดยผู้สอนให้นักเรียนฝึก Sight-Reading จากบทเพลงที่มีระดับความยากง่าย และ ซับซ้อนที่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน อย่างเป็นประจําและต่อเนื่อง การสอน Sight-Reading ควรมีสอดแทรกอยู่ให้เป็นส่วนหนึ่งของการ เรียนดนตรีตั้งแต่เริ่มต้น ผู้สอนควรให้ความสําคัญของการ Sight-Reading แก่นักเรียน เพราะจะเกิด ผลดีทั้งแก่ผู้เรียนและผู้สอนในเวลาเดียวกัน เมื่อ นักเรียนมีความสามารถในการ Sight-Read ดีขึ้น ก็จะสามารถเรียนรู้บทเพลงได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งจะ สนุกกับการเล่นดนตรีร่วมกับผู้อื่น ผู้สอนสามารถมุ่งเน้นการสอนไปสู่เนื้อหาของ "ดนตรี" ลดเวลา การแก้ไขข้อผิดพลาดจากมาตรฐานการบรรเลง ด้านจังหวะและระดับเสียงของนักเรียนได้เป็นอย่างดี

References

1. ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2543), พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์, กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2. Bennett R. (1986), Score-Reading. UK: Cambridge University Press.
3. Gerle R (1995). The Art of Practicing Violin (2nd ed.). London: Stainer & Bell.
4. Harris P. & Crozier. (2001). The Music Teacher's Companion, A Practical Guide (International edition). London: The Associated Board of the Royal School of Music Publishing.
5. Rowley A. (n.d.) Do's and Don'ts for Musician, A Handbook for Teachers and Performers. London: Edwin Ashdown Ltd.
6. Snitkin H. (1996). Practicing for Young Musicians, You are your own teacher (revised ed.). USA.: HMS Publication.
7. Stewart D. (1993), Reading and Writing Music, San Francisco: Backbeat Books.

Downloads

Published

08.08.2018

How to Cite

เลี่ยมทอง อภิชัย. 2018. “วิธีปรับปรุงและพัฒนาการ Sight-Reading”. Rangsit Music Journal 3 (1):23-28. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rmj/article/view/138984.

Issue

Section

บทความวิชาการ | Academic Article