The Rhetoric of Romance: Hector Berlioz's "Symphony Fantastique"
Keywords:
Symphony Fantastique, Hector BerliozAbstract
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทางดนตรีระบุไว้ว่ามีอิทธิพลสามประการที่เข้ามาในชีวิตของแบร์ลิออส ขณะที่เขาอายุได้ 24 ปี อิทธิพลประการแรกคือบทกวี "Faust" ของเกอเธ่อะ (Goethe) นักเขียนชาวเยอรมันกล่าวกันว่า แบร์ลิออสนั้นชอบวรรณกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เชคสเปียร์, ไบรอน, วอเตอร์ สคอทท์ และนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่อื่นๆ งานเหล่านั้นได้กลายมาเป็นเพลงของเขาไปหลายต่อหลายชิ้น (สุรพงษ์ บุนนาค, 2548) สําหรับผลงานของเกอเธ่อะนั้น แบร์ลิออสได้อ่านทั้งต้นฉบับภาษาเยอรมันและกลับมาอ่านฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส ซึ่งแปลโดย Gerard de Nerval ด้วย อิทธิพลประการที่สองที่มีส่วนในผลงานของเขาคือบทเพลงซิมโฟนี ของเบโธเฟน (Beethoven) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "เอรอยก้า" (Eroica Symphomy) แบร์ลิออสได้มีโอกาสฟังผล งานชิ้นนี้เป็นครั้งแรกในปารีส ซึ่งการแสดงครั้งนั้น ส่งผลให้เขาเกิดความประทับใจเป็นอย่างยิ่งกับ ความเป็นอัจฉริยะของเบโธเฟน ในการเรียบเรียง ดนตรี สําหรับซิมโฟนีชิ้นนี้ได้อย่างทรงพลัง และประการสุดท้ายคือละครเวทีของเช็คสเปียร์ (Shakespeare) แบร์ลิออสเกิดความประทับใจ หลังจากได้ชมคณะละครจากประเทศอังกฤษ ซึ่งได้ เปิดทําการแสดงในฝรั่งเศสในปี 1827 จากอิทธิพลดังที่ได้กล่าวไว้สามประการได้หล่อหลอมให้แบร์ลิออสมีคุณลักษณะทางจิตวิญญาณแบบเคลิ้มฝัน ศิลปินทั้งสามได้ส่งอิทธิพลไปยังลักษณะการสร้างผลงานของเขาเองอย่างสูง ซึ่งทําให้ลักษณะของงานแบร์ลิออสเต็มไปความลึกซึ้งทางอารมณ์ความรู้สึก หลังจากนั้นอีกสองปีลักษณะนี้ ส่งผลให้เขาสร้างานที่มีชื่อเสียงของเขามากที่สุด นั่นก็คือ Symphony Fantastique
References
2. BarZun, J (1982) Critical Questions: On music and letters, culture and biography, 940-1980. Chicago, The University of Chicago.
3. _____. (1982) Berlioz and His Century: An introduction to the age of romanticism. Chicago, The University of Chicago.
4. Cairns, D (1985) BerliozVolumn 1: The making of an artist 1803-1832. New York. Schirmer.
5. Kramer, J.D (1998) Listen to The Music: A self guide tour through the Orchestral Repertoire. New York, Schirmer.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
กองบรรณาธิการฯ สงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตอบรับการตีพิมพ์ ความรับผิดชอบใดๆ เกี่ยวกับเนื้อหาและความคิดเห็นในบทความเป็นของผู้เขียนต่อบทความนั้นๆ กองบรรณาธิการฯ ไม่ต้องรับผิดชอบ