สภาพการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีการศึกษา 2548
Keywords:
รจัดการเรียนการสอน, สาขาวิชาดนตรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี และศึกษาปัญหาอุปสรรคการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาดนตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย คือ การศึกษาสภาพบริบทแวดล้อมผู้เรียนและผู้สอนในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต นำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนได้สอดคล้องประเด็นการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาดนตรี ดำรงตำแหน่งข้าราชการประจำ และอาจารย์ผู้ช่วยสอน พนักงานอาจารย์ จำนวน 6 คน รวมทั้งนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีทุกระดับชั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 54 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 60 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์ และนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี นำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน และค่า t-test โดยใช้โปรแกรม SPSS/PC+ จากการวิเคราะห์ผลปรากฎว่า สภาพการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาดนตรีด้านบริบท ได้แก่ หลักสูตรสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงมากที่สุด ส่วนจุดหมายของหลักสูตรน้อยที่สุด ด้านปัจจัยเบื้องต้น ได้แก่ การมีเอกสารสื่อตำรามากที่สุด ส่วนด้านการจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามแผนการเรียนรู้น้อยที่สุด ด้านกระบวนการ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนมากที่สุด ส่วนผู้สอนใช้วิธีการสอนหลากหลายน้อยที่สุด และด้านผลผลิต ได้แก่ ผู้เรียนทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย ทำให้มีรายได้ มีประสบการณ์มากที่สุด ส่วนการได้รับรู้ความสามารถจากการปฏิบัติเหมาะสมน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษามีความเห็นว่า ได้ผลโดยรวมทั้งอาจารย์และนักศึกษามีความเห็นไม่แตกต่างกันทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีนัยสำคัญ 0.05 ปัญหาการจัดการเรียนการสอนและต้องการให้ปรับปรุงหลักสูตรวิชาดนตรีเน้นเนื้อหาปฏิบัติ ขาดอาจารย์ชำนาญการดนตรีเฉพาะด้าน ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์แต่ขาดความกระตือรือร้น ครุภัณฑ์เครื่องดนตรี คอมพิวเตอร์ดนตรีในการปฏิบัติไม่เพียงพอ ขาดการบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ดนตรี การวัดและการประเมินผลการเรียนไม่ใช้มาตราฐานเดียวกัน อาจารย์มีภาระงานด้านอื่นมาก การจัดสรรงบประมาณมีจำกัด การปรับปรุงซ่อมแซมอาคารมีผลต่อการเรียนการสอนสาขาวิชาดนตรี
References
2. กรมสามัญศึกษา. ครูแกนนำ: ต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: การศาสนา, 2542.
3. กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2542.
4. คณะกรรมการการปฏิรูปการศึกษา. การปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2522.
5. เฉลียว บุรีภักดี และคณะ. ลักษณะของครูที่ดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตำรวจ, 2520.
6. ทัศนีย์ ศุภเมธี. "บทบาทของครูที่ดีในสังคมปัจจุบัน." มิตรครู 3 (กุมภาพันธ์ 2524).
7. ธีระ รุณเจริญ และคณะ. ปรัชญาการฝึกหัดครูไทย. แปลและเรียบเรียงโดย ดิลก บุญเรืองรอด. เอกสารหมายเลข 7ข. 2525. (อัดสำเนา)
8. ธีระศักดิ์ คงเจริญ, “การประเมินคุณลักษณะของครูอาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษาศึกษา เขตการศึกษา 7" ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2545.
9. บุญถิ่น อัตถากร. “แนวนโยบายการผลิตครูในอนาคต” เอกสารชุดเผยแพร่การศึกษา. 10 ตุลาคม 2514.
10. พนัส หินนาคินทร์, การมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเนศ, 2524.
11. พรรณี โศจิศุภร. “ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพ สถานภาพส่วนตัวและประสบการณ์เพิ่มความรู้ในวิชาชีพกับสมรรถนะพื้นฐานทางวิชาชีพครูของครู มัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ไม่มีวุฒิทางครู” ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527.
12. พวงรัตน์ ทวีรัตน์, วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์, กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.
13. พุทธทาสภิกขุ ธรรมสําหรับครู: กรุงเทพฯ: สํานักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2529.
14. มานพ ภาษิตวไลธรรม. “สมรรถภาพของครูประถมศึกษาที่สังคมต้องการในจังหวัดสกลนครและนครพนม” ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2520.
15. ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์, 2525.
16. เลอพงษ์ อุปพงษ์, “คุณลักษณะที่พึงประสงค์และคุณลักษณะที่เป็นจริงของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาตามความคิดเห็นของคณะกรรมการโรงเรียน สังกัดสํานักงานการประถมศึกษา อําเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี” ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2544.
17. วิทยา เชียงกูล. รายงานสภาวะการศึกษาไทยปี 2540. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2546.
18. ศูนย์ปฏิรูปการศึกษา, การปฏิรูประบบบริหารการศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, 2546.
19. สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่, กรุงเทพฯ: อาทิตย์ โพรดักส์ กรุ๊ป จํากัด, 2545.
20. สมบูรณ์ ขวัญยืน “ครูดีที่เราต้องการ” มิตรครู. 11 (ธันวาคม 2522) สาโรช บัวศรี, คําปราศรัยของอธิบดีกรมการฝึกหัดครู เนื่องในโอกาสเปิดปีการศึกษา 2516. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2516.
21. สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กรุงเทพฯ: เซเว่นพริ้นติ้ง, 2542.
22. สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา, มาตรฐานประสบการณ์และวิชาชีพครู พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2548.
23. สํานักงานเลขาธิการรัฐสภา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, 2545.
24. อัจฉรา ประไพตระกูล. “ครูกับหลักสูตรใหม่” วารสารครุศาสตร์. 8 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2521.)
25. Games, P.A. and Klare, G.R. Elementary Statistics Data Analysis for the Behavioral Science. Tohyo: International Student Edition, 1967.
26. Armstrong, Harold K. “Performance Evaluation. The National Elementary Principle. 52 (February 1973)
27. Beerens, Daniel R. Evaluating Teachers for Professional Growth: Creating a Culture of Motivation and learning. Thousand Osks: Corwin Press, 2000.
28. Gibson, Oliver R. and Hunt, Harold C. The school Personnel Administration. Boston: Houghton Co., 1965. Good, Carter V. Dictionary of Education. New York: Mc Graw-Hill, 1973.
29. Greenwood, Gardon E. and Others. “The Student Evaluation of College Teaching Behaviors”. Journal of Education Measurement. 2 (Summer 1974)
30. John, W Best. Research in Education. New Delhi: Prentice-Hall of India, 1983.
31. Lindsey, Magaret. “Performance-Based Teacher Education. Journal of Teacher Education. 24 (Fall 1973): 180-184.
32. Popham, Jame W. "Minimal Competencies for Objectives Oriented Teacher Education Program, The Journal of Teacher Education. 25 (Spring 1974).
33. Weigand, James E. Implementing Teacher Competencies Positive Approach to Personalizing Education. Englewood Cliff: Prentice-Hall, 1977.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
กองบรรณาธิการฯ สงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตอบรับการตีพิมพ์ ความรับผิดชอบใดๆ เกี่ยวกับเนื้อหาและความคิดเห็นในบทความเป็นของผู้เขียนต่อบทความนั้นๆ กองบรรณาธิการฯ ไม่ต้องรับผิดชอบ